ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

เดือนของครอบครัว

เดือนนี้ได้เจอะญาติเยอะและเพื่อนๆ มากเป็นพิเศษ เพราะหลายคนได้ออกไปทำงานในกรุงเทพเป็นส่วนใหญ่ พอถึงเทศกาลสงกรานต์ปิดยาวๆ จึงได้กลับมาเยี่ยมบ้านกัน อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา แต่ก็แปลกน่ะที่พี่เอกอยู่บ้านแท้ๆ แต่มีเวลาอยู่บ้านแค่วันเดียวในช่วงเทศกาลเพราะต้องไปให้ความบันเทิงแก่คนอื่นๆ (งานเครื่องเสียง)งานซ่อมคอม งานไฟฟ้า งานประปา พี่แกเป็นไปหมด แถมเพื่อนมาก็ทำกับข้าวได้อีก(แต่ไม่ค่อยจะได้กินกับข้าวหรอกค่ะ) แกบอกว่าดีที่ไม่ใช่คนน้ำเต็มแก้ว ไม่อย่างนั้นแล้วก็จะเป็นคนที่ไม่เป็นอะไรซะอย่างเลย สุดท้ายเพื่อนๆพี่แกมาจึงไม่มีเวลาอยู่บ้านในช่วงสงกรานต์เลย ฟังแกชี้แจงหน่อยแล้วกัน
พี่เอก ไปหลายงานน่ะแต่ที่เห็นก็ภาพเดียวกัน ภาพของการแสดงความรักต่อผู้มีพระคุณ มีน้ำตาของความทราบซึ้งทั้งการกราบ การไหว้ การสวมกอด การทำบุญ การให้ทาน เต็มไปด้วยบรรยากาศของการให้ การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ แม้บางครั้งคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วม ถึงไม่มีเงินที่จะใช้จ่ายแบบคนอื่นๆ เค้า การก้มกราบ ระหว่าง ผู้มีเงินมากกว่า กับ ผู้ไม่มีเงินเลยในกระเป๋า ผมเห็นสายตาของผู้รับการกราบนั้นไม่ได้แตกต่างกันเลย  แต่ก็เห็นอีกมุมหนึ่งคือ ผู้ที่ไม่ยอมก้มกราบผู้มีพระคุณ อันนี้ก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกัน 
บุญ ทาน เรื่องง่ายๆที่ทำกันได้ทุกวันทุกเวลา ทุกคนรู้ ว่าทำกันอย่างไร แต่ก็ไม่เลือกที่จะทำ ภาพของการรวมน้ำใจในการช่วยเหลือภัยพิบัติน้ำท่วมภาคใต้ แสดงในเห็นถึงความมีน้ำใจ และความรักความห่วงใยของคนไทย เป็นภาพที่ดีงาม แต่ก็ไม่วายที่จะมีภาพของการ ปล้น แย่งชิงให้เห็นตามมาเหมือนกัน คนเหล่านั้น มิได้ดูสื่อ ดูทีวีหรือว่า มีอีกหลายคนที่กำลังให้ความช่วยเหลือเขาอยู่ มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่?  บุญ ทาน กับการแย่งชิง มันช่างไกลกันเหลือเกิน แต่ทำไมมันเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลาและสถานะการณ์เดียวกัน  ภาพแห่งการเอารัดเอาเปรียบมันช่างเจ็บเข้าไปในกระดูกดำจริงๆ  เพราะไปเอาเปรียบคนที่กำลังเดือนร้อน คนที่กำลังคิดว่าต่อไปนี้ตนเองจะใช้ชีวิตอย่างไรต่อไป หนึ่งในนั้นผมรู้จักเขาดีคนหนึ่ง เป็นคนหัวไวใจสู้ ได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ ยังไม่ถึงหนึ่งปีเค้าก็กลับมาสง่างามเหมือนเดิม สง่างามบนความพร้อมที่จะช่วยเหลือคนอื่นๆ และเป็นเสาหลักให้กับครอบครัวตลอดจนผู้ที่อยู่รอบข้างได้อีกครั้ง
เดือนนี้มีบรรยายเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลายครั้ง ในแต่ละครั้งได้ถามคนที่รับฟังการบรรยาย ทุกคนรู้จักประโยคนี้หมด แต่อธิบายไม่เหมือนกัน และทำไม่เหมือนกัน  ฟังดูผู้เข้ารับฟังแล้วก็ดีใจ ที่หลายๆคนให้ความสำคัญต่อประโยคนี้ ประโยคที่ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเขาคือประโยค
ได้พูดคุยกับ นาย ก. นาย ก.บอกว่า ทำสวนยาง แล้วเลี้ยงปลา ปลูกผักไว้กินเอง แค่นี้ผมก็ทำเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว
นาย ข.บอกว่า ทำสวนยาง เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ไว้ขาย ผมก็ทำเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว
นาย ค.บอกว่า ทำสวนยาง อย่างเดียว แต่ผม ประหยัดค่าใช้จ่าย มีเหลือเก็บ แค่นี้ผมก็ทำเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว
แล้วทุกคนก็ถาม วิทยากรกลับว่า วิทยากรทำอะไรบ้าง
วิทยากรเอก. ผมเผาถ่านกะลาเพราะนั้นคืองานของผม งานที่ผมได้เรียนมา ตัดยางด้วย เพราะภรรยามีสวนยาง เลี้ยงปลาเพราะมันมีบ่อเดิมอยู่แล้ว เลี้ยงหมูหลุมไว้ทำปุ๋ย เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ไว้กินไข่ กินไม่ทันก็ขาย ไปแจกเขาเขาก็ไม่รับเค้าบอกเกรงใจ วันก่อนก็ให้น้ำส้มควันไม้มาแล้วบ้าง ให้ถ่านมาใช้บ้าง ซื้อดีกว่าสบายใจดี ก็ต้องขายครับ
วันนี้ชาวสวนอย่างพวกเราใครทำปุ๋ยไว้ใช่เองบ้างครับ ?......(เงียบ)
ที่เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ใครทำอาหารเองบ้างครับ?.....(เงียบ)
วันนี้ที่ทุกคนทำดีหมดครับ ดีทุกคน แต่อยากจะให้ไปดูในประโยคเต็ม ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงครับ ลองแยกคำดูแล้วเอาความหมายนั่นมารวมเป็นประโยคจะได้ดังนี้ครับ ความรู้ที่เป็นหลักแห่งความจริง ทำให้เกิดกิจกรรมการผลิต การจำหน่ายการอุปโภคบริโภค สมควรแก่ความต้องการ  
และในโอกาสนี้จึงได้มีการอธิบายในเรื่อง หมูหลุม การเผาถ่านจากเศษไม้ โดยเฉพาะกะลามะพร้าว การทำปุ๋ยอย่างง่าย โฮโมนหน่อกล้วย ซึ่งทุกคนก็สนใจและรวมกลุ่มทำกันต้องไป เสร็จจบข่าวชาวเกษตร
กลับมาในงานเลี้ยงฉลองในวันครอบครัว ของ ครอบครัวอื่นๆ ใน ฐานะผู้ให้ความบันเทิงในงานเครื่องไฟ เห็นบรรยากาศของการพูดคุยกันเรื่องราวต่างๆ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บ้านเราสบายที่สุด แต่ไม่เห็นใครพูดว่าจะกลับมาซักคน ด้วยประสบการณ์ในด้านวิทยากร จึงใช้วิธีแสดงภาพวิถีชีวิตลงในจอภาพ ขนาดเจ็ดสิบนิ้ว( โปรแจ็คเตอร์) ใครจะร้องเพลงอะไร สายตาก็ยังมองภาพที่ปรากฎเบื้องหลังอยู่ดี มีหลายคนวางไมค์ แล้วเข้ามาคุยมาถามถึงการเผาถ่าน การเลี้ยงหมู การทำปุ๋ย ซึ่งนับว่ายิงปืนนัดเดียวได้คนหัวใจใจสู้มาร่วมอุดมการณ์ได้อีกเยอะ น้องๆ ที่เจอะพี่เอกแล้วเข้ามาในบล็อกนี้ หากจำได้ถึงวันที่มีความสุขกับบรรยากาศที่ได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา พ่อแม่ลูก ปู่ยายตายาย หากคิดจะกลับบ้าน เชิญได้เลยครับ ความสุขสุขสันต์เพียงวันสองวัน กับเงินที่คุณบ้างคนต้องเก็บมันมา บางคนต้องกู้มา มันไม่ได้มีความหมายเท่ากับ การอยู่ดูแลพ่อแม่ และลูกของคุณด้วยน้ำมือคุณเองหรอก ถึงบ้างคนไม่ได้ช่วยทั้งหมด แต่การดูแลแค่ไม่ให้พ่อแม่ต้องเหนื่อยมากไป ก็ได้คำว่าดูแลแล้ว บางคนไม่ใช่ไปเยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่อย่างเดียว แต่กลับไปดูลูกด้วย ลูกที่ต้องเรียนในชนบทอยู่กับตายาย ภายใต้กระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ เด็ก ๒ - ๓ ขวบ กับผู้เฒ่า ๖๐ ขวบ ต่างกันมากมายเหลือเกิน มีอย่างเดียวที่เหมือนกันคือ ผู้เฒ่าผู้นั้นก็เลี้ยงเรามาแล้วรุ่นหนึ่ง แล้วต้องมาเลี้ยงผลผลิตของเราอีกรุ่นหนึ่ง การทิ้งลูกทิ้งพ่อแม่ เพื่อได้แลกกับคำว่า ได้มีงานทำ มีหน้ามีหน้า แล้วลูกล่ะใครเลี้ยงดูให้ นั่นคือข้อผิดพลาดแห่งความคิดในปัจุบัน (ครั้งแรกที่หลายๆคนทิ้งลูกไป) ต่อมาเมื่อลูกเติบใหญ่ก็ต้องส่งลูกเข้าเมืองเพื่อเรียน และหางานทำในเมือง   (การทิ้งครั้งที่สอง) ก็ลองดูครับว่าหนึ่งอายุไขของแต่ละคนกับคำว่าลูก คำว่าพ่อแม่ มีเวลาได้อยู่ด้วยกัน และได้ใช้คำว่าครอบครัวกี่วัน ผมจึงไม่มีความรู้สึกต่อการก้มกราบของหลายๆคน มันดูยิ่งใหญ่เหลือเกิน สำหรับคุณหรืออีกหลายๆคน สายตาคู่นี้ของผมเห็นแต่ความหน่อยนิดเหลือเกินสำหรับสิ่งนั้น ในเมื่อที่คุณๆทำได้มากกว่านั้น
อีกสี่ปี ไทยก็ครบสัญญาอาเซียนแล้ว ประชาคมอาเซียน  การเปิดประตูประเทศ หมายให้เห็นโลก เห็นโอกาส มากขึ้น แต่ไม่ได้ดูเลยว่า ประตูประเทศเปิด อะไรจะเข้า อะไรจะออก ผมอ่านผ่านๆ ก็นึกเสียวแทนพี่น้องชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เสียแล้ว ยิ่งชนชั้นแรงงาน และวิชาชีพ จะได้รู้จักคำว่า พ่อแก้วแม่แก้ว อย่างครบถ้วนกระบวนความกันเสียที สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมบล็อกนี้ ขอให้ท่านเสียสละเวลา ไปดูเรื่องประชาคมอาเซียนสักนิดน่ะครับ ดูให้เข้าใจน่ะครับว่าจะเกิดอะไรขึ้น หากเราทิ้งแผ่นดินที่ทำกิน กลายไปเป็นคนทำงาน ด้วยแรงงาน โดยเฉพาะพวกวิชาชีพก็ต้องมีการสอบมาตรฐาน ต้องได้รับการรับรอง มันเป็นการคัดเลือกพันธุ์ของคนงานที่เขาต้องการ อีกสี่ปีเองครับทันกันหรือป่าว หากโรงงานเหล่านั้น จะเอาคนของเขามาทำงานแทนคุณ คุณจะเก่งอย่างไร ลองมีปัญหา กับ ลูกจ้างของเขาสักคน อนาคตที่คุณวาดไว้จบลงทันที แล้ววันนี้คุณยิ้มแย้มแจ่มใสกับรายได้ ของโรงงานต่างชาติ เจ้าของโรงงานก็คงยิ้มพิมใจที่เวลาก้าวเข้ามา ทุกทีทุกที
การรู้เท่าทัน คือ เกราะกำบังอย่างดี พร้อมหรือยังครับ ที่จะรู้เท่าทันกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่อึดใจเท่านั้นเอง วันนี้อยากให้แค่มองเห็น คิดได้ ว่า วันแห่งครอบครัวคุณมีความสุขอย่างไร อีกสี่ปีครับ เจ้าของโรงงาน เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะมีความสุขอย่างคุณ สุขอย่างคุณบนพื้นแผ่นดินไทย  สุขอย่างมั่นคงและยั่งยืน แล้วหากคุณไม่ได้เป็นที่ต้องการของเจ้าของทุนต่างชาติ ไม่ได้ทำงานในบริษัทฯที่คุณทำ  คุณจะยืนตรงไหนบนแผ่นดินไทย แผ่นดินของพ่อแม่ปู่ย่าตายายของคุณ  บางคนแลกที่ดินทำกินเป็นไร่ ๆ เพื่อแลกกับบ้านหลังเล็กๆ ในเมือง เพื่อได้มาของคำว่าผู้เจริญแห่งสังคมเมืองอันโก้หรู  สองพันห้าร้อยห้าสิบแปด จบข่าวชาวแรงงาน
มานั่งดูชาวเมืองผู้โก้หรูกันต่อไปการปลดพนักงาน ที่ไม่ได้มาตรฐานอาเซียน มันเกิดขึ้นแน่นอน ผู้มีวิชาชีพครับวันนี้ได้อ่านเรื่องการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพของอาเซียนแล้วยัง ลองไปดูกันเองน่ะครับผมภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่มองจากอดีต สำหรับผู้ขายบ้าน ขายที่ดินทำกิน แล้วไปอยู่ในเมือง สุดท้ายก็ย้ายไปอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ลงท้ายว่าตายอย่างอนาถแทน
ในวันครอบครัวจึงไม่ต้องมีอะไรพิเศษ เพราะความพิเศษเกิดขึ้นทุกวัน เช่นนั่งเล่นเน็ตอยู่ ลูกสาวสามขวบเดินมาพร้อมมิเตอร์ที่วัดไฟ แล้วพูดว่า มิเตอร์ตั้งไว้ไม่เก็บ เอาเก็บมาให้แล้ว เวลาขับรถไปไหนก็จะบอก พ่อไฟแดงแล้วจอดก่อน พอไฟเขียวก็บอกว่าไฟเขียวแล้วไปได้  ลูกชายสี่เดือน เริ่มจับมือจับหน้าเรา ดึงผมเราฯลฯ ที่แทนวันสำคัญที่คนอื่นๆมีเวลาแค่ ๔ วันสำหรับคำว่าครอบครัว งานราชพิธีเสกสมรสเจ้าชายวิลเลียมกับ น.ส.เคท มิดเดิลตัน ทำให้โลกได้สัมผัสถึงความพอเพียงได้เป็นอย่างดี สื่อทั้งในละนอกก็พูดเป็นเสียงเดียวว่าเรียบง่ายสง่างามอย่างมาก  (ขอพูดแค่นี้น่ะครับเพราะเป็นเรื่องของราชวงศ์ แค่รับทราบก็พอแล้ว) กลับมาดูข้อข่าวอีกข้อในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน เรื่อง ดอกส้มสีทอง เป็นเรื่องของครอบครัวมนุษยชาติ ที่มาฉายบนทีวีของไทย ตามไปหารายละเอียดมาดูว่ามันมีผลกระทบอย่างไรกับเด็กและเยาวชน สรุปก็สื่อในเรื่องเก่าๆเดิมๆ ชิงรักหักสวาท เลยทำการสำรวจเล็ก ๆ ในกลุ่มคนดู สรุปว่า เป็นเรื่องธรรมดาๆของละคร ในคนกลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มบอกว่าโดนใจดี อีกกลุ่มบอกว่าสะท้อนสังคม อีกกลุ่มบอกว่าเป็นเรื่องจริงในสังคมปัจจุบัน ผมไม่ได้ติดตามละครมานานแล้วเรื่องสุดท้ายที่ดูจำได้ว่าเรื่องแม่นาคพระนคร ที่ติ้ก(กัญญาลักษ์)เล่นกี่ปีแล้วไม่รู้ ในวันนี้โซเซียนเน็ตเวริด์ สังคมเครือข่ายโดยการสื่อสารมันเป็นอีกหนึ่งในสมาชิกครอบครัวของเรา แทนพ่อแม่ที่หาความรู้ เป็นปู่ยาย เมื่อจะหาเรื่องเก่าๆ เป็นเพื่อนที่คุยได้  ตอบสนองทุกคนในครอบครัวได้ ชีวาณูสงเคราะห์ อีกหนึ่งโจทย์ที่ต้องการเกราะป้องกัน ในยุคสังคมออนไลน์
 
                

เดือนแห่งครอบครัว เดือนของครอบครัว