ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

บวร สู่ สภาองค์กรชุมชน

หลังจากที่ทีมงานของสมิหลาพอเพียงกลุ่มทุ่งขมิ้น ได้ขับเคลื่อนภาคประชาชนเริ่มจากบ้านในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง และต่อพื้นที่ทำกินอยู่เดิมให้เกิดกับรู้ความเข้าใจว่าบางสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เช่น กะลามะพร้าว น้ำมะพร้าว กากมะพร้าว ไม้ผลที่เต็มพื้นที่ของตำบลทุ่งขมิ้น ได้เกิดการชื้อขายแลกเปลี่ยน แปลรูป จากกะลามะพร้าวเป็นถ่านกะลา จากน้ำมะพร้าวที่ต้องทิ้งโดยป่าวประโยชน์เป็นน้ำหมักชีวะภาพ จากรากสับปะรดเป็นน้ำยาล้างจาน ฯลฯ ที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานเท่านั้นเอง หมายถึงว่า ให้ทำเองได้บ้าง ผลิตใช้ ผลิตขายกันเองได้บ้าง ขายที่ใกล้ๆ ก็เกิดเป็นกิจกรรมการผลิตและจำหน่ายโดยไม่เดือนร้อน ไม่ต้องลงทุนมากและใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่สามารถทำได้เอง จนปัจจุบันทำให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ดูงาน และขยายผลต่อไปในชุมชนอื่นๆ ได้เช่น ชุมชนพะวง และเทศบาลนครหาดใหญ่  การเลี้ยงหมูหลุม การใช้ขี้หมูแทนปุ๋ยเคมี บวก กับ น้ำหมักชีวะภาพทำให้วันนี้ชาวสวนเริ่มหันมาสนใจแนวทางนี้กันมากขึ้น ต่อยอดไปถึงน้ำส้มควันไม้ที่ได้รับการตรวจสอบจาก มหาลัยสงขลานครินทร์ ว่ามีสารอะไรอยู่บ้างจนนำไปสู่กระบวนการผสมอัตราส่วนการใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แห่งการใช้ได้เป็นอย่างดี
การได้รับโครงการไถ่ชีวิตโคกระบือจาก โรงเจเต้าบ่อเก็ง หาดใหญ่ จากที่ได้รับจำนวน 3 ตัว ตอนนี้ก็เพิ่มมาอีกสี่ตัว เป็น 7 ตัวแล้ว ที่เพิ่มมาอีก 4 เป็นการซื้อเขามาใหม่เนื่องจากพี่ชาติหนุ่มคาวบอยตัวจริงเสียงจริงจาก แม่โจ้ กำลังปรับเปลี่ยนสายพันธ์ระหว่างวัวพื้นบ้านและวัวพันธ์ให้ได้ดียิ่งขึ้น อีกยังเก็บอนุรักษ์พืชพันธุ์พื้นเมือง และต้นไม้ที่กำลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ซึ่งได้เสนอเรื่องไปถึงสภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งขมิ้นแล้ว



ต่อไปเรื่องของวัดหลายๆท่านคงจะได้รับฟังได้ยินดูข่าวของพระและวัดในเดือนนี้สองสามข่าวที่ไม่ดี ที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น พระออกมาอยู่ทาวน์เฮ้าส์ พระเตะโชว์ในวัด ก็เป็นธรรมะ และ ธรรมดา หากผู้หนึ่งผู้ใดรู้จักหน้าที่ ที่ตนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องแก่ตนแล้ว ผู้นั้นก็เป็นผู้มีธรรมะในตน เรื่องของพระที่นี้ขอกราบนมัสการถึงพระมหาวิชิต ฐิตธมฺโม ป.ธ.๙ แห่งวัดปลักพ้อ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา ได้กล่าวไว้หลายครั้งว่า “โยมทั้งหลายนั้นแหล่ะเป็นผู้ที่จะต้องบอกพระ ว่าต้องการพระแบบไหน มาพูดมาคุยกัน หากพระไปทางโยมไปทางแล้ววัดจะอยู่อย่างไร” อันนี้ผมสรุปเองคราวๆน่ะ เอาเป็นว่าที่ผมเคยบวชเรียนมา จำได้ว่า จากคำว่า “นาค”  “ภิกษุ” จนถึงคำว่า “ พระ”  เขามีลำดับกันอยู่ มิใช่บวชจากนาคห่มจีวรแล้วเป็นพระเลยไม่ใช่ ที่เห็นนั้นเป็นรูปแบบการเรียกขานเฉยๆ แต่คนที่ได้บวชและเรียนจะรู้ดีว่า กว่าจะระลึกตนได้ว่าเป็นพระ หรือ เป็น ภิกษุ หรือ นักบวช นั้นผู้เห็นแจ้งแห่งตนเท่านั้นจะหยั่งรู้ได้ และเช่นเดียวกันผู้อื่นรอบข้างก็จะสัมผัสได้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เราควรรู้เท่าๆกันคือ ภิกษุ กับ พระ ต่างกัน ใครสนใจไปหาศึกษากันดูครับดังนั้นฝากข้อคิดตรงนี้ไว้ว่า “กรณีผู้หนึ่งผู้ใดที่ห่มผ้าเหลืองคล้าย ภิกษุ  กระทำการใดๆอันเห็นตัวตาแล้วว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ควรจะไปศึกษาหาคำจำกัดความที่เรียกผู้นี้ขึ้นมาใช้ใหม่ได้แล้ว เช่น  นรกตนนึ่งก็ยังดี  อย่าได้ใช่คำว่า ภิกษุ หรือ พระ เลย” 
กลับเข้าเรื่อง วัดปลักพ้อ ศูนย์กลางของชุมชน ในวันนี้การก้าวเดินด้วยกรอบคำว่า “บวร”ได้ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เมื่อแกนนำชุมชนในแต่ละภาคส่วนถือปิ่นโตมาเจอะกันที่วัด โดยมี ครู นักเรียน ได้ดำเนินกิจกรรมกับวัดมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ในสมัยเด็กๆโรงเรียนก็มีกิจกรรมกับวัดอย่างนี้มาตลอดโดยเฉพาะช่วงประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  เมื่ออายุครบ 15 ปี ซึ่งก็อยู่ในวัยเรียน ม.2 ม.3 เห็นจะได้ แล้วเราทิ้งวัดไปตอนไหน? โรงเรียน กับ วัด แยกกันตอนไหน ? ฝากคำถามนี้ไว้อีกสักคำถามหนึ่ง  วัดศูนย์กลางแห่งชุมชนวันนี้ นอกจากเป็นที่ตั้งของห้องสมุดชุมชนแล้วยังเป็นที่ตั้งของ “สภาองค์กรชุมชน” ตำบลทุ่งขมิ้นอีกด้วย ต้นเดือนหน้า วันที่ 8 ตุลาคม 2554 จะมีการประชุม สภาองค์กรชุมชน ระดับตำบล เมื่อการบ้านเสร็จ การเมืองก็ต้องทำ แต่เป็นการเมืองในภาคประชาชนเพื่อประชาชน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้ที่ สภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งขมิ้น


ทีแรกก็เข้าใจว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่จะเกิดขึ้นมีขึ้นต้องอาศัยกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนั้น แต่พอรู้จักสภาองค์กรชุมชนก็เห็นแสงสว่างจากปลายอุโมงค์เลย งานนี้หากชาวบ้านได้รับรู้ข่าวสารและเข้าใจถึงที่มาของ “สภาองค์กรชุมชน” ทุกคนคงจะลุกขึ้นมาทำหน้าที่ในระบบจิตอาสาขึ้นเยอะ โดยเฉพาะการได้มีส่วนร่วมเข้าเสวนากับคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งจังหวัดสงขลา (กกต) เรื่องพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีท่านวิทยากรอย่างท่าน รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี บรรยายได้เห็นภาพที่มาที่ไปได้ดี และภาพไวนิลที่ทาง กกต.จัดให้เห็นที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ดีคือการยึดอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินนั้นแหล่ะ ประเทศไทยเราอยู่รอดมาเป็นร้อยเป็นพันปี ก็เพราะบูรพกษัตริย์ได้ต่อสู้กู้บ้านกู้เมืองรักษาไว้ กับความคิดของคณะใดคณะหนึ่งไม่อีกคน นำเอาคำว่าประชาธิปไตยอันโก้หรู ความเสมอภาค ความเท่าเทียม แล้วเป็นอย่างไร จะ 80 ปี เข้าไปแล้ว ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความเจริญ คนไทยทุกคนได้รับจริงๆ หรือป่าว อย่าลืมว่าประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานนั้นเป็นของคนไทยทุกคน มิใช่คณะใดคณะหนึ่ง หรือยังจะมีคณะใด คณะหนึ่งยังไม่เข้าใจข้อความอีก
พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่แห่งการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “บวร” จึงขอสรุปบทความเดือนนี้จบลงตรงแค่นี้ สวัสดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น