ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


การขยายกลุ่มแกนนำชุมชนไปได้ดีมากสำหรับผู้รู้ถึงพิษภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสังคมมนุษย์เรากันเอง แม้เฉียดๆสงครามการแย่งอาหาร แย่งที่อยู่อาศัย อย่างเช่นภาคกลางประสบภัยพิบัติ การกระทบกระทั้งกันในระหว่างชุมชนใกล้เคียงน่าจะแสดงอะไรบ้างอย่างได้ เช่น การรักษาชุมชนตนเอง ผมมองว่าดี เริ่มจากชุมชนนั้นล่ะครับถูกแล้ว หากทุกคนรักบ้าน รักถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ปกป้อง คุ้มครองกันอย่างนี้ผมว่าดี เพราะหากชุมชนหลายๆชุมชนมีความเข้าใจตรงกันว่า ประเทศไทยก็คือชุมชนหนึ่งบนโลกใบนี้นั้นเอง จากภัยพิบัติทางทางกลางทำให้ชุมชนทุ่งขมิ้นก็ตื่นตัวไม่น้อย มีการขุดคู ลอกคลอง ทำถนน ฯลฯ ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่ง การประชุมร่วมกันของทั้งสี่ สภาองค์กรชุมชน เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน เน้นนิดนึ่งครับว่า คณะทำงาน ไม่ใช่ คณะกรรมการ การจัดวางตัวบุคคลให้สมกับงานเพื่อเตรียมรับภัยพิบัติในครั้งนี้ ถือว่าสมบูรณ์เลยทีเดียว โดยมีคำนิยมที่ว่า จัดน้ำไปให้ไว ปรับปรุงให้เร็ว พร้อมช่วยพื้นที่อื่นๆ  จากราคาข้าวของแพงขึ้นเป็นก้าวกระโดด ของในห้างใหญ่ๆ หมดสต๊อกทำให้หลายๆคนวิตกไปตามๆกัน มีหลายคนที่ต้องหยุดงานเป็นอาทิตย์เพราะไม่มีของผลิต เลยทำให้มีเวลามาพูดคุยกับคนอื่นๆในท้องถิ่นบ้าง ทำให้รู้ว่าเขามีรายรับทุกวันนี้ที่ ๑๗,๐๐๐ ทำงานมา ๑๘ ปีแล้ว   เขามาดูๆแล้วถามว่าทำอะไรกัน ก็ตอบไปว่า ทำน้ำยาล้างจานไว้ใช้เอง เหลือก็ขายบ้าง ต้นทุน ๒๐๐ กำไร ๓๐๐ / หนึ่งกิโล  เรื่องเล็กๆน้อยๆที่ทำเองได้ ไม่ต้องซื้อ แถมยังผลิตขายได้ด้วย อยู่กับบ้าน มีรายได้วันละ ๓๐๐ ก็น่าจะดี  จริงๆแล้ว สามารถผลิตให้มากกว่าก็ได้ แต่เอาแค่นี้ก่อน ทำใช้เอง เหลือขาย ในกลุ่ม ในชุมชนเล็กๆ ของเรา



ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งขมิ้นคุณกิตติวัฒน์ ธีราพรหมเพชร์ และพี่จรูญ พี่วิโรจน์ เยี่ยมดูงาน