ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ชุมชนเข้มแข็ง ก้าวที่สองของชุมชน

วันก่อนพี่เอกเผาถ่านอยู่แล้วเดินมาบอกว่าพรุ่งนี้มีคนมาดูงานที่บ้านเรา ก็เลยถามกลับไปว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง แกบอกว่าไม่ต้อง (อายๆเหมือนกันบ้านก็ไม่ได้จัดอะไรให้เป็นระเบียบเรียบร้อยสักเท่าไร) พี่เอกเลยพูดให้ฟังว่า
“ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเติมอะไรหรือทำอะไรให้เป็นพิเศษ เค้ามากันบ่ายแสดงว่ากินข้าวมาเรียบร้อยแล้ว เตรียมน้ำเตรียมท่าให้ดีแล้วกัน เค้ามาดูวิถีชีวิต วิถีชุมชน มาดูแนวการทำเศรษฐกิจพอเพียง เดินทางมาก็ไม่น้อยกว่าพี่พงศา ชูแนม ถึงแม้จะเสื้อคนละตัวแต่อยู่ในขบวนเดียวกัน และกระดุมที่ติดตอนใส่เสื้อก็ใส่เม็ดแรกถูกเหมือนกัน เห็นคณะนิสิตนักศึกษาจากราชภัฎสงขลามาดูงาน ก็ดีใจที่ผู้กำลังจะมีปริญา ซึ่งเป็นผู้ กําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้ ได้เข้ามาดูวิถีแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ คู่คุณธรรม มีเหตุมีผล และเหมาะสมกับฐานะตนเอง ในหน้าที่ผู้ประสานงานและวิทยากร จึงได้นำพาไปดูวิถีของแต่ละครัวเรือนที่เป็นแกนนำของชุมชนในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งเป็นขั้นแรกคือ การพออยู่ พอกิน พอใช้ ได้จากการรวมกลุ่มกันเลี้ยงไก่ไข่ ปลาดุก หากวันนั้นสิ่งของที่ได้รับจากปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง โครงการสมิหลาพอเพียง หากชุมชนเราใช้วิธีตัวใครตัวมันของใครของมัน วันนี้ก็จะไม่มีอะไรให้นิสิตนักศึกษาได้ดูกัน


การปลูกผักสวนครัวในแต่ละหลังคาเรือน แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางอาหาร ไม่ว่าจะเป็นมะนาว พริก กล้วย ชะอม มีผลไม้ เช่นมะม่วง มะพร้าว ส้มโอ เงาะ มะคุด ทุเรียน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือความมั่นคงทางอาหาร ในระดับครัวเรือน ต่อมาเป็นขั้นที่สองคือการผลิตเพื่อใช้ และจำหน่าย เช่น ขนมทองม้วน ขนมรังผึ้ง อาทิตย์หนึงรวมตัวกันผลิตสักครั้งนี้ก็ทำให้ขนมมีความสดใหม่เสมอ และจำหน่ายในชุมชนเอง มีรายได้พอเก็บใว้ในในกลุ่มเพื่อต่อยอดต่อไปได้ การผลิตถ่านกะลาจากเศษวัสดุในชุมชน ที่หลายๆ หลังคาเรือนเก็บกะลามาแลก เป็นถ่านกะลาบ้าง น้ำยาล้างจานบ้าง ให้มาฟรีๆ บาง มานั้งคุยนั้งดื่มกาแฟบ้าง การรวมกลุ่มทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อใช้ในครัวเรือนจนทุกวันนี้เหลือนำไปจำหน่ายได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นจุดที่ทำให้ชุมชนเล็กๆ ของเราเข้มแข็งได้ เพราะเราให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง บ้านไหนชัดเรื่องไหนผู้สนใจจะดูเรื่องไหนก็ไปบ้านนั้น เพราะความเป็นจริงคือวิถีที่ตนเป็นอยู่ การสร้างภาพจึงไม่เกิดในชุมชนแห่งนี้ นึกถึงคำสอนของ อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ที่ว่าถ้ามีดีให้เอาดีออกอวด แต่อย่าทำตัวอวดดี ยิ่งมีวิชาปรับปรุงบำรุงดินจาก ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ เรื่องพืชผักก็ไม่ต้องพูดถึง สุดท้ายของคลั้งจากหลวงพ่อสุสวรรณ เวสโก แห่งวัดป่ายาง ในการขับเคลื่อนให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางอีกแล้ว งานนี้เลยไม่ต้องหนักใจ


จากราคายางพาราที่แกว่งอยู่ในขณะนี้ คงทำให้ชาวสวนยางคิดอะไรออกได้อีกมาก จาก ๑๔๕ บาท ลงมา ๑๒๐ บาท และจะเป็นอย่างไรในอนาคตไม่รู้ สำหรับผู้ที่วางมัดจำซื้อรถใหม่ ขวัญหนีดีฟ่อกันหลายคน ถ้าคืนสัญญาก็ถูกยึดค่ามัดจำ เสียไปป่าวๆ แต่ถ้าเอาขึ้นมา แล้วราคายางต่ำกว่า ๑๐๐ บาท งานนี้ขายสวนอย่างเดียวที่รอด จากคนตัดยาง ไปขับรถรับจ้างในอัตราน้ำมันที่ลิตรละ ๔๐ บาท แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว มันเป็นความไม่พอของตนเอง ปุ๋ยไม่ใส่ ใบผลัด ตัดไม่หยุด คงจะกลับมาอีกครั้ง ฝนก็หยุดตกแล้วฤดูร้อนกำลังจะมา ต้นยางเอ๋ย จะเอาน้ำยางมาจากไหน?
วิถีแห่งความพอเพียง มิใช่ให้เราตัดยาง แล้วใช้จ่ายอย่างพอเพียง
เราต้องมองให้เห็นความจริงว่า ราคายางนั้นเรากำหนดไม่ได้ แล้วจะเสี่ยงทำไม ในเมื่อที่ดินที่ปลูกยางก็สามารถปลูกอย่างอื่นแซมได้ ไม่ได้ตัดยางก็ยังมีรายได้อย่างอื่นๆ การลดรายจ่ายก็สำคัญ แค่น้ำยาล้างจานก็น่าจะลดได้ ๑๐๐ – ๒๐๐ บาทต่อเดือน
ขอขอบคุณผู้ที่เยี่ยมชมบล๊อกนี้ และขอบคุณไปถึงคณะต่างๆ ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่ แวะมาเยี่ยมชมทั้งในบล๊อก และแวะเข้ามาในชุมชนจริงๆของเรา

ชุมชนเข้มแข็ง ก้าวที่สองของชุมชน