ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

"บวร" กลับสู่ชุมชนที่นาหม่อม ตอนที่ ๒ "วัด"

     และแล้วธรรมะก็จัดสรรค์ให้ลงตัวจนได้  เรื่องบุญเรื่องกรรมเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสำผัสได้ ติดค้างผู้ติดตามมาสองเดือนจนเดือนนี้จึงมาตามสัญญา หากถามกันว่า วัด หมายถึงอะไร
สารานุกรมเสรีกล่าวว่า วัด หรือ อาวาส (คำหลังไม่นิยมใช้) [1]คือคำเรียก สถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ในประเทศไทย, กัมพูชา และลาว ภายในวัดจะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของนักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมีเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่างๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ
วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสองส่วนคือ พุทธาวาส และสังฆาวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา และส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับพระภิกษุสงฆ์สามเณรจำพรรษา และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม
ปัจจุบัน วัดไทยในชนบทยังคงเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ซึ่งต่างจากในเมืองใหญ่ที่วัดกลายเป็นเพียงสถานที่จำพรรษาของพระสงฆ์และ เพื่อประกอบพิธีทางศาสนาเท่านั้น
อ.ยักษ์ แห่งมหา ลัย คอกหมู กล่าวไว้น่าฟังว่า วัด คือมาตราวัดว่าคนเรามีความเจริญแค่ไหน ชุมชนไหนมีความเจริญ ก็ให้ไปดูที่วัด ถ้าวัดไหนน่าอยู่มีความสะอาด มีอุโบสถ มีศาลาการเปรียญ มีโรงธรรม พระเณรมาก มีการสวดมนต์ มีการเทศนา มีคนเข้าฟังเทศฟังธรรมมาก มีกิจกรรมต่อชุมชนหรือมีส่วนร่วมกับชุมชน สิ่งเหล่านี้จะเรียกว่าสังคมชุมชนนั้นมีความเจริญ เจริญเพราะผู้คนมีบุญมีกินมีใช้จึงเหลือที่จะนำไปสะสมกันไว้ที่วัด ดังคนสมัยก่อนมีทองก็เอาไปร่วมกันหลอมเป็นองค์พระ แต่สมัยนี้คนที่เข้าวัด ก็เข้าเหมือนกัน แต่ก็เข้าไปขโมยของวัด ดังที่ได้เห็นในข่าวบ่อยๆ(อันหลังนี้ผมพูดเองตามที่ได้เห็นข่าวบ่อยๆ)
ผมเองก็เหมือนกับคนอื่นๆ ที่จะเข้าวัดเพื่อประกอบพิธีต่างๆ แต่ก็โชคดีที่ได้บวชเรียนอยู่บ้าง และโชคดีที่ได้จำวัดถึงสองวัดด้วยกัน นั้นคือ วัดเอก (หลวงพ่อเดิมสงขลา) และวัดป่ายาง (นครศรีธรรมราช) การบวชในครั้งนี้ได้เข้าใจหลักศาสนามากขึ้น แต่ก็ไม่ขออธิบายให้มากความ สรุปง่ายๆว่า ได้บวชเป็น ภิกษุสงฆ์ แต่มิได้ชื่อว่าเป็น พระกิจกรรมทั้งสองวัดก็เหมือนวัดอื่นๆทั่วๆไป ต่างกันที่ กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับชุมชน ทางวัดเอกจัดให้มีการเจริญวิปัสนาเป็นหลัก ทางวัดป่ายางจัดให้มีการสร้างกลุ่มสร้างอาชีพให้กับชุมชนเป็นหลัก   ซึ่งทั้งสองวัดก็ได้ทำหน้าที่ต่อชุมชนหมือนกันแม้กิจกรรมต่างกัน
ผมและทุกท่านเวลาไปวัดไหนๆวัดก็เปิดประตูตอนรับตลอด แต่เราเข้าไปทำไม เพื่ออะไร และสุดท้ายเวลาเข้าวัดผมคิดว่าหลายท่านคงจะเกิดความละอายต่อปาปที่จะทำในบริเวณวัดเช่น นึกจะฆ่าหมู ฆ่าวัว เพื่อใช้ในงานต่างๆ ก็จะไม่ทำกันในบริเวณวัดเพราะคิดกลัวปาป แต่พอไปอยู่นอกวัด หมูวัวตัวนั้นก็โดนฆ่าอยู่ดี ฆ่าโดยไม่กลัวปาป เพราะมันคืออาหารของคน แต่อาหารของคนตัวนั้นถ้าไปฆ่าในวัดเป็นบาป  แล้วบาปมันอยู่ตรงไหนกันแน่
กลับเข้าเรื่อง บวร บ้าน วัด โรงเรียน ได้มีโอกาสกราบนมัสการหลวงพี่ มหาวิชิตแห่งวัดปลักพ้อ ปรึกษาท่านเรื่อง บวร จึงได้ทราบว่าวัดก็พร้อมที่จะเป็นแกนกลางของชุมชน ได้ปรึกษาหารือกันเรื่องวัดกับชุมชนต่อการมีส่วนรวม ท่านก็บอกว่าดี งานนี้มีเหลือแค่ผู้ประสานงาน ระหว่างวัดกับชุมชน ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ดีเพราะคำว่า บวร ทุกคนฟังแล้วเข้าใจ รู้ว่าดี รู้ว่าถูกต้อง แต่มีคนทำน้อย คิดว่าทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เลยไม่ได้ลงมือทำกัน แต่ไม่ใช่พื้นแผ่นดินแห่งนี้ เมื่อได้พบกับท่านพระมหาวิชิต ฐิตธมฺโม ป.ธ.๙ วัดมงคลพิพัฒน์สมาธิ(ปลักพ้อ) อ.นาหม่อม จ.สงขลา (วัดใกล้ๆบ้านผมเอง) กับประโยคสั้นๆว่า ประตูวัดเปิดเสมอทุกโอกาส แล้วแต่ญาติโยมมาทำอะไร ถ้าสิ่งนั้นดี เป็นประโยชน์ต่อโดยร่วมแล้วยินดีเสมอ นับเป็นโอกาสที่สองจากที่ได้ดำเนินการของ "บ้าน" ที่สามารถชี้ช่องทาง ว่าไม่มีแค่เพียงหนทางเดียวที่จะอยู่รอดบนพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ แม้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุนหรือผู้มีอำนาจต่างๆนาๆ ธรรมะจากพระโง่ รังสรรค์โดย  ธรรมฐิต (พระมหาวิชิต ฐิตธมฺโม ป.ธ.๙ แห่งวัดปลักพ้อ) ขอยกบทธรรมตอนไม่เชื่ออย่าลบหลู่ "จงทำให้มี..ศักดิ์..แล้วเราจะได้ ...สิทธิ์..นั้นทันที  หนึ่งในใจความดังนี้ คนบุราณกล่าวว่า..ไม่เชื่ออย่าลบลู่นั้นถูกต้องแต่...ให้ศึกษาเรียนรู้จนเกิดปัญญาก่อนถึงจะกล่าวได้ว่า..สิ่งศักดิ์สิทธิ์หาใช่อยู่ในภายนอกตัวไม่ แต่อยู่ในตัวตนของเรานี่แหละ คำว่าศักดิ์แปลว่า สามารถในการณ์นั้นๆ อย่างมีสติเท่าทันด้วยปัญญา คำว่าสิทธิ์แปลว่า ความสำเร็จดั่งปราถนา  รวมกันจึงได้ความว่า สามารถในการณ์นั้นๆให้สำเร็จได้ด้วยสติปัญญาของเรา
กับผู้เพียรพยายามอย่างบริสุทธิ์ใจ มิได้กราบไหว้อ้อนวอนเทวดา บ้านผู้ดำรงค์ในวิถีแห่งตน เพื่อตนและสังคมรอบข้าง กับ วัด เพื่อเจริญจิตและเป็นแกนนำโดยมีหลักธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยว บ้าน วัด  สองในสามของ บวร รูปธรรมที่จับต้องสัมผัสได้ก็ใกล้เข้ามาทุกที ทุกท่านครับที่วิตกว่าโลกจะแตกดับผมว่า เมื่อธรรมะกลับมาโลกานี้หรือจะพินาถ
นับต่อจากนี้ เมื่อบ้านพร้อม วัดพร้อม บันไดขั้นที่สองตอนบ้านและวัดกับชุมชนก็เป็นรูปเป็นร่างขึ้น โปรดติดตามตอนต่อไป....



 ที่ธรณีสงฆ์กว่าเจ็ดไร่หลังวัด ท่านจำภาพนี้ให้ดีหรือใครที่อยู่ใกล้ๆ ก็แวะเข้ามาถ่ายรูปเก็บไว้น่ะครับ 
อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
สุุปะฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ
ขอท่านผู้อ่านและผู้ติดตาม มีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ