ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"บวร"กลับสู่ชุมชนที่นาหม่อม ตอนที่ ๔ โรงเรียน

บ้านหลังที่ ๒ ที่ใครๆก็เรียกกัน ทุกวันนี้ย้อนหลังไปสัก ๕๐ ปี การส่งลูกส่งหลานเข้าเรียนสูงๆ เพื่อจบไปเป็นเจ้าคนนายคนได้ปลูกฝังกันมายาวนาน ดูจากรุ่นพ่อมันก็ใช่(พ่อผมจบธรรมศาสตร์ ๒๕๐๗ มีรูปในหลวงและพระราชินิพระราชทานปริญญาบัตรให้)และท่านก็รับราชการตลอดมา ครั้งหนึ่งตอนคุณพ่ออายุประมาณ ๖๐ กว่าๆ ผมเองตอนนั้นก็ ๒๖ ๒๗ เห็นจะได้ เป็นผู้จัดการบริษัทฯ เลยมีหน้าที่พาท่านและเพื่อนๆไปทานอาหาร ข้อความโดยสรุปทุกท่านไม่ได้คุยเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์แต่อย่างไร คุยกันเรื่องเก่าๆในอดีตที่เรียนในฐานะเป็นเด็กวัดด้วยกัน และสิ่งที่สำเร็จของชีวิตพวกท่านก็คือ ความสุขที่นำพาครอบครัวได้มีบ้าน มีที่ดิน มีการศึกษาให้ลูกๆทุกคน ไอ้เอกมันชอบทำงานไม่ชอบเรียน มันเก่งทุกเรื่องยกเว้นเรื่องเรียน มันเอาตัวรอดได้ ประโยคที่คุณพ่อยกยอผม (หรือป่าว) ซึ่งเห็นได้ว่าเกิดจากความยากลำบากทั้งนั้น แม้อยู่ในฐานะราชการ แต่สุดท้ายก็ได้เหลือที่อยู่ที่ทำกินให้แก่ลูกๆทุกคนได้

กลับสู่อดีตที่ใกล้เข้ามาอีกนิด ประมาณปี ๒๕๒๑ สามสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปี ๒๕๓๗ ราคาผลผลิตทางการเกษตรก็ยังตกต่ำ ทำให้เกษตกรจำเป็นที่ต้องส่งลูกเข้าเรียนเพื่อการอยู่รอดในอนาคต การอยู่รอดโดยส่งลูกไปเรียนเพื่อออกมาเป็นลูกจ้างแรงงาน ไม่ปฏิเสธหรอกครับว่าบ้างคนสำเร็จในด้านการเรียนและการทำงาน ได้เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน มหาชน จนสุดท้าย ลูกจ้างแรงงาน ล้วนแล้วต้องทำมาหากินทั้งนั้น เป็นปีที่ประเทศนำคำว่าอุตสาหกรรมใหม่ มากรอกหูชาวบ้านชาวเมือง เราเป็นนิกส์

ขยับเวลามาอีกนิดครับ เมื่อปี ๒๕๔๕  เก้าปีย้อนหลัง ที่ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำมาโดยตลอด ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังอยู่ที่ ลิตรละไม่ถึง ๒๐ บาททุกประเภท ราคา หมู เห็ด เป็ดไก่ ไม่ถึงร้อยบาท ก็ยังพอทำมาหากินได้ กับข้าวกับปลายังไม่แพง จานละ ๑๕ ถึง ๒๕ บาท แต่หลังจากนั้นทุกอย่างก็ยกเพดานขึ้นสูงริบริ่ว  ผลพ่วงมาจากการขยายกิจการเข้ามาในประเทศก่อให้เกิดธุรกรรมทุกรูปแบบ ทั้งอุตสหกรรม และเกษตรกรรม การทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าว ยึด รุกล้ำ พื้นที่ทำการเกษตรทุกรูปแบบ ไม่ว่าการเลี้ยงกุ้งแทนนาข้าว การรุกป่าสร้างโรงงาน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย  ฯลฯ ที่กระทำบนผืนดินที่เรียกว่าอู่ข้าวอู่น้ำ แผ่นดินที่มีศักยภาพด้านการเกษตรของโลกใบนี้

การศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตบุลลากรเพื่อประกอบอาชีพการใช้แรงความคิด แรงสมอง แรงมือ แรงงาน โดยหันหลังให้ภาคเกษตรนับทศวรรษส่งผลให้ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงแบบก้าวกระโดดเหมือนในปัจจุบัน แม้ตอนนี้หลายคนกำลังวิ่งเข้าหาภาคเกษตรแต่สายไปแล้วครับสำหรับการเติบโตบนถนนเส้นธุรกิจการเกษตร เพราะปัจจัยการผลิตตกไปอยู่ในมือผู้คิดวางแผนประเทศนี้ก่อนนิกส์จะเข้ามาเสียอีก หมากกระดานนี้แม้ขงเบ้งจะมาช่วยก็ไม่ทัน ปี ๒๕๕๘ ประชาคมอาเซียน เปิดประตูประเทศจะเป็นอย่างไร ในขณะทีผ่านมาประเทศนี้ก็มิได้ให้ความเสรีเหนือแผ่นดินไทยแก่ใครเหมือนกัน แต่การหลุดรอดเข้ามาได้ใครเป็นผู้กระทำ และกระทำลงไปเพื่ออะไร

อุบาล โรงเรียน ถึง มหาวิทยาลัย จะปรับตัวอย่างไร ? อันนี้ก็ขอฝากไว้สำหรับผู้มีหน้าที่โดยตรงแล้วกัน ผมเองในหน้าที่วิทยากรการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เดินตามรอย ผู้ที่เดินตามรอยเท้าพ่อ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ได้ทุกกิจกรรม ธุรกรรม พฤติกรรม จำแนกตามผู้ที่มีหน้าที่ในกรรมนั้นๆ วันนี้ก็รับกรรมในฐานะผู้เป็นพ่อคนหนึ่งที่ต้องส่งลูกเข้าโรงเรียน แม้อนุบาล คำพูดบ้างคำที่ครอบครัวเราไม่เคยพูดก็ได้ยินจากปากของลูก โรงเรียนสอนมาหรือไม่? ผมว่าไม่ใช่ ที่บ้านเคยพูดหรือไม่ก็ไม่ สภาพแวดล้อมที่บ้านพูดหรือไม่ ก็ไม่มี แล้วจะโทษใคร? คือคำถาม  แต่ผมตอบและบอกลูกไปว่า คำนี้พูดไม่ได้ไม่ดีจำเอาไว้ ทำไมต้องโยนภาระไปให้คนอื่นๆรับผิดชอบ กฎกติกามันมี กฎที่ว่าลูกต้องไปเรียน แล้วกฎไหนทีจะรับประกันว่าลูกเราจะได้รับในสิ่งที่เราตั้งใจให้เรียนมามิใช่ให้เลียนมา พ่อแม่ผู้ปกครองครับตลอดระยะเวลาการศึกษาของลูก ๑๕ ปี ได้ ม.๖ ต่อ ๔ ปี ได้ปริญญาตรี รวม ๑๙ ปีในหนึ่งอายุไข ๑ ในสามของอายุ ถ้านับ ๖๐ ปี  ๑๙ ปี ที่ต้องศึกษาว่า ชีวิตอีก ๔๐ ปี จะทำอย่างไร (ไม่รวมเตรียมอนุบาลอีก ๒ปีน่ะ สำหรับบางครอบครัว) การเรียนรู้เพื่อมีวิชาไปประกอบอาชีพเป็นอย่างนั้นหรือ ในระหว่างทางเด็กถึงวัยรุ่นสู่ผู้ใหญ่ในวัย ๑๘ ปี รากฝอยสู่รากแก้ว มันคืออะไร ฝากใว้ให้คิด

การเรียนที่มุ่งสู่ความสำเร็จไปทางไหน ทางประกอบอาชีพ หรือ การร่ำรวย หรื่อ มีอยู่มีกิน ไปดูสถิติในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้น ป้ายรับคนงาน ม.๓ ม.๖ เต็มบ้านเต็มเมือง แต่คนที่ไปทำ ลองดูเถิดครับว่า ใช้วุฒิใดไปสมัคร และยอมรับอัตราค่าจ้างตามวุฒินั้นเพื่อได้งานทำ ตะไคร้ ร้อยละ ๖๐ บาทในปัจจุบันไม่มีใครคิดถึง สิ่งที่ปลูกโดยไม่ต้องดูแลมีมากที่มีมูลค่า ไม่มีใครคำนึงถึง วิถีการพออยู่พอกิน ไม่มีใครคิดถึง แต่พอของแพงก็ด่ากัน กล่าวโทษกัน นั้นหรือคนที่มีการศึกษาทำกัน  

วันนี้มีนิมิตหมายที่ดีแสงสว่างแห่งการศึกษาเมื่อ โรงเรียนบ้านนาทองสุก หมู่๔ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา สอนให้เด็กรู้จักพึ่งพาตนเองบ้าง โดยโรงเรียนเป็นพี่เลี้ยง มาเรียนมีผักมีปลากลับไป มีไข่กิน ครูสอน เด็กทำนั้นคือวิถีแห่งนี้ วิถีบ้านวิถีชุมชน ที่สัมผัสจับต้องได้ วิถีที่สอนให้รู้จักทำอยู่ทำกิน (เหนือกฎกติกาที่วางไว้) มิใช่ ทำมาหากิน (เป็นกฎที่บังคับใช้ในปัจจุบัน) ปฐมบท ที่ต้องเรียนรู้ ศึกษากันต่อไป



 

ก่อนจะปัจฉิมบท ก็ยังมี คนของของพระราชา หรือ คนที่พระราชาชุบเลี้ยง ตามที่มีคนแปลกันมาว่า ราชภัฏ วันนี้ที่ ราชภัฏสงขลา น้อมนำหน้าที่ คนของพระราชา มาปฏิบัติบูชาให้สมกับชื่อแห่งตน กรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ริเริ่มก็ควรทำให้สมภาคภูมิของคำที่ได้รับคำจำกัดความนั่นมา  บวร คงจะเป็นรูปธรรมสัมผัสจับต้องได้อย่างเต็มตา 


 ในนามของชุมชนเล็กๆ ขอฝากความหวังใว้ ณ ตรงนี้