ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เบญจภาคี จากมุมผู้ปฏิบัติในภาคสนาม

เบญจภาคี จากมุมผู้ปฏิบัติในภาคสนาม
การก้าวเดินทีละก้าว ช้าๆแต่มั่นคง เดือนนี้มีภาคีเข้าร่วมเยอะดีทั้งประชาชนทั่วไป เทศบาลนครหาดใหญ่  โรงเรียนถึงมหาวิทยาลัย บริษัทเอกชน(กำลังรอผลการปรับปรุงดินโดยชีวะภาพและจะสรุปเป็นเอกสารเพื่อแจกจ่ายแก่ชาวสวนยางพาราต่อไป)ติดตามได้ที่ http://soundpayang.blogspot.com/มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ และสื่อต่างๆ  หลายท่านที่เข้าใจยุทธศาสตร์ของเบญจภาคีแล้วก็อ่านข้ามไปได้ครับ แต่คนที่สงสัยว่าเบญจภาคีคืออะไร อธิบายง่ายๆว่า การร่วมมือของภาคต่างๆที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำให้วัตถุประสงค์ที่วางไว้สำเร็จโดยบริบูรณ์ สังคมที่อยู่ในปัจจุบันได้แบ่งส่วนใหญ่ๆเหล่านั้นเป็นห้าฝ่ายตามข้อความข้างต้น แต่ถ้าให้เห็นภาพชัดเจนก็นิ้วมือเรานั้นล่ะครับ ในแต่ละนิ้วมีคุณค่าที่ต่างกัน แต่ถ้ารวมห้านิ้วไว้กันคือเป็นฝ่ามือที่มีพลังโดยเฉพาะการใช้เพื่อพลักดัน แล้วยิ่งใช้แขนยกฝ่ามือขึ้นเหนือหัวเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียงครับ (มันจะอธิบายให้เข้าใจหรืองงไปกันแน่เนี้ย) เอาเป็นเรื่องๆดีกว่าเบญจภาคี ภาคสนามประกอบด้วย
๑.นิ้วโป่ง ประชาชนหรือชุมชน ในที่นี้หมายถึงกลุ่มคนในชุมชนในหมู่บ้านที่มีแนวคิดในทางก้าวหน้ามีความรู้ที่เหมือนหรือแตกต่างก็ไม่ว่า ที่สำคัญคือมีหัวจิตหัวใจที่พร้อมจะทำงานเพื่อส่วนรวมโดยอาศัยความรู้ความสามารถที่มีในแต่ละคนมาทำงานร่วมกัน
๒.นิ้วชี้ นิ้วที่มักใช้ในการสั้งการ โดยมีภาครัฐ หน่วยงานราชการต่างๆรวมถึงองค์กรส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องคอยดูแลกำกับให้ชุมชนนั้นๆได้รับสิทธิด้านอุปโภค สาธาณูประโภค สนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือตลอดจนจัดสรรค์งบประมาณ เพื่อให้งานของชุมชนดำเนินไปได้
๓.นิ้วกลาง โรงเรียน วัด สถาบันการศึกษา จนถึงมหาลัย เพราะต้องอาศัยนิ้วแห่งความเป็นกลางในการเผยแพร่ทั้งองค์ความรู้และคุณธรรมจริยะธรรมขนบทำเนียบประเพณีกิจกรรมเหล่านี้ได้จัดอยู่ในกลุ่มนี้มากที่สุดจึงต้องอาศัยลักษณะที่เป็นกลางค่อนข้างสูงทีเดียว
๔.นิ้วนางเอกชน เพราะนิ้วนี้เป็นนิ้วที่มีทุนอยู่ในตัว(เหมื่อนมีแหวนอยู่ในนิ้ว) การจะตัดสินใจหรือการสนับสนุนใดๆก็ตามจะมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนการพึ่งพากันในระบบธุรกิจก็ดีเพราะมีทั้งการชื้อสินค้าหรือทรัพยากรในท้องถิ่นนั้นๆรวมไปถึงการจ้างแรงงาน
๕.นิ้วก้อย มูลนิธิ องค์กรอิสระรวมถึงสื่อต่างๆ  ภาคส่วนนี้จะมีการเข้าถึงชุมชนเป็นหลัก ไม่ว่าชุมชนเมือง หรือชุมชนชนบท เป็นผู้ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือได้ด้านต่างๆ ทั้งการศึกษาการบริจาคทุนการศึกษา เผยแพร่ความจริงต่อสังคมทำให้ผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ ส่วนนี้จะเข้าให้การช่วยเหลือได้มากทีเดียว
                ครับที่กล่าวมาข้างต้นในเดือนนี้มันครบองค์ประกอบ แต่ต้องอย่าลืมเงื่อนไขของแต่และองค์กร มันจะเกิดขึ้นไม่ได้หากว่ามองมุมไม่เหมือนกัน มุมที่เรียกว่าทำไปแล้วจะได้อะไร คำว่า ประโยชน์ส่วนรวม เบญจภาคีที่มาทำมา อ่านออกแต่เขียนลงผืนแผ่นดินนี้ไม่ได้ ตอบว่า เปล่าประโยชน์  จะดีกว่า  รูปลักษณ์ที่เกิดขึ้นอะไรคือความเป็นจริง อะไรคือคำว่ายั่งยืน การเรียนรู้เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพผลประโยชน์ตกไปอยู่ที่ใคร การเรียนรู้โดยขาดจิตสำนึกต่อพื้นที่ต่อดินฟ้าอากาศ ต่อวิถีตนเองในภูมิประเทศของโลกใบนี้ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด กับ ความรู้แค่หางอึ่ง มุมมองสองมุมที่มาบรรจบกัน  ในเดือนนี้มีทุกส่วนของภาคีทั้งห้ามาร่วมขับเคลื่อนในชุมชนทั้งนั้น ส่วนจะได้เรื่องอย่างไรในแต่ละภาคีก็จะนำมาเสนอในเดือนต่อไปครับ
                กระผมเองเดือนนี้ได้เข้าร่วมในสภาองค์กรชุมชน ตลอดจนไปเป็นวิทยากรจึงทำให้เดือนนี้มีเวลาน้อยในการเก็บข้อมูลไว้เดือนหน้าคงจะมีความคืบหน้ามากกว่านี้ครับ