ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

บวร สู่ สภาองค์กรชุมชน

หลังจากที่ทีมงานของสมิหลาพอเพียงกลุ่มทุ่งขมิ้น ได้ขับเคลื่อนภาคประชาชนเริ่มจากบ้านในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง และต่อพื้นที่ทำกินอยู่เดิมให้เกิดกับรู้ความเข้าใจว่าบางสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เช่น กะลามะพร้าว น้ำมะพร้าว กากมะพร้าว ไม้ผลที่เต็มพื้นที่ของตำบลทุ่งขมิ้น ได้เกิดการชื้อขายแลกเปลี่ยน แปลรูป จากกะลามะพร้าวเป็นถ่านกะลา จากน้ำมะพร้าวที่ต้องทิ้งโดยป่าวประโยชน์เป็นน้ำหมักชีวะภาพ จากรากสับปะรดเป็นน้ำยาล้างจาน ฯลฯ ที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานเท่านั้นเอง หมายถึงว่า ให้ทำเองได้บ้าง ผลิตใช้ ผลิตขายกันเองได้บ้าง ขายที่ใกล้ๆ ก็เกิดเป็นกิจกรรมการผลิตและจำหน่ายโดยไม่เดือนร้อน ไม่ต้องลงทุนมากและใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่สามารถทำได้เอง จนปัจจุบันทำให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ดูงาน และขยายผลต่อไปในชุมชนอื่นๆ ได้เช่น ชุมชนพะวง และเทศบาลนครหาดใหญ่  การเลี้ยงหมูหลุม การใช้ขี้หมูแทนปุ๋ยเคมี บวก กับ น้ำหมักชีวะภาพทำให้วันนี้ชาวสวนเริ่มหันมาสนใจแนวทางนี้กันมากขึ้น ต่อยอดไปถึงน้ำส้มควันไม้ที่ได้รับการตรวจสอบจาก มหาลัยสงขลานครินทร์ ว่ามีสารอะไรอยู่บ้างจนนำไปสู่กระบวนการผสมอัตราส่วนการใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แห่งการใช้ได้เป็นอย่างดี
การได้รับโครงการไถ่ชีวิตโคกระบือจาก โรงเจเต้าบ่อเก็ง หาดใหญ่ จากที่ได้รับจำนวน 3 ตัว ตอนนี้ก็เพิ่มมาอีกสี่ตัว เป็น 7 ตัวแล้ว ที่เพิ่มมาอีก 4 เป็นการซื้อเขามาใหม่เนื่องจากพี่ชาติหนุ่มคาวบอยตัวจริงเสียงจริงจาก แม่โจ้ กำลังปรับเปลี่ยนสายพันธ์ระหว่างวัวพื้นบ้านและวัวพันธ์ให้ได้ดียิ่งขึ้น อีกยังเก็บอนุรักษ์พืชพันธุ์พื้นเมือง และต้นไม้ที่กำลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ซึ่งได้เสนอเรื่องไปถึงสภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งขมิ้นแล้ว



ต่อไปเรื่องของวัดหลายๆท่านคงจะได้รับฟังได้ยินดูข่าวของพระและวัดในเดือนนี้สองสามข่าวที่ไม่ดี ที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น พระออกมาอยู่ทาวน์เฮ้าส์ พระเตะโชว์ในวัด ก็เป็นธรรมะ และ ธรรมดา หากผู้หนึ่งผู้ใดรู้จักหน้าที่ ที่ตนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องแก่ตนแล้ว ผู้นั้นก็เป็นผู้มีธรรมะในตน เรื่องของพระที่นี้ขอกราบนมัสการถึงพระมหาวิชิต ฐิตธมฺโม ป.ธ.๙ แห่งวัดปลักพ้อ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา ได้กล่าวไว้หลายครั้งว่า “โยมทั้งหลายนั้นแหล่ะเป็นผู้ที่จะต้องบอกพระ ว่าต้องการพระแบบไหน มาพูดมาคุยกัน หากพระไปทางโยมไปทางแล้ววัดจะอยู่อย่างไร” อันนี้ผมสรุปเองคราวๆน่ะ เอาเป็นว่าที่ผมเคยบวชเรียนมา จำได้ว่า จากคำว่า “นาค”  “ภิกษุ” จนถึงคำว่า “ พระ”  เขามีลำดับกันอยู่ มิใช่บวชจากนาคห่มจีวรแล้วเป็นพระเลยไม่ใช่ ที่เห็นนั้นเป็นรูปแบบการเรียกขานเฉยๆ แต่คนที่ได้บวชและเรียนจะรู้ดีว่า กว่าจะระลึกตนได้ว่าเป็นพระ หรือ เป็น ภิกษุ หรือ นักบวช นั้นผู้เห็นแจ้งแห่งตนเท่านั้นจะหยั่งรู้ได้ และเช่นเดียวกันผู้อื่นรอบข้างก็จะสัมผัสได้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เราควรรู้เท่าๆกันคือ ภิกษุ กับ พระ ต่างกัน ใครสนใจไปหาศึกษากันดูครับดังนั้นฝากข้อคิดตรงนี้ไว้ว่า “กรณีผู้หนึ่งผู้ใดที่ห่มผ้าเหลืองคล้าย ภิกษุ  กระทำการใดๆอันเห็นตัวตาแล้วว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ควรจะไปศึกษาหาคำจำกัดความที่เรียกผู้นี้ขึ้นมาใช้ใหม่ได้แล้ว เช่น  นรกตนนึ่งก็ยังดี  อย่าได้ใช่คำว่า ภิกษุ หรือ พระ เลย” 
กลับเข้าเรื่อง วัดปลักพ้อ ศูนย์กลางของชุมชน ในวันนี้การก้าวเดินด้วยกรอบคำว่า “บวร”ได้ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เมื่อแกนนำชุมชนในแต่ละภาคส่วนถือปิ่นโตมาเจอะกันที่วัด โดยมี ครู นักเรียน ได้ดำเนินกิจกรรมกับวัดมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ในสมัยเด็กๆโรงเรียนก็มีกิจกรรมกับวัดอย่างนี้มาตลอดโดยเฉพาะช่วงประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  เมื่ออายุครบ 15 ปี ซึ่งก็อยู่ในวัยเรียน ม.2 ม.3 เห็นจะได้ แล้วเราทิ้งวัดไปตอนไหน? โรงเรียน กับ วัด แยกกันตอนไหน ? ฝากคำถามนี้ไว้อีกสักคำถามหนึ่ง  วัดศูนย์กลางแห่งชุมชนวันนี้ นอกจากเป็นที่ตั้งของห้องสมุดชุมชนแล้วยังเป็นที่ตั้งของ “สภาองค์กรชุมชน” ตำบลทุ่งขมิ้นอีกด้วย ต้นเดือนหน้า วันที่ 8 ตุลาคม 2554 จะมีการประชุม สภาองค์กรชุมชน ระดับตำบล เมื่อการบ้านเสร็จ การเมืองก็ต้องทำ แต่เป็นการเมืองในภาคประชาชนเพื่อประชาชน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้ที่ สภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งขมิ้น


ทีแรกก็เข้าใจว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่จะเกิดขึ้นมีขึ้นต้องอาศัยกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนั้น แต่พอรู้จักสภาองค์กรชุมชนก็เห็นแสงสว่างจากปลายอุโมงค์เลย งานนี้หากชาวบ้านได้รับรู้ข่าวสารและเข้าใจถึงที่มาของ “สภาองค์กรชุมชน” ทุกคนคงจะลุกขึ้นมาทำหน้าที่ในระบบจิตอาสาขึ้นเยอะ โดยเฉพาะการได้มีส่วนร่วมเข้าเสวนากับคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งจังหวัดสงขลา (กกต) เรื่องพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีท่านวิทยากรอย่างท่าน รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี บรรยายได้เห็นภาพที่มาที่ไปได้ดี และภาพไวนิลที่ทาง กกต.จัดให้เห็นที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ดีคือการยึดอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินนั้นแหล่ะ ประเทศไทยเราอยู่รอดมาเป็นร้อยเป็นพันปี ก็เพราะบูรพกษัตริย์ได้ต่อสู้กู้บ้านกู้เมืองรักษาไว้ กับความคิดของคณะใดคณะหนึ่งไม่อีกคน นำเอาคำว่าประชาธิปไตยอันโก้หรู ความเสมอภาค ความเท่าเทียม แล้วเป็นอย่างไร จะ 80 ปี เข้าไปแล้ว ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความเจริญ คนไทยทุกคนได้รับจริงๆ หรือป่าว อย่าลืมว่าประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานนั้นเป็นของคนไทยทุกคน มิใช่คณะใดคณะหนึ่ง หรือยังจะมีคณะใด คณะหนึ่งยังไม่เข้าใจข้อความอีก
พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่แห่งการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “บวร” จึงขอสรุปบทความเดือนนี้จบลงตรงแค่นี้ สวัสดี

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง แปลตามประสาบ้านๆ ควนๆ คือ ที่ว่างๆ สะดวกๆ สามารถทำกิจกรรมเรื่องบุญกุศล เพื่อนำพาให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถจัดการชุมชนให้บูรณาการอย่างยั่งยืนได้ วันนี้ก็เป็นอีกวันที่กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้นได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สามแล้ว จากสองครั้งที่ผ่านมาสามารถทำให้คนในชุมชนรู้จักบทบาทของสภาองค์กรชุมชนมาก ขึ้น
การทำงานในภาคประชาชนเพื่อประชาชนนั้น เวทีนี้ซิครับที่จะพูดได้ว่า "คุณเกิดมาเพื่อเจอะสิ่งนี้ ซาล่า"(แซวโฆษณาขายของทางทีวีนิดนึ่ง) เวทีที่เป็นสื่อกลางของทุกสิ่งอย่างจากใจของคนที่รวมเป็นสังคมเรียกว่าชุมชน ที่อยู่อาศัย ได้เอาเรื่องความเป็นอยู่ในทุกด้านมาพูดคุยกัน ข้อดีคือ ได้ศีลข้อสอง อทินณาทานา เพราะเวลาเกิดเรื่องอะไรเกิดเช่น น้ำไม่ไหล ไฟดับ ถนนพัง ลูกเข้าเรียนไม่ได้ คนตายไม่มีค่าฌาปนกิจ ก็ว่ากัน ว่าคนโน่นที หน่วยงานนี้ที ปัญหาเหล่าจะทุเลาเบาบางลงได้หากเรื่องมาถึงสภาองค์กรชุมชน ถามต่อว่าสภาองค์กรชุมชนเป็นเทวดามาจากไหนจึงทำได้? ตอบว่า ไม่ใช่เทวดา แต่เป็นคน เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่เข้าใจและรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และน่าจะนำเรื่องนี้ไปบอกแก่ใคร ให้ช่วยบรรเทาลงได้ กรณีจากอดีตของนายชูเกียรติ (ขอสงวนนามสกุล) ได้ไปสร้างบ้าน สร้างรกรากใหม่ที่หน้าวิทยาลัยครูสงขลา เมื่อปี ๒๕๒๒ บ้านไม่มีเสาไฟฟ้าเนื่องจากไกลจากถนน ก็ได้ต่อพวงจากเพื่อนบ้าน แต่พออยู่มา ก็มีคนเห็นว่าทำเลดี ก็มาสร้างบ้านเยอะขึ้น และก็ต่อพวงไฟฟ้าต่อๆ กันมา จนวันหนึ่ง ไฟฟ้าที่ต่อพวงก็ไม่สามารถรับได้แล้ว ภรรยาของนายชูเกียรติก็ได้ออกความคิดเห็นว่าควรจะติดตั้งเสาไฟฟ้า กว่า ๕ ต้น เพื่อได้มีไฟฟ้าใช้ คำตอบคือ ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะต้องจ่ายเงินค่าเสาไฟฟ้ากันเอง สรุปคือ นายชูเกียรติต้องรับภาระในค่าเสาไฟฟ้าเพียงคนเดียว เพื่อบ้านตนได้มีใช้ และคนอื่นๆได้รับประโยชน์ไปด้วยจนถึงปัจจุบัน และนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่นายชูเกียรติได้ส่งลูกชายเข้าเรียนในสาขาไฟฟ้า ทั้งๆที่ลูกชายบอกว่าชอบช่างยนต์ และทุกวันนี้ลูกชายของนายชูเกียรติ ก็ได้นำวิชามาเพื่อรับใช้สังคมต่อไป ขออนิสงฆ์ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ลูกชายได้ทำในส่วนดี ส่งผลบุญไปให้นายชูเกียรติผู้ล่วงรับไปแล้วด้วยเทอญ ...
ก่อนกลับเข้าเรื่อง เหตุการณ์อย่างนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อลูกชายจบการศึกษาชั้น ปวช.ต่อ ปวส. ได้ทำงานได้ฝึกงานและเรียนต่อได้รู้จักกับเพื่อนที่ทำงานด้านไฟฟ้า ทำให้การเขียนแบบ และการตรวจระบบฟ้าของบ้านที่เป็นหอพักนักศึกษาของครอบครัว ทำแบบวันเดียวเสร็จก็เกิดขึ้นในสังคมอุปถัมที่เราๆอยู่กันนี่แหล่
กลับเข้าเรื่อง  การอยู่ร่วมกันในสังคมโดยเฉพาะสังคมคนใต้ (ที่เขียนว่าสังคมคนใต้ได้เพราะไปอยู่สังคมอื่นๆมามากแล้ว แต่สังคมคนใต้มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ สัญลักษ์ รักษ์ และ รัก เป็นจุดเด่นของตัวตน) ถามว่าตัวตนคนใต้คืออะไร เสียงดัง ฟังชัด หรือ ? รักพวกรักพองหรือ? ตอบไม่จริง มันไม่ใช่ บ่แม้น ขี้จุ๊แบแบ๊ ตอบให้ก็ได้ว่า คนใต้รักความยุติธรรม รักใครรักจริง นี่คือคนใต้ที่ได้พบมาทั้งทั้งชีวิต ทุกจังหวัดที่ได้ไปมา สำเหนียงคนใต้แม้นเจอะที่เชียงใหม่ ยังถามว่า คนสุราดฉ่ายไหม๊ (อันนี้เอาพออ่านเข้าใจ แต่ถ้าเจอะจังหวัดผม คนที่สะกอมตอบ ลองอ่านดู อ๊าดโต้ย มากันแต่ไหน๊ล๊าหื้อ) ว่าแล้วเพื่อนข้างๆโต๊ะก็จะเริ่ม ออกไปห่างๆไป
ขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ผมได้เห็นมาและเก็บข้อมูลเอาไว้ ทำให้เอาเรื่องราวต่างๆ มาแสดงต่อชุมชนให้เกิดมุมมองต่างๆได้ วันนี้เอารูปกิจกรรมมากฝากกันครับ