ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครอง



ย้อนกลับไปดูที่มาของตนเองอีกครั้งหลังจากได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนที่ประชุมสภาองค์กรชุมชน จังหวัดสงขลา เพื่อไปร่วมประชุมในระดับชาติ

“คุณเป็นใคร? มาจากไหน?” เป็นคำถามกลางที่ประชุมของท่านสมาชิกท่านหนึ่งในคณะยุทธศาสตร์ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา แน่นอนครับผมต้องกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งไปก่อน ก่อนที่จะได้รับคำถามนี้มา คำกล่าวของผมก็คือ “ปัญหาหลายๆอย่างเกิดจากความเข้าใจไม่ตรงกัน การสื่อสารไม่ทั่วถึง ผมขออาสาทำหน้าที่นี้ครับ หน้าที่ของผู้ประสานงาน”



และเมื่อจิตใต้สำนึกได้สำแดงเดชอีกครั้งระหว่างที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล ด้วยประโยคที่ว่า “ท่านใส่เสื้อนี้ร้องเพลงดินได้หรือป่าว” ผมก็ตอบว่าพอร้องได้บางครับ นึกว่าจบแล้วแต่ก็มีประโยคถามต่อมาอีกว่า แล้วท่านรู้จัก อ.ยักษ์ไหม? ว่าท่านเป็นใครทำอะไร มาจากไหน? ผมก็บอกได้แค่ว่า “ท่านเป็นผู้จดบันทึกและถวายรายงานต่อในหลวงในฐานะ ข้าราชการของ กปร.” ถูกต้อง แสดงว่าลูกศิษย์ อ.ยักษ์จริง
แต่คำตอบที่ผมตอบไปคือ ผมเป็นลูกศิษย์ของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง แกลง ระยอง ซึ่งจริงๆแล้วผมเป็นศิษย์ผู้ใหญ่สมศักดิ์  เครือวัลย์ อ.ยงยุทธ เสมอมิตร พี่ๆ วิทยากรทุกท่านของศูนย์สองสลึง และ พระอาจารย์สุวรรณ คเวสโก แห่งวัดป่ายาง จ.นครศรีธรรมราช แต่คำสอน     ของ อ.ยักษ์ ผมจำได้อยู่
และเมื่อผลเกิดจากเหตุ เหตุที่มีคำถามตรงนี้เพราะผมใส่เสื้อของศูนย์กสิธรรมชาติไป เพราะผมไม่เคยซื้อเสื้อใส่ดีๆโก้ๆ หรูเลย หลังจากที่เคยใส่ ชูชูส์ ดีเซล เนบเปอร์ เอโร่ ลีวาย ปีแอร์ และมีเนคไทค์กว่า ร้อยเส้น สูท ฯลฯ หลังจากพบกับวิถีแห่งความพอเพียง และด้วยเครื่องแบบทหาร กับ จีวร ซึ่งเกิดสามัญสำนึกเล็กๆว่า การแต่งตัวดูดี มิ จำเป็นต่อการทำงานได้เลย งานที่ทำจากใจ ใจที่เป็นประธาน แต่ต้องพอเหมาะสมแก่สถานที่และให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฉะนั้นเสื้อที่ดีและมีอยู่ในราคาตัวและ 350 บาท ที่มีอยู่จึงนำมาใส่ในครั้งนี้ ผมไม่แปลกใจหรอกครับที่มีคนเข้ามาถาม เพราะท่านที่ถามก็เป็นหนึ่งในขบวนของเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนกัน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมเคยถามคนที่ใส่เสื้อนี้ตอนไปประชุมภัยพิบัติ ว่าพี่อยู่ศูนย์ไหนเหรอ แต่มิได้คำตอบ.....








ดังนั้นผมต้องรับผิดชอบทั้งสองฐานะคือ ตัวแทนของสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสงขลา และวิทยากรแห่งเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ด้วยต้องรับผิดชอบจึงคิดได้ว่า เป็นปีแรกที่เข้ามาตรงนี้ และค่อนข้างเร็วมาก 3 ปีที่กลับมาบ้านมาจากคำครหาคำดูถูก คำประณาม ว่า คิดอย่างนี้ทำอย่างนี้ไม่เจริญก้าวหน้า การกลับมาตัดยาง เผาถ่าน ทำน้ำยาล้างจาน รับจ้างตัดหญ้า  จะเรียนมาทำไม ฯลฯ สาดเสียเทเสียเข้ามา (ซึ่งเขาเหล่านั้น เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ต้องอยู่ร่วมกันในสังคมนี้เท่านั้นเอง) แต่ไม่เป็นหรอกครับเพราะคนที่ยินดีและเป็นคนสำคัญที่สุดของชีวิตคือแม่ผมเอง ท่านบอกว่า “ถ้าแกคิดอย่างนี้ได้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ฉันก็ไม่ต้องเหนื่อยกับแกมาเป็น 20 30 ปี” บนวิถีแห่งแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 

  และคำครหา ว่ากล่าว ก็ยังไม่หมดสิ้นเมื่อผมทำเรื่องสาธารณะที่มิได้มีค่าตอบแทนด้วยประโยคที่ว่า “เขามีแต่ทำตนให้รวยมีอยู่มีกินมีหน้ามีตา” ถูกครับความคิดทุกคนถูกหมด ชีวิตที่เราๆเกิดมาผมเชื่อว่าทุกคนอยากเป็นคนดี แต่การเป็นคนดีได้นั้นมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งถ้าหากเราคิดว่าจะเป็นคนดีของใครคนใดคนหนึ่ง หรือ การทำดีโดยสร้างภาพขึ้นมา กระดุมเม็ดแรกก็ผิดแล้ว ความสำเร็จแห่งความรู้ในข้อเท็จจริงตัวชี้วัดความดีอยู่ตรงไหนผมไม่รู้ แต่ชีวิตผมและลูก ได้รับความเอ็นดู ความเป็นห่วง จากชุมชน จากตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จ.สงขลาแห่งนี้ มันเกิดจากข้อย่อยของการก้าวเดินบนวิถีแห่งความพอเพียงแค่“การแบ่งบัน การให้ แม้แค่กระทั่งการยอมรับผู้อื่น มากกว่าตนเอง” โลกแห่งวิถีพอเพียงก้าวแรกแห่งธรรมคือทาน ทานที่ทุกคนให้กันได้ คือการยอมรับฟังผู้อื่น..... ในที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งนี้ อาจจะมีส่วนผิดอยู่บ้าง แต่เป็นความผิดโดยเทคนิคเล็กๆน้อยๆในการจัดการ เพื่อได้มาแห่งกรอบการทำงานและตัวบุคลที่อาจจะมีการเตรียมการมาก่อนหน้า โดยลืมคำนึงถึงช่องว่างระหว่าง กลุ่มคนเก่าที่หมดวาระไปแล้ว กลับมามีบทบาทใหม่อีกครั้ง และผู้ที่ได้รับเลือกเข้ามาใหม่ ผมนั่งดูประเด็นทั้งหมดแล้วก็ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์กันทั้งนั้น มีประเด็นของสงขลาที่ได้เตรียมมาบรรจุอยู่ด้วย จึงไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นอภิปรายใดๆ แต่ก็ได้เสนอให้มีผู้อภิปรายเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างการทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและชุดใหม่ ซึ่งผมเองก็ได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมการชุดใหม่ด้วย








กลับมาสู่ต้นเหตุว่าทำไหมจึงไปเกี่ยวข้องกับการเมืองของภาคประชาชน บนพื้นฐานแห่งวิถีเศรษฐกิจพอเพียง ผมตอบไม่ถูกนะว่าเกิดจากอะไร แต่ความยอมรับจากชุมชนในตำบลจนถึงระดับประเทศ ต้องมิแนวคิดแนวทำอยู่บ้าง ถามว่าต้องทำอย่างไร ผมก็ตอบได้แค่ว่า หากตนเอง พออยู่ พอกิน พอใช้ เหลือเก็บแจกจ่ายให้ทาน จะขายก็ไม่ได้ว่า นั้นคือคำสอนของผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ และอีกหนึ่งคำสอนของ อ.ยงยุทธ์ เสมอมิตร ที่ว่า “ต้องเป็นให้เป็น” และอีกหลายๆคำสอนของครูบาอาจารย์ พี่ๆวิทยากร น้องๆที่ร่วมงานกัน ผมสรุปง่ายๆว่านั้นคือ “บทเรียน” แต่ เมื่อวันพร้อม เวลาเหมาะสม สถานการณ์ถูกต้อง โอกาสมาถึง “การถอดบทเรียน”ของคณะยุทธศาสตร์องค์กรชุมชนจังหวัดสงขลา กว่า 30 นักปราชญ์ราชบัณฑิตแห่งแผ่นดินเกิดได้บ่มความรู้อีกครั้ง นับว่าเป็นโชคดี เป็นมงคลแห่งชีวิตที่สุดแล้ว การทำงานภาคประชาชนจึงเริ่มต้นขึ้น ในฐานะตัวแทนจากภาคประชาชน ไม่ต้องหาเสียง ไม่ต้องเลือกตั้ง แต่เป็นฉันทามติ และรับทราบโดยกว้าง ตั้งแต่ ระดับ ชุมชน ตำบล อำเภอ จังหวัด และประเทศ

และนี้คือก้าวแรกเท่านั้น ก้าวแรกที่ผมเริ่มมองหารุ่นน้องที่จะมาร่วมกันทำงาน และจะต้องสืบสานงานต่อไป หากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มี “ทางสายกลาง”อยู่เหนือ “สามห่วงสองเงื่อนไข” มาปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองกับงานที่ทำ การเป็น “คนกลาง”ในการเชื่อมต่อ  และหากทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกันนำไปสู่ สัมมาทิฏฐิได้ แล้วนำไปเป็นแนวทางให้ระบอบประชาธิปไตย การพูด การบรรยาย การขยายความคิดเห็น มิใช่หนทางสู่ความสำเร็จได้เลย หากไม่ลงมือทำ  และผู้ที่ได้ลงมือทำมาแล้ว ก็มิจำเป็นต้องพูด ต้องบรรยาย ขยายความ ประเทศชาติจะเป็นอย่างไรครับถ้าผู้มีอำนาจในการปกครองได้ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงๆ จังๆ