ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

๒๙ กุมภาพันธ์ ๔ปีมีครั้งหนึ่ง

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 60 ของปีอธิกสุรทิน มีการเรียกวันนี้ว่าเป็นวัน อธิกวาร (leap day) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 306 วันในปีนั้น วันนี้จะปรากฏขึ้นในทุกๆ รอบ 4 ปี เมื่อปี ค.ศ. หารด้วย 4 ลงตัว แต่กฎเกณฑ์นี้มีข้อยกเว้น 2 กรณีคือ
1.          ถ้าปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 100 ลงตัว ให้เป็นปีปกติสุรทิน
2.          แต่ถ้า ปี ค.ศ. นั้นหารด้วย 400 ลงตัว ให้เป็นปีอธิกสุรทิน
ด้วยกฎเหล่านี้จึงทำให้ ค.ศ. 1800190021002200 เป็นปีปกติสุรทิน แต่ ค.ศ. 160020002400 เป็นปีอธิกสุรทิน
เหตุที่เดือนกุมภาพันธ์จึงมี 28 หรือ 29 วัน เนื่องจากโลกเมื่อหมุนรอบตัวเอง จะใช้เวลา 365.24 วัน ซึ่งเมื่อคำนวณและทด (คัดลอกมจากจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
ในเดือนนี้ที่มี ๒๙ วันของเดือนกุมภาพันธ์ในรอบ๔ปี พูดถึงเรื่องเวลาทีไร ก็มักนึกถึงเรื่องเวลาที่ผ่านไปแต่ละวัน กับการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีการตอบรับเป็นอย่างดี หลายๆครั้งที่บรรยายและพูดถึงแนวคิดแนวทำ มีบางครั้งได้รับคำตอบว่าไม่มีทุน  ผมเองก็เคยคิดเรื่องนี้เหมือนกันตอนลงมือปฏิบัติใหม่ๆ คิดอยากจะทำโน้นทำนี้ ตามที่เห็นมาในชีวิตจริงบ้าง ในทีวี ในเน็ต ฯลฯ แต่พอจะทำจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องซื้อต้องลงทุน พอทำไม่ได้เพราะไม่มีทุนก็ต้องหยุดความคิดลง
วันหนึ่งมองไปรอบๆบ้านเห็นกะลาที่เผาทิ้งก็จับเอามาเผาเป็นถ่าน เผาไปเผามาก็มีคนมาสั่งซื้อ สั่งเป็นถ่านคาบอดร์บ้าง เป็นถ่านปิ้งย่างบ้าง ก็ดีอยู่ได้ไปวันๆ แต่พอปีใหม่ ตรุษจีน สงกรานต์ ก็มีการสั่งซื้อมากเป็นพิเศษ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนรู้ว่าต้องจ่ายของแพงในเวลานี้ แต่ไม่มีใครคิดเวลาก่อนหน้าเทศกาลเขากดราคาเราที่เท่าไร ... ต้นทุนแห่งเวลาการผลิตและปัจจัยการตลาด ไม่สอดคล้องกันนั้นคือช่องว่างของผู้มีสายปานยาวกว่า มีทุนเหนือกว่า และวิเคราะห์การตลาดได้แม้นช่วงเวลาหนึ่งๆ
ตลาดซื้อขายล่วงหน้าเป็นอะไรที่เกษตรกรต้องติดตามอย่างใกล้ชิด  ผมจะสรุปง่ายๆได้หรือป่าวว่า เป็นการกำหนดกลไกของผู้เล่นเงิน พ่อค้าเงิน ผู้ที่ให้เงินทำงาน เป็นผู้กำหนดการเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย  ในวันหน้าหากเกษตรกรล่วงรู้ถึงกลไกการตลาด และร่วมกลุ่มเป็นสหกรณ์เต็มระบบเมื่อไร การจับมือระหว่างภาคีด้านออมทรัพย์ กลุ่มก้อนต่างๆ ทำวิสาหกิจชุมชนเป็นรูปเป็นร่าง มันก็คือลมหายใจอีกเฮือกหนึ่งของเกษตรกรในชุมชนไทยแค่นั้นเอง
วันเวลาในการดิ้นรนยังมีคนของชุมชนเล็กๆ อารมณ์ดี มีบทเพลง มีคำกลอน มีศิลปวัฒนธรรม ซึ่งผมขอบรรจุไว้ในที่นี้ ว่า อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา เรามีครบ สวัสดีในสี่ปีครั้ง แม้นว่าทุกวันชาวอำเภอนาหม่อมก็เป็นเช่นเดิมในวิถีแห่งตนบนความพอเพียง