ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2555

ถึงเวลาจารึกเรื่อง “ทำอยู่ทำกิน”บนพื้นดินเสียที


สามปีที่ผ่านมากับการใช้ชีวิตชาวสวนยางพารา  ผ่านการดูถูกเหยียดหยามต่างๆนานาจากคนรอบข้าง ว่าไม่มีหัวคิด ไม่เอาไหน ฯลฯ แต่ก็เข้าใจทุกคนดีเพราะหลายๆคนเขียนแปลนชีวิตเราตามใจเขาคิด หลายๆคนมองว่าเราน่าจะทำงานบริษัทฯมีเงินเดือนมีหน้ามีตา นั้นคือสิ่งที่ทุกคนมองมา ในทางกลับกันที่เรามองตัวตนของเรา เราเห็นการดิ้นรนไม่รู้จบของพนักงานบริษัทฯ เรามองไม่เห็นทางที่พนักงานบริษัทฯมีความสุขกับการทำงานได้ เราเห็นข้อจำกัดเรื่องเวลา ความมีอิสรภาพแห่งชีวิต นั่งมองดู นั่งคิดว่า ฐานเงินเดือนของคนส่วนใหญ่อยู่ที่ ๓๐,๐๐๐ บาท/คน/เดือน  กว่า ๑๐ ปีที่ผ่านมา เงินส่วนใหญ่ตกไปอยู่ที่ กินใช้ และยานพาหนะ จากรถเครื่อง สู่ รถยนต์ เงินเดือนหนึ่งในสามต้องหมดไป บางคนโชคดีใช้จ่ายไม่ฟุ่มเฟือย ก็สามารถผ่อนบ้านได้อีกหลังในราคา หมื่นต้นๆ ไปตลอด ๒๐ ถึง ๓๐ ปี บางคนบางครอบครัวก็มีลูก ก็ต้องส่งลูกเรียน ค่าใช้จ่ายคิดแล้วก็ไม่อยากคิดต่อ แต่นี้ก็เป็นวิถีชีวิตจริงของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า “ทำอยู่ทำกิน” แต่ก็มีคนอีกไม่น้อยที่ได้แค่คำว่า “ทำมาหากิน” เพราะการจะซื้อบ้านสักหลังมันมองไม่เห็นทาง เพราะเต็มไปด้วยเงื่อนไขต่างๆ คนที่เป็นลูกจ้างแรงงานที่มีเงินเดือนไม่ถึง ๓๐,๐๐๐ แทบจะไม่มีสิทธิ์เลย
            ในสองเดือนที่หายไปมีอะไรมากมายเข้ามาในคิด การพบปะเพื่อนฝูง และญาติมิตรในงานทำบุญกุศลศพทั้งแม่ตัวเอง และญาติอีกสองสามคนที่ล่วงลับ มีที่เป็นผู้สำเร็จในชีวิตและยังไม่สำเร็จ แต่ที่ยังไม่สำเร็จมากกว่าเยอะ ทุกคนล้วนแต่ทำงานบริษัทฯ กับราชการอีกนิดหน่อย แต่ที่กลับมาทำสวนทำไร่อย่างเราไม่มี ผมก็เลยถูกมองว่าเป็นคนไม่มีความก้าวหน้าในชีวิต คิดอะไรแบบล้าหลัง
            ทบทวนตัวเองอีกครั้ง ก่อนจะตัดสินใจที่กลับบ้านมาทำสวน หากวันนั้นย้อนกลับมาจะเปลี่ยนใจไหม คิดย้อนไปที่ไรก็ยังยิ้มออกอยู่ดี ยิ้มให้กับตัวเองที่ตัดสินใจถูกแล้ว และยังยิ้มทั้งน้ำตาได้อีกเมื่อคิดถึงประโยคที่คุยกับคุณแม่ก่อนจะจบชีวิตในการทำงานว่า จะกลับบ้านมาทำสวนทำไร่นะแม่พูดว่า “ถ้าแกคิดได้อย่างนี้เมื่อสิบปีที่แล้ว ฉันก็ไม่ต้องทนปวดหัวกับแกมายี่สิบสามสิบปี”
            ถามตัวเองว่ายี่สิบสามสิบปีที่ผ่านมาทำอะไรมาบ้าง คงจะไม่ต้องกล่าวรายละเอียดมากนักนะครับ เอาเป็นว่าใช้ชีวิตเกินคุ้มแล้วกัน ย้อนกลับมาในวันที่เจอะกับเพื่อนๆ และญาติ การดื่มกินเป็นเรื่องปกติ แต่ที่ผิดปกติก็ตัวผมเองเพราะผมเบื่อ เบื่อกินเบื่อเที่ยว ผมอยากนั่งฟังเพื่อนๆคุยกัน ผมอยากจะฟังคนอื่นๆคุยมากกว่า บางคนคุยเรื่องรถ บางคนคุยเรื่องแฟน บางคนคุยเรื่องเที่ยว บางคนคุยถึงฐานะตนเอง บางคนเกทับคนอื่น ผมได้แต่นั่งฟังแล้วยิ้ม ยิ้มเพราะผมรู้แล้วว่าในแต่ละเรื่องเป็นอย่างไร
            สรุปทุกคนเกิดมาล้วนต้องกินต้องใช้ต้องหาความสุขใส่ตัว และแล้วเวลาวงแตกก็มาถึง เมื่อเพื่อนๆหันมาถามผมว่า ไงชีวิตชาวสวนยางแบบพอเพียง ผมตอบไปว่า “พออยู่ พอกิน พอใช้ เหลือ เก็บ แจกจ่าย ให้ทาน ก็พอแล้ว
            ท่านผู้ติดตามทุกท่านครับหลายๆครั้งที่ผมไปบรรยาย หรือ ร่วมแสดงความคิดเห็นในเวทีต่างๆที่ได้มีโอกาสเข้าร่วม ทุกทีมักจะพูดถึงการพัฒนาประเทศ นักวิชาการ นักการเมืองพูดถึงจีดีพี  ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (อังกฤษ: gross domestic product: GDP) หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลา หนึ่งๆ โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด ซึ่งถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของ ประชากรในประเทศนั้นๆ
ไปดูนักปรัชญาก็เจอะอาริสโตเติล[1] หรือ แอริสตอเติล (กรีก: Αριστοτέλης; อังกฤษ: Aristotle) (พ.ศ. 160 (384 ก่อนค.ศ.) - 7 มีนาคม พ.ศ. 222 (322 ก่อนค.ศ.)) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา
นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราติสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ
อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขา วิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา   ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา   เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรี
            แต่ประเทศไทยเรามี วิชาพระพุทธประวัติ เรามักจะเห็นคำว่า 18 ศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาที่เจ้าฟ้าพระราชามหากษัตริย์ในสมัยอดีตส่งบุตรหลานไปศึกษาเป็นประจำ
นักประพันธ์โบราณ ได้ประพันธ์ 18 ศาสตร์ ไว้ ดังต่อไปนี้

สุติ สัมมติ สังขะยา จ โยคา นีติ วิเสสะกา

คันธัพพา คะณิกา เจวะ ธะนุเพทา จ ปูระณา

ติกิจฉา อิติหาสา จะ โชติ มายา จ ฉันทะติ

เกตุมันตา จะ สัททา จะ สิปปาฏจาระกา อิเม


1. สูติ เวททั้งสามอย่าง ที่เป็นหลักความรู้
2. สัมมุติ เวททางศาสตร์ที่เป็นความรู้รอบตัว มีฉันทศาสตร์ ไวยากรณ์ นุรุตติ โชยติ กัลปะ
และคู่มืออีก 3 อย่าง พิธีบวงสรวง บอกฤกษ์ปลูกเรือน ธรรมเนียม ประเพณี
3. สังขะยา ความรู้เกี่ยวกับการเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ และความรู้การดับของโลก คือ โมกขะ หรือนิพพาน
4. โยคะ หลักปฏิบัติเกี่ยวกับวิญญาณเพื่อให้เข้าถึงความดับสนิทคือนิพพาน
5. นีติ ความรู้จักศีลธรรม จรรยาและกฎหมาย
6. วิเสสกะ ความรู้เกี่ยวเหตุผลโดยการอ้างบุญบาปมาเป็นปทัฏฐาน
7. คันธัพพะ วิชานาฏศิลป์
8. คณิกา วิชาการคำนวณ
9. ธนุเพท ยิงธนู
10. ปุราณะ โบราณคดี เกี่ยวกับพงศาวดารดั้งเดิม
11. ติกิจฉา แพทย์ศาสตร์เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลไข้
12. อิติหาสะ ประวัติศาสตร์หรือตำนาน
13. โชติ ดาราศาสตร์ การพยากรณ์ตามการโคจรของดวงดาว แรงดึงดูดของดวงดาว ฤดู วัน เดือน ปี
14. มายา วิธีแสดงอุบายเอาชนะข้าศึก เช่น ตำราพิชัยสงคราม
15. ฉันทะ วิชาฉันทศาสตร์ รู้การแต่งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์
16. เกตุ รู้นิมิตลางร้ายดีของเมฆ หมอ ควัน อันเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับตำราพิชัยสงคราม
17. มันตะ รู้เวทย์มนต์ คาถา เลข ยันต์
18. สัททะ รู้เสียงสัตว์ที่บอกลางร้าย ลางดี รู้คัมภีร์สัททาวิเสส

ถ้าจะเทียบกับปัจจุบันนี้ คงเป็นวิชาเหล่านี้ (แต่ข้อไมได้ตรงกัน) คือ
1. ยุทธศาสตร์ วิชาการรบ
2. รัฐศาสตร์ การปกครอง
3. นิติศาสตร์ กฎหมาย จารีตประเพณี
4. พาณิชยศาสตร์ การค้าขาย
5. อักษรศาสตร์ วรรณคดี
6. นิรุกติศาสตร์ ภาษาของตนเองและภาษาต่างประเทศ
7. คณิตศาสตร์ การคำนวณ
8. ดาราศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ดวงดาวในจักรวาล
9. โหราศาสตร์ พยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ
10. ภูมิศาสตร์ ดูพื้นที่ แผนที่ของสถานที่ต่างๆ
11. เวชศาสตร์ การพยาบาลรักษาคนป่วย
12. ตรรกศาสตร์ ว่าด้วยเหตุผล
13. สัตวศาสตร์ ดูลักษณะสัตว์ รู้จักเสียงและอาการของสัตว์
14. วิศวกรรมศาสตร์ ช่างกล
15. ปรัชญา-ศาสนศาสตร์ วิชาการด้านแนวความคิดและศาสนาต่างๆ
16. นโยบายศาสตร์ ชั้นเชิงในการเจรจา วางแผน หรือตำรับพิชัยสงคราม
17. นาฏศาสตร์ ดนตรี นาฎศิลป์
18. ฉันทศาสตร์ การแต่งกาพย์ กลอน โคลง
            บางท่านรู้มานานแล้ว บางท่านศึกษาโดยตรง บางท่านจำต้องเรียนในหลักสูตร แต่ผมผ่านมาแล้วผ่านไป “บวชเรียนน้อยค่อยๆศึกษา ไม่แตกฉานวิชา แค่ศึกษาธรรมะได้” ได้ยินได้ฟังมานานแล้วเรื่อง “สามก๊ก” อ่านไม่จบสักรอบ เพราะผมเป็นคนคบได้ เอาล่ะไม่ว่ากัน มันคือคำกล่าวขาน แต่ที่ติดใจก็คือ “พระราชนิพนธ์ พระมหาชนก” สำหรับเราชาวไทยอะไรคือทางออก หากแต่ว่าจะหยิบจะฉวยอะไรมาใช้
            เราถูกกลืนวัฒนธรรมตั้งแต่ระบบการเรียนการศึกษา การแยกวัดกับโรงเรียน มันหมดสิ้นจารีตประเพณี  พ่อแม่ไม่มีเวลาเข้าวัด แล้วลูกจะรู้จักหรือ ภาพข่าวส่อให้เห็นความเสื่อมแห่งสังคมเกิดขึ้นทุกวัน อะไรกันนักหนาบนแผ่นดินอันอุดมพื้นนี้
            จากอดีตสู่ปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นผมชอบเป็นที่สุดของการทำหน้าที่ ในวันนี้คงจะหยุดการบรรยาย คงจะหยุดแสดงความคิดเห็นในเวทีต่างๆ แล้วทำทั้งหมดที่เห็น แล้วเชิญให้ใครๆ มาดู มาพิสูจน์ มาตรวจสอบ เพราะเป็นของที่จริงตลอดเวลา นั้นคือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชาวสวนหนึ่งคนกับครอบครัวเล็กที่พอจะทำได้
            ก้าวนี้เป็นก้าวที่สามของชีวิตและชุมชน บนคำว่า “ยั่งยืนแบบพอเพียง”