ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อะไรคือความพอเพียง



ที่ขึ้นประโยคนี้ไว้เพราะจะได้เตือนตนเองในวันข้างหน้า ณ ขณะตัวเองในเวลานี้เริ่มจะไม่พอเพียงแล้ว ไม่พอเพียงในการใช้เวลาให้กับส่วนรวมมากเกินไป การอาสาหรือจิตอาสามันมีข้อจำกัดขอบเขตมันอยู่ และอีกอย่างคือ “การทำตนเป็นคนเก่ง คนสำคัญ มันไม่ใช่หน้าที่ของผม”
เพราะหน้าที่ของผมคือ “การทำให้ครอบครัวและคนรอบบ้าน มีอยู่ มีกิน มีใช้ มีศักดิ์ศรี และรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง” จากเส้นทางของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ถนนของการทำงานภาคประชาชน เพราะต้นรากของผมคือการทำอยู่ ทำกิน แบ่งปันแม้ว่าที่ผ่านมาต้องฝ่าฟันอะไรมาบ้าง แต่ผ่านมาได้เพราะทำเรื่องเพื่อน ทำเรื่องคนอื่น จนจะตกไปเป็นคนที่หลายๆคนเรียกว่า “คนของประชาชน”
เอากันตรงๆว่าวันนี้ “ฮีโร่”มีเยอะ (ใช้คำว่า “ฮีโร่” เพราะตัวเองชื่อเอก และบวชพระเป็น พระเอก ณ วัดเอก ) ชื่อพ่อชื่อแม่ตั้งให้ จึงไม่ใช้คำว่า “พระเอก”เดี่ยวเข้าตัวเองอีก  แต่ฮีโร่เหล่านั้นทำไมไม่มานั่งคุยกันว่า ประชาชนต้องการอะไร แล้วทำให้ประชาชนได้เข้าถึงสิทธิของตนเอง อย่ามาอ้างโน้นอ้างนี่ กติกาขยับได้หากเป็นฮีโร่สำหรับประชาชนโดยแท้จริง
ทุกๆหน้าที่ ที่เข้ามาในวันนี้มันมาจาก การประยุกต์ใช้ “วิธีฟื้นฟูต้นมะม่วง” ตามพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ซึ่งเป็นแบบเป็นแนวให้ปรับใช้แก่ตนเองได้ หากแต่ไม่พูดเพียงแต่ทำ ในเก้าข้อแห่งการฟื้นฟูต้นมะม่วงมันกระจัดกระจายไปทั่ว กล่าวคือ ผู้มีหน้าที่ในแต่ละข้อก็มีอยู่เดิมแล้วแต่ไม่มองถึงต้นมะม่วงต่างหาก
ผมรักและเคารพในการมีเอกลักษณ์ของแต่ละคนเพราะส่วนใหญ่จะมี(อีโก้)อยู่มาก การเชื่อมั่นตนเองสูง เอาความคิดตนเองสูง หากเป็นพระในศาสนาพุทธมันผิดวิสัยสี่เสียด้วยซ้ำ มีคำหยอกล้อกันว่า “บวชใหม่ๆจะไปนิพาน บวชนานๆไม่รู้นิพานอยู่ไหน” เอาเป็นว่าผมบวชก่อนเข้าพรรษาและสึกก่อนรับกฐินแล้วกัน ที่บวชก่อนเพราะว่า บวชเพื่อเรียน เพื่อแทนคุณพ่อแม่ แต่ที่สึกก่อนเพราะสำเร็จแห่งการเรียน จึงมิต้องครองผ้ากฐินแม้แค่ สี่วันก่อนสึกก็ตาม เพราะบวชมาจึงเข้าใจว่า “ธรรมะคือหน้าที่”
กลับเข้าสู่ประเด็น “อะไรคือความพอเพียง” (สำหรับผมนะ) เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทุกคนสามารถปรับใช้กับตนเองได้ทุกเวลาทุกสถานการณ์ แต่ต้องตอบได้บางว่ามีเหตุมีผลสำหรับตนเอง มิใช่ต้องเป็นหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งทำอย่างนั้น ต้องตามนั้น มันไม่ถูกเท่าที่ควร  เอาเป็นว่าไปแบบกลางๆล่ะดีแล้ว แสดงข้อคิดเห็นบ้างฟังผู้อื่นบ้าง ณ เวลานี้แม้หลายๆงานในขบวนองค์กรชุมชนจะเข้ามาหาเยอะ ไม่ว่าการฝึกอาชีพชุมชน การเป็นตัวแทนที่ประชุมระดับชาติของสภาองค์กรชุมชนตำบล คณะกรรมการธรรมาภิบาล สภาวัฒนธรรม และนิด้าสงขลากับอาเซียน สำหรับคนอื่นๆผมไม่รู้ว่าคิดอย่างไร แต่สำหรับผมแล้วนั้นเดียวก็จับมาเชื่อมกันหมด เชื่อมเพื่อสานงานให้แก่ชุมชนได้ประโยชน์สูงสุด ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ ถ้าไม่ผิดพลาดคงจะมีรูปธรรมให้เห็น
ท่านผู้อ่านและผู้ติดตามทุกท่านครับ ท่านจะเป็นใครตำแหน่งไหนก็แล้วแต่ แต่ความเป็นจริงท่านต้องกินต้องใช้ ต้องซื้อหาทั้งนั้น อะไรบ้างครับที่ท่านเป็นผู้ผลิตเองได้ อันที่จริงแล้วท่านทุกคนทำได้หากท่านจะทำ หรือ เลือกจะทำ ตามสิ่งที่ท่านถนัดและมีวิชาความรู้ในการกระทำนั้น แต่กรอบของเวลาที่เราๆมีเหมือนกันคือ ๒๔ ชั่วโมง จะมีคนที่เลือกทำสักกี่คน เพราะบ้างครั้งของใกล้ตัวท่านมีมูลค่ามหาศาลแต่ท่านมองข้ามมันไป ผมหวังใจอย่างยิ่งในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลและแผนผังชุมชน ว่าจะทำยุทธศาสตร์ร่วมระหว่างประชาชนกับภาครัฐ โดยเอาภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม จริตชุมชน และความต้องการแท้จริงของประชาชนในพื้นที่ สร้างให้เกิดสุขภาวะชุมชนที่ดีสุดๆให้จงได้ การแจ้งต่อชุมชนและทุกๆคนในชุมชนให้ทุกคนได้มีสิทธิเสมอภาคกัน เราจะร่วมกันเปลี่ยนคำว่ารากหญ้ามาเป็นพลเมือง โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง แต่การจะทำให้ถึงขั้นนั้นได้ทุกคนในชุมชนจะต้อง พออยู่ พอกิน พอใช้ พอเก็บ เหลือแจกจ่ายให้ทาน จะขายอะไรก็ไม่ว่ากัน เริ่มกันวันนี้ล่ะครับ   ชุมชนจะเข้มแข็งจากตัวของเขาเอง...สวัสดี