ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พระเจ้าแผ่นดิน

วันนี้ผมจะจดบันทึกว่า "การเมืองการปกครองของไทย" เลวมาก
เลวสิ้นดี เลวเพราะลืมตัวลืมตีน ไม่รู้จัก ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ
ทะเลาะกันแย่งกันเป็นใหญ่ บริหารประเทศล้มเหลวไม่พอ
เสือกไม่รู้ว่า "แผ่นดินนี้ มีพระเจ้าแผ่นดิน"


วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กสิกรรมธรรมชาติ ที่มาแห่งความพอเพียง





สองเดือนที่หายไปดูเหมือนไปทำอาชีพอื่นๆเสียแล้ว กับงานภาคประชาชนที่ปวงชนชาวไทยเป็นเจ้าของแผ่นดินนี้ วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของผู้ใหญ่สมศักดิ์  เครือวัลย์  แห่งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นโรงเรียนที่สอนให้รู้จักคุณค่าแห่งความพอเพียง
                ความพอเพียงที่มีอยู่ในทุกคนทุกตำแหน่งทุกสาขาอาชีพ “สิ่งแรกที่จะรู้จักกับความพอเพียง คือรู้จักตัวตนก่อน เมื่อรู้จักตนเองแล้ว ก็จะรู้ว่าตนเองควรจะพอแค่ไหน” สุดยอดแห่งคาถาบทหนึ่งที่ท่านผู้ใหญ่ให้มา  แต่ในความคิดผมและสิ่งที่ผมต้องการจากผู้ใหญ่สมศักดิ์ คือ “วิธีคิด และการปฏิบัติตนบนวิธีคิด” ก็ได้มาเยอะพอตัว และยังกังวลแทนผู้ใหญ่ในหลายๆเรื่องจนกลายเป็นสภาวะ “สาวก และยอมตายแทนได้”  มันฟังดูเหมือนละคร เหมือนลิเก ก็ไม่แปลก เพราะสิ่งที่ผู้ใหญ่สมศักดิ์ปฏิบัติคือ “การให้ความรู้ผู้อื่น”  สำหรับผมหากเป็นความรู้ที่ใช้ได้จริง ทำได้จริง มันคือสุดยอดแห่งวิชา ที่จะนำพาชีวิตทุกๆคนรอดตายเป็นลำดับแรก และต่อๆไปอยู่ที่ตัวตนจะนำไปปฏิบัติเอง
                ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สองสลึง จึงเหมือนบ้านผมหลังหนึ่ง ที่ผู้ใหญ่บอกว่า “เอกที่นี้คือบ้านเอกนะ” ความอบอุ่นในบ้านหลังนี้ ประกอบด้วย อ.ยงยุทธ์ อ.พัฒน์ อ.ตุ้ม อ.เม้ง อ.สมชาย อ.หยก อ.วัฒน์ อ.สมชาย อ.นพดล อ.เล็ก อ.พัธมน อ.แจ๊น อ.ซ่อนกลิ่น อ.อาร์  อ.หมอสุมล ลุงจ้วน  พี่ตั้ม พี่ธวัฒน์ชัย ไอ้ต๋อง น้องเดือน น้องลาย ป้าชื่น ลุงธง อ.สมนึก อาเปี้ยก ร้านค้าทุกร้าน ณ สองสลึง เพราะเราคือครอบครัวเดียวกัน และให้ไออุ่นผมเหมือนกัน  กลายเป็นชุมชนในฝันของผม นึกจะกินอะไร นึกไปเที่ยวไปนอนบ้านใครก็ได้ จึงเก็บเอาความฝันนั้นติดตัวมา ติดตัวมาว่า “เราคือครอบครัวเดียวกัน”



ความเป็นเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่เมื่อได้พบกับ มหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ทำให้รู้จักพี่น้องร่วมแผ่นดิน ที่ต้องการรักษาไว้ซึ่งชาติบ้านเมือง ภายใต้ดวงใจเดียวกัน คือ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์ของพระราชา  และวิธีฟื้นฟูต้นมะม่วงแห่งพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ที่ อ.เจริญวิทย์ นำมาเล่าให้ฟัง ได้พบกับ อ.ยักษ์ อ.เข้ม อ.เจริญ อ.ปัญญา ลุงดาบ หลวงพ่อสุวรรณ กำนันแมน ฯลฯ ที่กล่าวมาก็ไม่หมด แต่มีความรู้สึกที่ดีๆ ที่ได้พบกับผู้มีอุดมการณ์ดีๆ ตัวจริงเสียงจริงของบ้านเมืองในขณะนี้ ตัวจริงเสียงจริงที่เกิดจากใจของทุกๆคนบนแผ่นดินทำมาหากินบนแผ่นดินตนเอง
                โชคดีซ้ำสองที่พาครอบครัวและเพื่อนๆไปเที่ยวในศูนย์กสิกรรมต่างๆ ทำให้มีความสุขบนแผ่นพื้นแผ่นดินนี้ จนความสำนึกพื้นฐานของชาวสงขลาที่ว่า “เกิดมาต้องตอบแทนคุณแผ่นดิน” และเมื่อความพร้อมแห่งความพอ บวกกับ สำนึกรักในแผ่นดินเกิด ความรู้ที่ได้เรียนมา คุณธรรมที่ได้ถูกอบรมมา ก็นำมาใช้เริ่มจากตนเอง สู่ชุมชน สู่ตำบล สู่อำเภอ สู่จังหวัด สู่ประเทศ
                เช้าของวันที่ ๒๙ พ.ค. ๕๖ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติแปดสิบปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ผมเองก็พึ่งมาครั้งแรก แต่ก่อนขึ้นห้องประชุมในวาระข้อเสนอขององค์กรชุมชนต่อรัฐบาล ผมเห็นภาพจากพระราชนิพนธ์พระมหาชนก ที่เต็มรอบห้องประชุม มันเหมือนกับจะเตือนอะไรผมบ้างอย่างหรือป่าว เพราะกาลเวลา สถานการณ์ เหตุการณ์ในปัจจุบัน ตัวผมเอง และสถานที่ คงจะเหนือคำว่าบังเอิญแล้วกระมัง  และวาระในที่ประชุมกล่าวถึงการที่รัฐบาลไม่เห็นตัวตนของสภาองค์กรชุมชน
                กระผมนายชูชาติ  ธุระกิจจำนง ประธานสภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา ในฐานะของตัวแทนสภาองค์กรชุมชน เจ็ดจังหวัดใต้ล่าง วันนี้เราลืมอะไรไปหรือป่าว ก่อนเข้ามาห้องนี้ผมเห็นรูปในพระราชนิพนธ์พระมหาชนกอยู่รอบห้องประชุม วันนี้เรามีหนึ่งข้อในวิธีฟื้นฟูต้นมะม่วง เรามีเครือข่ายเราเป็นภาคี  เอากิ่งมาทาบกิ่ง คือการเชื่อมภาคี สุดท้ายงานนี้จะออกมาอย่างไร แต่ขอให้พวกเราได้มาเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้ที่จะเดินไปด้วยกัน ความรู้ที่เสมอและเท่าทันคือทางออกของประเทศในนามพวกเรา แล้วเราจะนำปวงชนชาวไทยกลับมา..... หนึ่งในศิษย์ของสองสลึง
แทนคำอวยพร ด้วยการเอาสิ่งที่ได้รับการอบรมมา นำมาปฏิบัติบูชาครับ ผู้ใหญ่ เคารพรักอย่างสูง
               

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถาบันครอบครัว





 อ.ยักษ์มาสงขลา มาให้งานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีสงขลา ซึ่งในรับทราบในวันเข้าร่วมประชุมคณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดสงขลา สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งมีหัวข้อของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาปรับใช้ แน่นอนครับจะได้พบ อ.ยักษ์ อีกครั้งในฐานะหลานศิษย์
ย้อนคิดไปถึงอดีตที่ตัดสินใจทิ้งเมืองหลวงทิ้งความสะดวกสบายทิ้งฐานะทางสังคม กลับมาทำสวนยางในแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สี่ปีเต็มๆกว่าจะสำเร็จจนถึงวันนี้ เทปรายการคนห่วงแผ่นดินของ อ.ยักษ์ ผมเปิดนั่งดู ตัดต่อบ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ผู้มาดูงานได้ดูกว่าร้อยๆเที่ยว มีประโยคที่จำขึ้นใจก็หลายๆคำ เช่น “ทำไปเถอะแม้คนอื่นๆไม่เข้าใจ ทำไปอย่าหยุด”  หากจำคาถาบทนี้ไม่ได้ผมเองก็ไม่มีวันนี้
บนเส้นทางเดินที่กลับมาใช้ชีวิตแบบชาวสวนก็สบายดีเพราะกลับมาตัดยางได้เลย ไม่ต้องปลูกเพราะทุนเดิมมีอยู่แล้ว ญาติพี่น้องแต่ละคนก็สำเร็จกันหมดแล้ว แต่ผมและครอบครัวมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ แน่นอนครับหลายๆคนก็คงจะอดคิดไม่ได้ว่าสงสัยไปไม่รอด เหตุเพราะกลับมาไม่ได้ตัดยางอย่างเดียวเหมือนที่คนอื่นๆทำและสำเร็จกันมาคือ ตัดยาง 4 วัน หยุด 1 วัน ทำอย่างนี้มาเป็นสิบๆปีจนสร้างบ้านซื้อรถ ฯลฯ เป็นความสำเร็จตามที่หลายๆคนคิด แต่แน่นอนความคิดคนต้องไปเหมือนกันเพราะพื้นฐานทางความคิดแตกต่างกัน
นอกจากตัดยางแล้วครอบครัวผมยังมีกิจกรรมอย่างอื่นๆอีกหลายอย่างเช่น ทำน้ำยาล้างจาน เผาถ่าน เลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด ทำปุ๋ย และปรับคุณภาพต้นยาง ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างก็ได้รับความรู้มาจาก ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง นี้ล่ะครับ จากผู้เข้ารับการอบรมจนมาเป็นวิทยากรกระบวนการของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง.โดยมี ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์และ อ.ยุงยุทธ์ เสมอมิตร  เป็นครู ครูที่สอนแบบจับมือทำ
การได้รับความยอมรับแรกๆก็แบบปากต่อปากในเรื่องของเปอร์เซ็นต์น้ำยางที่ปรับขึ้นมา จาก 29 เปอร์เซ็นต์ เป็น 45 เปอร์เซ็นต์และยืนระยะการคงเปอร์เซ็นต์ขณะตัดยางมากว่า 20 วัน ถึงกระนั้นเปอร์เซ็นต์น้ำยางก็ไม่เคยต่ำกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมาแม้ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ “การเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช”
นั้นคือความสำเร็จที่ยั่งยืนจริงๆ “ดินดีปลูกอะไรๆก็ขึ้น” คาถาอีกบทที่จำฝังใจ  หลังจากมีการบอกกันต่อๆไป ก็เริ่มมีคนสนใจมาดูงาน และเชิญไปเป็นวิทยากร ทำให้ได้สำผัสความรู้สึกนึกคิดของชาวสวนจริงๆ  นั้นก็คือ “ตัดยางอย่างเดียวก็พอได้กินแล้ว” แม้ผมจะพยายามจะบอกถึงการทำอาชีพเสริมไว้บ้าง แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจึงขอปฏิเสธการไปเป็นวิทยากรแบบบรรยายอย่างเดียว
และหนึ่งในปัญหาของชาวบ้านก็คือสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และไม่สามารถเข้าถึงการหนุนเสริมของภาครัฐ การถูกละเมิดสิทธิ ฯลฯ ที่ไม่มีใครลุกขึ้นมาทวงสิทธิของชุมชนคืนเป็นปัญหาหนึ่งที่ชาวบ้านไม่อยากจะทำให้ที่แตกต่างมากนัก อีกประการหนึ่งคือการใช้วิธีแจกของให้ของ เช่น ปลาดุก ไก่ กากน้ำตาล ฯลฯ แล้วอ้างว่าทำเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่ให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย บ้างครั้ง ปลาดุ ไก่ ก็ต้องมาตายเปล่าๆต่อหน้าต่อหน้า ของคนที่ใส่เสื้อ “คืนชีวิตให้แผ่นดิน”
สถาบันครอบครัวไม่มีความมั่นคงโดยรวม มันทนไม่ไหวก็ต้องลุกขึ้นมาสู้ สู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับ แม้หลายคนกำลังต่อสู้เพื่อบ้านเมือง สู้ต่อภัยพิบัติ แต่ตัวผมเองจะขอสู้สู้ในชุมชน สร้างชุมชนที่น่าอยู่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ การได้รับฉันทามติของชาวบ้านและชาวเมือง ในอีกบทบาทหน้าที่ หน้าที่ที่มาจากการประยุกต์ใช้ ความรู้ คู่คุณธรรม บนพื้นฐานการปฏิบัติ “พออยู่พอกิน พอใช้ เหลือเก็บแจกจ่ายให้ทาน จะขายก็ไม่ได้ว่า” 
และเมื่อ อ.ยักษ์ ได้มาให้ความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ท่านได้พร่ำอบรมสั่งสอนลูกศิษย์กว่าสามแสนคนบนพื้นแผ่นดินไทย ผมในฐานะหลานศิษย์ก็จะได้นำเอาความรู้นั้นมาเพื่อขีดเขียนไว้บนแผ่นดิน แทนการเข้าร่วมแสดงมุทิตาจิตรที่จัดขึ้น ในวันที่ 15 – 17 มีนาคม ของทุกๆปี ณ มหา ลัย คอกหมู มาบเอื้อง จ .ชลบุรี