ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถาบันครอบครัว





 อ.ยักษ์มาสงขลา มาให้งานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีสงขลา ซึ่งในรับทราบในวันเข้าร่วมประชุมคณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดสงขลา สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งมีหัวข้อของการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงมาปรับใช้ แน่นอนครับจะได้พบ อ.ยักษ์ อีกครั้งในฐานะหลานศิษย์
ย้อนคิดไปถึงอดีตที่ตัดสินใจทิ้งเมืองหลวงทิ้งความสะดวกสบายทิ้งฐานะทางสังคม กลับมาทำสวนยางในแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สี่ปีเต็มๆกว่าจะสำเร็จจนถึงวันนี้ เทปรายการคนห่วงแผ่นดินของ อ.ยักษ์ ผมเปิดนั่งดู ตัดต่อบ้างเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ผู้มาดูงานได้ดูกว่าร้อยๆเที่ยว มีประโยคที่จำขึ้นใจก็หลายๆคำ เช่น “ทำไปเถอะแม้คนอื่นๆไม่เข้าใจ ทำไปอย่าหยุด”  หากจำคาถาบทนี้ไม่ได้ผมเองก็ไม่มีวันนี้
บนเส้นทางเดินที่กลับมาใช้ชีวิตแบบชาวสวนก็สบายดีเพราะกลับมาตัดยางได้เลย ไม่ต้องปลูกเพราะทุนเดิมมีอยู่แล้ว ญาติพี่น้องแต่ละคนก็สำเร็จกันหมดแล้ว แต่ผมและครอบครัวมาเริ่มนับหนึ่งใหม่ แน่นอนครับหลายๆคนก็คงจะอดคิดไม่ได้ว่าสงสัยไปไม่รอด เหตุเพราะกลับมาไม่ได้ตัดยางอย่างเดียวเหมือนที่คนอื่นๆทำและสำเร็จกันมาคือ ตัดยาง 4 วัน หยุด 1 วัน ทำอย่างนี้มาเป็นสิบๆปีจนสร้างบ้านซื้อรถ ฯลฯ เป็นความสำเร็จตามที่หลายๆคนคิด แต่แน่นอนความคิดคนต้องไปเหมือนกันเพราะพื้นฐานทางความคิดแตกต่างกัน
นอกจากตัดยางแล้วครอบครัวผมยังมีกิจกรรมอย่างอื่นๆอีกหลายอย่างเช่น ทำน้ำยาล้างจาน เผาถ่าน เลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด ทำปุ๋ย และปรับคุณภาพต้นยาง ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างก็ได้รับความรู้มาจาก ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง นี้ล่ะครับ จากผู้เข้ารับการอบรมจนมาเป็นวิทยากรกระบวนการของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง.โดยมี ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์และ อ.ยุงยุทธ์ เสมอมิตร  เป็นครู ครูที่สอนแบบจับมือทำ
การได้รับความยอมรับแรกๆก็แบบปากต่อปากในเรื่องของเปอร์เซ็นต์น้ำยางที่ปรับขึ้นมา จาก 29 เปอร์เซ็นต์ เป็น 45 เปอร์เซ็นต์และยืนระยะการคงเปอร์เซ็นต์ขณะตัดยางมากว่า 20 วัน ถึงกระนั้นเปอร์เซ็นต์น้ำยางก็ไม่เคยต่ำกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ตลอดระยะ 3 ปีที่ผ่านมาแม้ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะ “การเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช”
นั้นคือความสำเร็จที่ยั่งยืนจริงๆ “ดินดีปลูกอะไรๆก็ขึ้น” คาถาอีกบทที่จำฝังใจ  หลังจากมีการบอกกันต่อๆไป ก็เริ่มมีคนสนใจมาดูงาน และเชิญไปเป็นวิทยากร ทำให้ได้สำผัสความรู้สึกนึกคิดของชาวสวนจริงๆ  นั้นก็คือ “ตัดยางอย่างเดียวก็พอได้กินแล้ว” แม้ผมจะพยายามจะบอกถึงการทำอาชีพเสริมไว้บ้าง แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจึงขอปฏิเสธการไปเป็นวิทยากรแบบบรรยายอย่างเดียว
และหนึ่งในปัญหาของชาวบ้านก็คือสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และไม่สามารถเข้าถึงการหนุนเสริมของภาครัฐ การถูกละเมิดสิทธิ ฯลฯ ที่ไม่มีใครลุกขึ้นมาทวงสิทธิของชุมชนคืนเป็นปัญหาหนึ่งที่ชาวบ้านไม่อยากจะทำให้ที่แตกต่างมากนัก อีกประการหนึ่งคือการใช้วิธีแจกของให้ของ เช่น ปลาดุก ไก่ กากน้ำตาล ฯลฯ แล้วอ้างว่าทำเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่ให้ความรู้ควบคู่ไปด้วย บ้างครั้ง ปลาดุ ไก่ ก็ต้องมาตายเปล่าๆต่อหน้าต่อหน้า ของคนที่ใส่เสื้อ “คืนชีวิตให้แผ่นดิน”
สถาบันครอบครัวไม่มีความมั่นคงโดยรวม มันทนไม่ไหวก็ต้องลุกขึ้นมาสู้ สู้เพื่อสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้รับ แม้หลายคนกำลังต่อสู้เพื่อบ้านเมือง สู้ต่อภัยพิบัติ แต่ตัวผมเองจะขอสู้สู้ในชุมชน สร้างชุมชนที่น่าอยู่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ การได้รับฉันทามติของชาวบ้านและชาวเมือง ในอีกบทบาทหน้าที่ หน้าที่ที่มาจากการประยุกต์ใช้ ความรู้ คู่คุณธรรม บนพื้นฐานการปฏิบัติ “พออยู่พอกิน พอใช้ เหลือเก็บแจกจ่ายให้ทาน จะขายก็ไม่ได้ว่า” 
และเมื่อ อ.ยักษ์ ได้มาให้ความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ท่านได้พร่ำอบรมสั่งสอนลูกศิษย์กว่าสามแสนคนบนพื้นแผ่นดินไทย ผมในฐานะหลานศิษย์ก็จะได้นำเอาความรู้นั้นมาเพื่อขีดเขียนไว้บนแผ่นดิน แทนการเข้าร่วมแสดงมุทิตาจิตรที่จัดขึ้น ในวันที่ 15 – 17 มีนาคม ของทุกๆปี ณ มหา ลัย คอกหมู มาบเอื้อง จ .ชลบุรี