ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฝนแปดแดดสี่

ก็เป็นที่น่ายินดีกับชาวสวนยางที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้หลายคนกำลังมีความสุขจากราคายางที่กระโดดขึ้นมา ๑๓๐ บาท/กิโล และคาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ในระดับ ๑๐๐ บาท ไปอีกระยะหนึ่ง ก็ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับผลกระทบในคราวนี้ด้วย มันเป็นเรื่องที่ไม่อยากจะให้เกิดกับใครๆอยู่แล้ว แต่ผู้ที่ตัดยางได้อยู่ในขณะนี้ก็เหมือนมีกรรมติดอยู่เหมือนกันเพราะฝนตกหนัก และบ่อยขึ้นมากและมีพายุเข้ามาต่อเนื่องอีก มีสวนยางแต่ก็ใช่ว่าจะตัดได้อย่างใจคิด


ฝนแปดแดดสี่ จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมืองฝนแปดแดดสี่ แต่ก็หลายๆคนได้ขยายพื้นที่ของคำนี้หมายถึงภาคใต้ไปเลย ว่า ภาคใต้มีลักษณะแบบฝนแปดแดดสี่ ซึ่งก็มีส่วนจริงเพราะอณาเขตติดกันประกอบกับอยู่ในเขตมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จึงมีฝนมากเป็นพิเศษ

มีเอกสารอ้างอิงของคำว่าเมืองฝนแปดแดดสี่มีดังนี้ “ในความหมายของฝน 8 แดด 4 ต้องไปดูบันทึกการเดินเรือของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ที่เดินทางมาหาหมู่เกาะเครื่องเทศ ช่วง พ.ศ.2014-2030 จนได้พบเกาะหนึ่งที่นั่นเรียกว่า เมือง ฝน 8 แดด 4 นั่นคือเกาะสุมาตรา(ชวา) อินโดนิเชีย บริเวณที่ตั้งของ บุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ(สร้างเมื่อ พ.ศ.1293-1393) ตรงนั้นแหละที่เรียกว่า เมืองฝน 8 แดด 4 จริงๆบรมพุทโธเป็นพุทธสถานที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นพุทธสถานที่อยู่ไกลที่สุด โดดเดียวที่สุดด้วยหลังจากที่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางออกจากเกาะสุมาตรา(ชวา)ก็ได้นำคำนี้ออกไปเรียกสถานที่มี 2 ฤดู ว่า ฝน 8 แดด 4

ที่เกาะสุมาตรา(ชวา)ยังเป็นที่ตั้งของศาสนสถานของฮินดูที่ใหญ่ที่สุดอีกอย่างคือพรัมบานันแปลกไหมที่ พุทธสถานของพุทธและฮินดูที่ใหญ่ทีสุด กลับไปอยู่ที่อินโด”ค่ะก็หามาฝากกัน

แล้วเกี่ยวอะไรกับพวกเราชาวสวนยาง? วันก่อนพี่เอกไปลงตระไคร้ไว้สัก ยี่สิบกอเห็นจะได้ แถม มีข่า มีมะนาว กระเพา ฯลฯ และไปถากหญ้าที่ควนบอกเอาหญ้าแฝกมาลงอีก ฝนตกเกือบทุกวันแต่แกก็มีงานทำอยู่เรื่อยๆ ฝนตกหนักก็อยู่บ้านเผาถ่าน ฝนตกปลอยๆก็ไปตัดหญ้า ฝนไม่ตกเลยก็ตัดยาง เคยถามว่าไม่เหนื่อยเหรอ แกก็ตอบว่าสนุกดี แต่ที่จริงคงมีความสุขจากผลงานตัวเองมากกว่าเพราะเปอร์เซ็นต์น้ำยางที่๔๐ กว่า แม้จะได้แค่วันละ ๑๐ กิโล ก็ยิ้มๆได้เหมือนกัน กับขี้ยางที่แกเก็บของแกทุกวันวันละ ๒ถึง๓ กิโล เพราะแกบอกว่าต่อไปนี้จะไม่ให้เหลือติดถ้วยไว้อีก ก็พวกเก็บขี้ยางเวลาไปเก็บของคนอื่นแล้วบางทีเอาถ้วยไปเลย บางทีเอาถังเก็บน้ำยางไปด้วย เอาขี้ยางไปหลายครั้งแล้วก็ไม่ว่าแต่เอาอุปกรณ์ที่ต้องใช้ไปด้วยก็อย่าเอาอะไรไปเลย แกว่าแบบอารมณ์เสียๆ ว่าแล้วแกก็ไปที่ถังน้ำหมักตักเสร็จก็ขึ้นควนไปเลย

กลับมาสู่เรื่องฝนแปดแดดสี่ วันนี้ต้องยอมรับค่ะว่าแม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่รายจ่ายก็เพิ่มตามมาด้วย กะทิสดตอนนี้ราคาอยู่ที่ กิโลละ ๕๐ บาท จาก ๓๕ บาท อะไรๆ ก็ขึ้นตามไปด้วย แต่ก็ทำใจได้มันเป็นเรื่องของดีมานซับพาย แต่เรื่องของเจ้าตัวเล็ก เรื่องใหญ่คือขนมนมเนย ที่ราคาในปัจจุบันมันแพงลิบรับ โดยเฉพาะขนมนอกสัญชาติไทยพวกเครบ เพนเค้ก ฯลฯ ที่สรรหากันมาล่อตาล่อใจเด็ก น้ำอะไรต่อมิอะไร สนนราคาที่๒๐ บาทขึ้นไปทั้งนั้น การเห็นประโยชน์จากรายได้ของตนเองจนทำให้ขนมไทยต้องตายไปทีละอย่างๆ การกลืนชาติทำไมต้องปลูกฝังให้เด็กโดยที่ไม่รู้ตัว

วันนี้สมิหลาพอเพียงกลุ่มทุ่งขมิ้นได้คุยกันเรื่องนี้เหมือนกัน จึงริเริ่มจากการฟื้นฟูขนมง่ายๆ อร่อยๆ กินเพลินๆ ให้รูปบรรยายถึงความ กรอบอร่อยก็แล้วกัน





พี่หนูเอิดประกันความกรอบอร่อย
แม้จะดูว่าเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่หากฝนมากกว่าแปด แดดมากว่าสี่ แต่ความต้องการของคนเก่งของเราก็ก็ยังมีความต้องการอยู่ดี มันอยู่ที่เราจะให้ความต้องการของลูก เป็นดีมานซับพายหรือป่าว เศรษฐกิจพอเพียงนี้ยังสามารถขยายผลสู่การผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ และสุดท้ายจะนำไปขายก็ได้ซึ่งความหมายของเศรษฐกิจ คือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค แต่มันก็ยังมีคำว่าพอเพียงอยู่ ซึ่งถ้าเราจัดให้เหมาะสมกับตนเองแล้ว ก็จะส่งผลให้ตนเองครอบครัวชุมชนตลอดจนประเทศชาติได้ต่อไป

วันนี้พี่เอกกับผู้ช่วยมือใหม่กำลังช่วยกันทำงานอย่างสนุกสนานทั้งสองคน










ถ่านกะลา ถ่านไร้ควัน ถ่านบริสุทธิ์ ถ่านกัมมันต์ เห็นพี่เอกแกทดลองทำอยู่ทุกวันที่ฝนตกเพราะไปไหนไม่ได้ แต่ไม่สนใจตรงนั้นมากนัก สิ่งที่เป็นปลื้มมากกว่าคือลูกเรารู้จักตาชั่ง รู้จักศัพท์ใหม่ๆ เรียกชื่อสิ่งของได้แม่นย้ำ รู้จักกับธรรมชาติ เห็นพี่เอกจัดการกับความวุ่นวายของยายตัวเล็ก ให้เป็นความร่วมมือกันทำงานได้อย่างลงตัว มันเป็นความรู้สึกลึกที่กล่าวออกมาไม่ได้   ความรู้สึกที่ดี ที่เพียงพอ แบบพอเพียง

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อีก 50 ปีโลกจะแตก

วันนี้ไม่พูดนำใดๆ น่ะค่ะ เอาถ่านกะลามะพร้าวบรรจุถุงที่เค้าสั่งซื้อเข้ามา กว่า ๒๐๐ กิโลก็เหนื่อยแล้ว แต่พี่เอกไม่รู้ไปเอาแรงบวกมาจากไหน เผาทั้งวัน จากสองเตาเป็นสี่เตา อยู่ๆ แกก็เล่นเน็ตแล้วออกมาโวยวายเล็กๆ เลยยกเวทีให้แกเลยดีกว่า เบื่อจริงๆ แต่เข้าใจสิ่งที่แกทำอยู่


พี่เอก เรื่องโลกแตกตามที่สื่อต่างๆลงจนเป็นที่สนใจมันมากของวันนี้ มันเป็นเรื่องดีน่ะที่ออกมาเตือนกันถึงเรื่องราวอีก ๕๐ ปี เพราะวันนั้นคนนี้จะอยู่หรือไม่เดายาก แต่ “ลูกหลานไทย มรดกไทย ภูมิปัญญาไทย ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้จะคงอยู่ได้หรือ เอกราช ความเป็นไท จะเหลือให้ใครฟัง”


ไม่แปลกเลยสำหรับเรื่องโลกแตกทำใจมานานแล้ว แต่ก็แอบดีใจเล็กๆน้อย ที่เกษตรกรส่วนหนึ่งไม่ต้องทิ้งภาระให้ลูกหลานต้องรับผิดชอบ ในหนี้ที่ลูกหลานเป็นคนกระทำให้ได้มาเพื่อคำว่า “ได้เหล่ารียน” บนภาระที่ต้องขาดทุนจากหลายปัจจัยในการผลิตสินค้าของภาคเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารเริ่ม อาหารเร่ง ฯลฯ ที่ภาคเกษตรต้องทนรับภาระนี้ไว้ เพื่อได้มาซึ่งเงินตราในการลงทุนในแต่ละครั้ง แล้วก็ขาดขาดทุนทุกครั้ง มีบ้างที่ได้กำไร นิดหน่อย แต่ผู้ที่ได้กำไรมากกว่าเป็นใครก็ลองคิดดูน่ะครับ  ผมอ่านข่าวแล้วก็ขอใช้คำว่าวิพากย์น่ะ (จริงๆคำนี้ต้องขอกราบเท้าอาจารย์ยงยุทธ์ เสมอมิตร) ผู้ที่ให้คำจำกัดความนี้ เรื่องคำว่า วิพากย์ กับ วิจารณ์ ประเด็นคือว่า วิพากย์ คือแจงให้รู้ให้เข้าใจ แต่ วิจารณ์ ต้องใช้ความละเอียดทีถูกต้องชัดเจน ผมเองก็ไม่รู้จริงหรอกครับเรื่องคำพูด เพราะทุกวันนี้ใช้กันหลายภาษา แต่เป็นแค่คำกริยา ของภาษานั้นๆ ก็เท่านั้นเอง ชิมิ ชิมิ เข้าเรื่องดีกว่า เรื่องของปัญหาโลกแตก ตามหัวข้อ ดีครับที่นำสถิติมาเพื่อให้นึกได้ เห็นได้ ว่ามันเกิดขึ้นจริง แต่ถามกลับว่า แล้วคนที่คิดเรื่องนี้ ทำเรื่องนี้ กำลังทำ กำลังปกป้อง ป้องกัน เรื่องนี้ มาบอกมาเล่า มาแสดง ทำใม?ไม่ออกมาคู่กัน เช่นถ้าเกิดขึ้นจริงแก้กันอย่างไร


ในสื่อที่กล่าวมาอ้างถึงหนังฮอลีวูดในเรื่องโลกแตกใช้คำว่ากรอกหู ผมไม่ว่าหรอกครับ แต่อยากให้เจาะจงว่าเรื่องไหนเป็นอย่างไร ไม่ได้อิงฝรั่งมังค่า แต่ต้องดูหัวใจให้เจอะ ว่าในหนังแต่ละเรื่องมันมีคติสอนอยู่ เรื่องความรัก ความเหลวแหลกของครอบครัวทำให้พ่อต้องเลี้ยงลูกสาว แต่โลกจะแตก แล้วต้องช่วยโลกไว้ก่อน ก็ต้องไปดูอามาแกดอน เรื่องมิตรภาพ สัมพันธภาพต้องไปดูอวตาล เรื่องผู้นำประเทศ ศิลธรรมต้องดู สึนามิ ฯลฯ วันนี้เรายังไม่มองประเด็นเดียวกันเลย จุดศูนย์กลางแห่งความคิดสู่ทางสว่างอยู่ที่ไหน หรือต้องรอให้ซุปเปอร์แมน มดเอ็กซ์ มนุษญ์คางคาว หนุมาน หงอคง อินทรีย์แดง มาช่วยนั้นหรือโลกเราถึงรอด


ทำไม๊ ทำใม เราไม่พึ่งพาตนเอง ??? อันที่จริงมีคนมากมายได้เสนอแนวความคิดดีๆ ไปแล้ว แสดงสถิติไปแล้ว ไม่ว่าเรื่อง โลกห้าใบ ของพี่พงษ์สา ชูแนม ภูภาสู่มหานที หยุดวิกฤติโลกร้อน ของเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ ฯลฯ ใครเป็นผู้เสนอผลงานในเชิงสถิติกันบ้าง หรือ แค่มีกิจกรรมที แสดงกันที แล้วจบไป (อันนี้หมายถึงสื่อต่างๆ) คำว่ายั่งยืนที่เรียกหากันมันอยู่ตรงไหน ใครตอบได้ช่วยตอบที แต่วันนี้ จนถึง อีก ๕๐ ปี ที่มีแรงอยู่จะรีบสร้าง เสริม ทะนุ บำรุง รักษา ดำรงค์ คงไว้ ให้สมกับชื่อชูชาติ ที่พ่อ ชูเกียรติ ตั้งไว้ให้ และเพื่อเป็นอนาคตของ ชญาธิดา ลูกสาว และลูกหลานชาติไทยเชื้อหน่อไทย ได้สืบทอดต่อไป ดีที่มีการเตือน ปลุกให้ตื่น ดีที่มีการประโคมข่าวให้ระวัง โดยใช้โอกาสที่หลายคนกำลังตื่นกลัว บ้างคนตั้งตัวได้จากภัยที่เกิดขึ้น บางคนสิ้นเนื้อประดาตัว บางคน สูญเสียที่พึ่ง บางคนมีน้ำตา บางคนมีรอยยิ้ม มันไม่ใช่สิ่งที่ผมเห็นจากโรงภาพยนต์ เพราะผมดูซีดี หลังคนอื่นๆตลอดๆ เรื่องสุดท้ายที่เข้าโรงหนังคือ พระนเรศวร๒ ในความเป็นจริงแค่อุทกภัยที่สงขลา และหาดใหญ่ น้ำใจ และความร่วมมือยังมีอยู่ แต่ขาดผู้จัดการเท่านั้นเอง เริ่มมองหากันเกิดครับ อย่ารออีกห้าสิบปีเลย ผู้จัดการที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตทุกคนใกล้ตัวแค่นี้เอง ลองถามเงาในกระจกดูซิครับ ว่าเป็นใคร ขอแค่พึ่งคนที่คุณเห็นในกระจก แค่หนึ่งในสี่ก็พอ
ต่อมาคือ หลายคนหลายความคิด หลายคนหลายจิตใจ แต่ที่ตั้งคำถามต่อไปว่าชีวิตหนึ่งเกิดมาเพื่ออะไร คำตอบก็คือ ก็มีหลายๆอย่างแล้วแต่ละคนจะเลือกเป็น บ้างคนเกิดมาเพื่อกอบโกย บ้างคนเกิดมาเพื่อคนอื่น แต่อะไรคือจุดกลางล่ะครับ ไปงานศพ ๓ งาน ในเวลา ๒ วัน มันเห็นแค่จุดจบของชีวิตคนๆหนึ่งเท่านั้นเอง ก็ต้องใช้เวทีตรงนี้น่ะครับ พื้นที่เล็กๆ บนโลกกว้างขว้างของอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่เป็นผู้รู้ แค่เป็นคนที่มีความรู้สึกอยู่บ้างก็เท่านั้นเอง

การเป็นคนทำสื่อมันยากกว่าที่คิด เพราะภาพที่เห็นความจริงที่ปรากฎ มันยากมากที่จะออกมาเป็นสื่อ เพื่อสื่อให้คนเห็นอย่างเรา มันจริงเสมอสำหรับคำพูดว่า “ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่ คนพูดความจริงตายก่อนเสมอๆ” สุดท้ายจะได้อะไร ก็มีแค่ประโยคสดุดีที่หน้าศพตอนท้ายว่า “ความดี ความชั่ว ประดับไว้ในโลกา” (มันเป็นกลอน ที่หมายถึง วัวควายตายแล้วเหลือหนังเขา แล้วคนเราเผา จะเหลืออะไรนอกจากความดีชั่ว) ก็จำไม่ได้ทั่งหมด แต่ผู้อ่านหลายๆท่านคงได้ยิน
วันนี้ไปมาอีกงานพระเทศนาดี ฟังง่ายเข้าใจ เรื่องการปฎิบัติตนของตน ในฐานะเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก สรุปคือ เป็นให้เป็นของอ.ยงยุทธ์ เสมอมิตร มันคล้ายๆกัน แต่ที่นึกขึ้นได้คือ อ.ยงยุทธ์ เสมอมิตร ได้กล่าวถึง ท่านพุทธทาสว่า “ธรรมะไม่กลับมาโลกาจะวินาศ” ประเด็นนี้เลยต้องมาคุยกันต่อ ว่า เกี่ยวอะไร กับ ๕๐ ปีโลกจะแตกจะวินาศ ก็ยกประโยคแสรงว่า “ดีชั่วรู้หมดแต่อดไม่ได้” คือทุกวันนี้วิกฤติต่างๆ มันเตือน มันแสดงให้เห็น ไม่รู้กี่เรื่องกี่ราวแล้ว แต่เราไม่สนใจ ยังลงมือลงไม้กับโลกนี้ประเทศนี้อย่างไม่บันยะบันยั้ง การใช้ทรัพยากรโดยไม่สนใจ การไม่เปิดใจเชื่อฟังในการถนอมทรัพยากรธรรมชาติ ไปค้นคว้าแต่ต่างโลกต่างดาว จนพวกต่างด้าวเต็มบ้านเต็มเมือง เพราะเรามองไปข้างหน้าอย่างเดียว โรงงานมีแรงงานแต่แรงงานต่างด้าวคนไทยไม่มีงานทำ จ้างต่ำกว่าวุฒิของระบบทุนนิยม ไม่มีงาน ไม่มีเงิน มีที่ดินแต่ทำกินไม่เป็น ตะไคร้ ๓ ต้นห้าบาท มะนาวลูกละ ๓ บาทกันแล้ว ยังยิ้มกันได้อยู่อีก มองอย่างไม่เข้าใจ ไม่เข้าถึง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่าพูดถึงการพัฒนาเลย เพราะแค่ไม่เข้าใจที่เป็นกะดุมเม็ดแรกยังผิดอยู่ เข้าใจหมายถึงอะไร หมายถึงว่า “ก็มันเป็นเช่นนั้นเอง” ประโยคนี้หรือที่ทถูกต้อง? หรือ เข้าใจหมายถึง “เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา”เช่น “เป็นข้า ข้าก็ต้องทำอย่างนั้น” ผมไม่ได้ต้องการชี้นำไปในทางใดๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การน่าเชื่อถือข้อความที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ ผมใช้คำว่าสามัญสำนึกจะดีกว่า เพราะการออกมาแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะชนต้องประกาศให้ชัดไปเลยว่าตัวตนคิดอย่างไร สื่อต้องเป็นกลาง แต่คำว่าเป็นกลางนี่แหล่ะครับยังหากันไม่เจอะของจริง แม้มันเกิดมาตั้ง ณ ปัจจุบัน ๒๕๕๓ ปี มัชฌิมาปฏิปทา ยังหากันไม่เจอะ ไม่เจอะเพราะเป็นคำพระเป็นบาลี ทุกวันนี้เลยปฏิบัติตนแบบเลี่ยงบาลีกันเยอะที่จริงแล้วทางสายกลางที่เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มันอยู่ใกล้ตัวนี้เอง แต่เรามองข้ามไป ใช้พื้นที่แห่งนี้ก็ต้องอ้างถึงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่ขอแสดงความคิดเห็น แสดงภาพที่เราเห็นกันทุกวัน ว่าทำใม “ทางสายกลาง” จึงอยู่เหนือกรอบทั้งหมด ซึ่งผมเห็นและอ่านประโยคนี้เป็นประโยคแรกก่อนที่จะอ่านประโยคอื่นๆต่อไป

ผมไม่สามารถจะชี้ประเด็นใดๆลงลึกกว่านี้ได้ เพราะคุณวุฒิวัยวุฒิ ยังด้อยอยู่ แต่ยังคอยดู เฝ้าคอย รอคอย ผู้มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ จะทำสิ่งนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ถ้าวันนี้ยังบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ จะพูดเรื่อง หิริโอตัปปะ แต่สึกแล้ว ก็ไม่พูด เพราะพูดไปคนมีอายุมากกว่าจะตำหนิเอา ว่ารู้มาก แก่แดด ทำท่าว การทำให้ผู้หลักผู้ใหญ่ตำหนิ ไม่สบายใจ มันเป็นความหน้าละอายต่อปาป จนเกิดความสะดุ้งกลัวต่อปาป ผมเลยไม่ลงลึกถึงความหมายของประโยคนี้ให้มากความ เลยขอพูดให้พอประมาณ พอเห็นภาพ พอนึกกันได้ เหตุผลที่ต้องพูดบ้างเพราะมันเป็นสัจธรรมเป็นความจริง ถึงแม้เป็นข้อคิดเห็นแต่ก็ได้จากธรรมะที่ทุกคนก็ทราบกันดี ซึ่งถ้าทุกคนลองประยุกต์ใช้ให้ทุกต้องแล้ว ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จะต้องสมดุล มั้งคั่ง และยั่งยื่น แน่นอน


แต่การไม่รู้จักปาปบุญคุณโทษไม่ไช่หรือ ที่ทำให้คนละเมิดกันเอง ละเมิดต่อธรรมชาติ เพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่ตน แล้วเป็นอย่างไร เมื่อธรรมชาติทวงคืน ยังพอมีเวลาครับตามที่ข่าวเล่ามา ผมไม่พูดประเด็นว่า เวลาที่ผ่านมาจากสถิติว่า วันนั้น วันนี้ เกิดพายุ เกิดน้ำท่วม เกิดดินถล่ม แต่อย่างใด แต่ผมขอแสดงความเป็นจริงว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้แนวทางไว้เมื่อ ๓๖ ปีมาแล้ว ถ้าวันนั้นทุกคนได้น้อมนำมาปฏิบัติ วันนี้ประเทศหรือโลกเราจะเป็นอย่างไร หรือจะต้องรออีก ๕๐ สิบปี ที่พวกเราจะมีโอกาสได้เริ่มลงมือกันในวาระสุดท้ายของพวกเรา แล้วใครจะเป็นคนอ่านสดุดีในโอกาสสุดท้ายของพวกเรา
ในนามมนุษชาติเพื่อให้ธรรมชาติฟัง
แล้วในคำสดุดีที่เรามีต่อธรรมชาติ มันคืออะไร

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ก้าวแรกของชุมชน

วันก่อนไปตลาดตอนเย็นมีน้าคนหนึ่งเข้ามาถามว่า "น้องเอกอยู่บ้านไหม?" ก็งงๆอยู่คุ้นๆหน้าแต่จำชื่อไม่ได้ ก็บอกไปว่าไม่อยู่ไปธุระที่สงขลา สองสามวัน แกก็บอกว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวไปที่บ้านเอง จะไปดูหมูหลุมหน่อย ก็ทำให้รู้ว่าแกจะถามถึงพี่เอกทำไม ก็ดีน่ะค่ะทำให้อุ่นใจเหมือนไปตลาดเจอะคนโน่นคนนี้ก็ทักทายกันมากขึ้นรู้จักกันมากขึ้น พี่เอกกลับมาเลยถามว่าทำไมคนเริ่มสนใจกับสิ่งที่ทำมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นหมูหลุมหรือเผาถ่านก็ดี
พี่เอกตอบ มันเป็นก้าวแรกของชุมชนของพวกเรา ที่จริงแล้วคนในชุมชนของเราก็มีความรู้หลากหลายเพียงแต่ไม่มีโอกาสได้คุยกัน มันไม่มีเจ้าภาพ เรามีผู้มีความรู้ในแต่และด้านเพียงแต่เราขาดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนชุมชนของเราเอง แต่เราโชคดีเพราะทางภาครัฐโดยทางพัฒนาชุมชนอำเภอนาหม่อม ได้มอบสิ่งที่ล้ำค่าให้กับชุมชนพร้อมด้วยภาคองค์กรส่วนท้องถิ่นคือเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่มาตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้ชุมชนอีก และพวกเราเองภาคประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดไตรภาคีขึ้น คือ รัฐ องค์กร ประชาชน แต่ตอนนี้มี ๕ แล้วที่จริง เป็น เบญจภาคีแล้ว เพราะ มีเอกชนกับ วัดหรือโรงเรียนเข้าร่วมด้วยแล้ว คิดว่าต้นเดือนพฤศจิกายน ๕๓ นี้ ชุมชนทุ่งขมิ้นและได้รับการพัฒนาโดยเบญจภาคีโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง
วิภา....ทำไมฟังดูง่ายจัง?
พี่เอก... เพราะว่ากระดุมเม็ดแรกเราถูก เม็ดต่อๆมาก็จะถูกตามไปด้วย มันเลยดูว่าง่าย แต่ง่ายเพราะหลายๆคนที่เป็นแกนนำก็ได้รับการอบรมมาจากที่เดียวกัน คือ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ แบ่งเป็นสี่ศูนย์ใหญ่ๆ คือ  ๑.ศูนย์มาบเอื้อง ๒.ศูนย์วัดป่ายาง ๓.ศูนย์เพลิน ๔.ศูนย์สองสลึง
และมีกลุ่มของเครือข่ายเกษตรทางเลือก และหมอเขียว เพราะฉนั้นคนที่ได้ผ่านการอบรมมาล้วนมีความรู้ด้วยกันทั้งสิ้น ต่อมา เราทรัพยากรเหมือนกัน ปัญหาโดยรวมเหมือนกัน แต่วิธีการแก้ต่างกัน เพราะมีความถนัดต่างกัน ในฐานะได้รับมติจากชุมชนให้เป็นผู้ประสานงานก็ต้องทำหน้าที่ให้เป็น ในเดือนนี้จะเห็นอะไรที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเพราะมติในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เราร่วมกันเป็นการปฏิบัติบูชา ทั้งนี้ได้รับความสนใจแก่ภาคเอกชนไปบ้างแล้วและมีผู้ร่วมสนับสนุนจาก ร้านคราวน์เบเกอรี่ อีกหนึ่งของเอกชนที่สนับสนุนกิจกรรมดีๆทางสังคม และอีกหลายๆท่านที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ แต่ก่อนจะเดินไปข้างหน้าจงหยุดเหลียวมองข้างหลังก่อนว่าทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้างในชุมชน
๑.การทำความเข้าใจที่ตรงกันในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
๒.ความสำเร็จในการร่วมกลุ่มย่อยในการเลี้ยงไก่ และปลาดุก ที่ได้รับหมอบจากทางราชการ(โครงการสมิหลาพอเพียง)
๓.การร่วมกลุ่มทำน้ำยาเอนกประสงค์ที่ใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน
๔.การร่วมผู้ที่มีความสำเร็จในชุมชนที่ทำอาชีพเสริม เป็นวิทยากรของชุมชน พร้อมสนับสนุนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจะทำเป็นรูปเล่มคู่มือชุมชนในภาคประชาชนต่อไป
ภาพประกอบกิจกรรมที่ได้ทำมา
  
 











ขอขอบคุณร้านคราวน์เบเกอรี่ร่วมสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน

คุณโอผู้จัดการร้านคราวน์เบเกอรี่มอบทุนการศึกษาแก่โรงเรียนโสตศึกษาหาดใหญ่

ร้านคราวน์เบเกอรี่ ๒ สาขา สงขลาตั้งที่ ถ.ไทรงาม อ.เมือง หาดใหญ่ ตรงข้ามโรงเรียนเฮงเสียงสามัคคี
ติดต่อได้ที่ 074 441305 311918 312174

จำหน่ายเบเกอรี่ เค้กในโอกาสต่างๆ อาหารทั่วไป กาแฟสด เปิดบริการ 07.00 - 21.30
ปลอดภัย ไม่ใส่สารกันบูด กันรา

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สมิหลาพอเพียง กลุ่มทุ่งขมิ้น

            วันนี้เราได้รับโอกาสดีที่ทางพัฒนาชุมชนอำเภอนาหม่อมได้ให้โอกาส แก่หมู่ที่๔ ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม ซึ่งเป็น ๑ หมู่บ้านในหลายๆ หมู่ที่ได้รับเลือกเช่นเดียวกัน จากประสบการณ์ที่ได้เห็นมากับตาหรือบางครั้งก็เห็นตามข่าวต่างๆ ที่มักพูดบ่อยถึงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หรือ โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับเกษตรกรเอาของมาแจกแล้วก็หายกันไป เอาของมาให้แต่ก็ใช้ไม่เป็น วันนี้สิ่งของที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นไก่ไข่ ปลาดุก ต้นผักเหรียง ถังสองร้อยลิตร ถั่วงอก เพื่อสร้างเสริมรายได้หรือแม้กระทั้งลดรายจ่ายก็ตนเองก็ตาม แต่ขอถามหน่อยครับว่า ใครคิดว่าเอาไปแล้วเลี้ยงกันรอดหรือป่าว โดยเฉพาะปลาดุก แล้วถ้าเลี้ยงปลาดุก อาหารที่ใช้ คืออะไร ถ้าเราชื้ออาหารมาเลี้ยงเพียงอย่างเดียว อย่าพึ่งคิดไปว่าเลี้ยงแล้วจะได้ทุนคืน ดีไม่ดีอาหารไม่ทันหมดปลาตายหมดก่อน จากสร้างเสริมรายได้ กลายเป็น การเสริมรายจ่ายมากกว่า วันนี้โชคดีหลายรายการเพราะได้รับเกียรติจากเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินเขต ๑๒ จังหวัดสงขลา เข้ามาร่วมรายการ และผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งตนเองก็ได้ประกอบอาชีพในด้านเลี้ยงไก่ไข่และเลี้ยงปลาดุก จนมีประสบการณ์ที่สามารถแบ่งปันแก่คนอื่นๆ ได้ ในกลุ่มของเรา ๓๐ หลังคาเรือน บางคนก็ไม่มีประสบการณ์มาก่อน แต่เรามีภูมิปัญญาในท้องถิ่นเช่น พี่โรจน์ในการเลี้ยงปลาดุก พี่ศักดิ์ไก่ไข่ พี่สุมาลีทำน้ำยาเอนกประสงค์ ก็น่าจะปรึกษากับคนอื่นๆ ที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน ที่ใกล้ๆ กันได้ ขอขอบพระคุณไปยังพี่เอมอร ขจรวงษ์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจากพัฒนาชุมชนอำเภอ ที่อาสาจะนำวิทยากรหรือเจ้าหน้าที่จากปศุสัตว์มาในความรู้แก่ชุมชนในโอกาสต่อไป ก็ต้องกราบขอบพระคุณพี่เจ้าหน้าที่ทั้งสองในนามของ “ข้าราชการ”  ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ได้สมกับคำว่าข้าราชการ ซึ่งถ้ามีแบบอย่างดีๆ อย่างนี้ให้เต็มบ้านเต็มเมือง ปู่ไทย ก็คงหลับสบายไม่ต้องออกมาร้องเพลงให้ฟัง











ครับเข้าเรื่องดีกว่าที่ต้องขยายฐานครอบครัวเพราะมีน้อยในการทำงานรวมกันเป็นทีมให้สำเร็จได้โดยเฉพาะชุมชน ทั้งนี้วิธีมันมี วิธีที่ถูก วิธีที่ดี ใน ๓๐ ครัวเรือนที่เป็นผู้นำร่อง ก็ต้องเป็นผู้นำให้ได้ข้อแรกพวกเราต้องมีความเห็นตรงกันอย่างแท้จริง ว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำ โครงการสมิหลาพอเพียง เป็นโครงการที่นำศาสตร์ของพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติ เราทุกคนจึงต้องทำความรู้จักศาสตร์แห่งความพอเพียงให้ลึกซึ้งอย่างแท้จริง การแสดงความรักต่อในหลวง ซึ่งหลายกรรมหลายๆวาระ ก็มีการแสดงออกไปในหลายๆรูปแบบ แต่ชุมชนทุ่งขมิ้นเองได้รับโครงการนี้มาก็ต้องปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมให้จงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีอื่นๆให้มากมายหรอกครับ ก็เปิดตาเปิดใจ ดูคนที่ได้ทำสำเร็จมาแล้ว แล้วก็ทำตามคนนั้นๆ หรือชุมชนนั้นไป ดังพระราชดำรัส ตอนหนึ่งว่า
“ตัวอย่างของความสำเร็จ ดีกว่าคำพูดเป็นร้อยเป็นพันคำ” วันก่อนผมก็ได้พูดเปิดประเด็นไปแล้วในเรื่องของความพอทั้งสี่ คือ ๑.พออยู่ ๒.พอกิน ๓.พอใช้ ๔.พอร่มเย็น วันนี้ ทางราชการได้นำสิ่งของมาเพิ่มเติมให้ในเรื่อง พอกิน พอใช้ และ เมื่อเรารู้จักกันเองในชุมชนมากขึ้น ความพอที่จะตามมามีอีก ๓ พอ คือ ๕.พอพลังงาน ซึ่งได้จากการเผาถ่าน วันก่อนต้นยางล้มพ่อตาขายไป ๔๐๐ บาท ก็คงเป็นต้นสุดท้ายที่จะขาย ลองคิดดูน่ะครับว่าต้นยางเอากิ่งมาเผาถ่าน ผมว่าลืมแก๊สไปหลายเดือน ๖.พอพัฒนาคน อันนี้พวกเราก็กำลังปฏิบัติกันอยู่ คือการยอมรับฟังกันเอง ใครเก่งทางไหนก็มาบอกมาสอนต่อคนอื่น สิ่งเหลานี้จะทำให้เกิดฑิฐิสามัญตา คือการยอมรับแนวความคิดตรงกันและเชื่อฟังกัน มีการแลกเปลี่ยนและได้ข้อสรุปนำไปสู่การปฏิบัติที่ตรงกัน และสุดท้ายเป็นหน้าที่ของผมต้องเริ่มก่อนคือ ๗. พอสื่อสาร อันนี้ก็เอาสิ่งที่ผมเห็นว่าดี ว่าถูก ว่าทำได้ มาบอกมาเผยแพร่ หรือเห็นใครในชุมชนพอจะเป็นหัวเรียวหัวแรง ก็เชิญชวนกันมา ผมอยากจะให้หลายๆคนมาเห็นมาสำผัส แค่การได้ตักข้าวให้พ่อให้แม่กิน ยกข้าวยกน้ำ นั้งกินกันพร้อมหน้าพร้อมตา พ่อแม่ลูกหลาน มันก็มีความสุขในระดับหนึ่งแล้ว
            การที่ผมขยายโอกาสตรงนี้ออกไป จาก ๓๐ หลังคาเรือนเป็น ๔๐ หลังคาเรือน และหากใครทำสำเร็จก็ขยายต่อๆกันไป ไม่นาน ชุมชนนี้จะน่าอยู่ น่าอยู่ตรงไหน ตรงที่เรารู้ว่า จะกินอะไรไปเอาที่ไหน จะใช้อะไรไปเอาที่ไหน อยากจะรู้เรื่องอะไรไปบ้านใคร แค่นี้ก่อนครับที่มองเห็นได้ชัด อย่างวันนี้จะต้มไข่พะโล้ไปทำบุญสัก ๕๐ ใบ ก็ไปบ้านพี่ศักดิ์ จะทำน้ำยา สบู่ ก็ไปบ้านพี่สุมาลี จะเอาถ่านก็บ้านผมเอง สังคมนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่เราต้องสร้างให้เข้มแข็งและดำรงค์อยู่ตลอดไปให้ได้
            สุดท้ายต้องขอขอบพระคุณที่ท่านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี กิจกรรมในวันนี้เราได้รับความรู้อีกอย่างหนึ่งคือการทำปุ๋ยหมักอย่างง่าย โดยวิทยากรจากสถานีพัฒนาที่ดินเขต ๑๒ พร้อมทั้งได้รับแจก เอกสาร สารเร่ง พด. ตลอดจนการสาธิตให้ปฏิบัติได้จริงเพื่อนำไปทำปุ๋ยใช้เองอย่างง่ายๆ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กลุ่มพวกเราคงจะไม่มีใครที่ไปซื้อ ตระไคร้ ข่า ขมิ้น ที่ตลาดกันอีกน่ะครับ
สวัสดี

รับงานเครื่องเสียง ตัดหญ้า ซ่อมคอมพิวเตอร์ เดินสายไฟ วางระบบแลน  ระบบไร้สาย กล้องวงจรปิด เป็นงานอดิเรกครับ


อ้อเกือบลืม ขอบคุณคณะ อสม.ทุ่งขมิ้นด้วยที่มาฉีดยาป้องกันยุ่งลายและแจกสารกำจัดยุ่งลายด้วยครับ
ในวันนี้กลุ่มทุ่งขมิ้นเองแม้ว่าจากเดิมก็ได้ทำกิจกรรมในครัวเรือนที่เป็นการสร้างเสริมความมั่นคงให้แก่ครอบครัว ทั้งเลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ด เลี้ยงวัว และยังปลูกพืชผักที่ใช้กินในครอบครัว ในโอกาสที่เจ้าหน้าที่จากภาครัฐได้เข้ามาช่วยเสริมความรู้ให้อีก ก็นับว่าชุมชนคงจะได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้นในโอกาสต่อไป และยังมีกิจกรรมเสริมอื่นาต่อยอดไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่ง สักวันหนึ่งกลุ่มทุ่งขมิ้นเองก็จะมีองค์ความรู้ ภูมิปัญญาที่ใช้สืบสานต่อให้ความมั่นคงแก่ลูกหลานต่อไป