ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พ่อกลุ่มนี้มีความจงรักภักดีต่อ "พระเจ้าแผ่นดิน"


ในเดือนนี้มีหลายวาระด้วยกัน ทั้งวันพ่อแห่งชาติ วันรัฐธรรมนูญ วันส่งท้ายปีเก่า
เริ่มจากวันพ่อแห่งชาติก่อน ในที่นี้ขอใช้ประโยคว่า มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2554 หลายหน่วยงาน หลายองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเหล่าทัพก็ได้ทำหน้าที่ของตนไปด้วยดีแล้ว ในภาคประชาชนเองของกลุ่ม ตำบลทุ่งขมิ้น ก็ได้จัดตั้งกลุ่มแกนนำในหลายอาชีพ ทำให้เกิดกลุ่มก้อนเล็กๆ ของชุมชนเพื่อนำวิถีชุมชนมาเรียนรู้ ต่อยอด บำรุงรักษา เพื่อให้ลูกหลานของชุมชนมีแนวทางใหม่ ในการก้าวเดินบนวิถีชีวิตควบคู่การเรียนจากที่โรงเรียน
ในโอกาสนี้ขอยกเรื่องราวเล็กๆน้อยๆ ของผู้ที่เรียกแทนตนต่อลูกด้วยคำว่า พ่อพ่อในที่นี้กล่าวคือ บุคคลที่มีภรรยาและมีบุตร เป็นผู้ชาย เราเรียกว่า พ่อ คำสามัญ ที่หลายๆ คนอาจจะมองข้ามไป  และนำไปใช้ในเชิงแสดงความรัก ความจงรักภักดี ต่อ พระเจ้าแผ่นดินจนเมื่อนักการเมืองหลายคนวิจารณ์คำว่า พ่อ ในลักษณะเบี่ยงเบนประเด็น ตลอดจนกลุ่มคน หลายกลุ่มได้ใช้  คำคำนี้ สร้างความแตกแยกทั้งความคิด ความเชื่อ ส่งผลให้ผู้เป็นพ่อ ที่ทุกคนรู้จัก เคารพรัก กราบไหว้ ยกให้เป็นพ่อ และเรียกออกจากปากของตน พ่อพระองค์นั้นคือ พระเจ้าแผ่นดิน เราย้อนเวลากลับหลังไปไม่ได้เสียแล้ว แต่สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นตามหน้าสื่อต่างๆ ก็มุ่งไปให้ทิศทางเดียวกันว่า โลกน่าจะแตก หรือ เกิดภัยพิบัติขั้นรุนแรง มีบุคคลที่ทำหน้าที่พ่อของลูกๆ กลุ่มหนึ่ง พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ที่พ่อมีชีวิตและเลี้ยงลูกจนเติบใหญ่มีความรู้ มีวิชา ประกอบสำมาชีพได้ ก็เพราะ พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้ และเหล่าบรูพกษัตริย์ทุกพระองค์ ทรงปกป้อง คุ้มครองให้พื้นดินถิ่นนี้คือประเทศไทย  ในโอกาสนี้ก็เสนอแนวคิดของพ่อที่ทำอยู่ทำกิน เลี้ยงลูก สอนลูกให้เป็นคนดีของสงคม ก็ขอนำมาฝากกันครับ เดือนหน้า ๒๕๕๕ เตรียมพบกับ การสร้างทางสายใหม่ให้ลูกหลานกัน ทางที่ดี ทางที่เดินโดยมีภูมิคุ้มกัน

คุณกิตติวัฒน์ ประธานสภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้น ผู้เต็มไปด้วยพลังจิตอาสา มุ่งขับเคลื่อนภาคประชาชนให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในบทบาทของตน อีกยังสามารถนำมาช่วยเหลือชุมชนได้
"สำหรับลูกไหน จบมีงานทำหมดแล้ว ที่ผ่านมาก็บอกเขาว่า จะต้องเป็นคนดี และพร้อมช่วยเหลือสังคมได้บ้าง"

พี่ถาวร ผู้อนุรักษ์รักษาขนมธรรมเนียม ศิลปะ วัฒนธรรม และ แกรูปหนังตลุง
"ผมบอกลูกเสมอว่า ของดีๆ บ้านเราหายไปเยอะแล้ว พ่อไม่ทำ ลูกไม่สานต่อ ต่อไป ลูกหลานจะเข้าใจในวิถีที่ให้ตนได้มีชีวิตอยู่มาอย่างไร"
ลุงนา ธนา แห่งบ้านนา ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นงานเล็กงานใหญ่ คนนี้ไม่ต้องอธิบาย
"ลูกเรียนเรียนไป พ่อจะหาจนพ่อหมดแรง แต่ขอให้จบมาและเป็นคนดีของสังคมก็พอแล้ว"
พี่น้อย น้ำจิต น้ำใจ เกินตัวจริงๆ เงียบนิ่งพูดน้อย ในฐานะพ่อดีเด่นประจำปีนี้ (ผมรู้หลังจากสัมพาย์กเร็จ)
"ผมเปิดโอกาสให้ลูกทุกเรื่อง แต่ลูกต้องรู้จักการทำตัวให้ดี อย่าเป็นที่รังเกียจของผู้อื่น และให้เป็นคนดี"

สมัย หนุ่มคนนี้ ต.ทุ่งขมิ้นน้อยคนที่ไม่รู้จัก งานบุญต่างๆ หนุ่มคนนี้ เสมอเหมือนเจ้าภาพตลอดทุกงาน
"ผมสอนและเตือนลูกว่า ตนเองมีหน้าที่อะไร เรียนก็ต้องเรียน เล่นก็เล่น"

ช่างหมา (พี่เค้าชื่อหมามุ๋ย) แต่คนเรียกแกอย่างนั้น คนนี้ผมรู้จักจากปากต่อปาก ผมรู้จักคนนี้ทำให้เข้าใจคำว่า "ผู้มีวิชาชีพ" ได้เต็มปากเต็มคำ
"ผมบอกลูกว่า เราจะเก่ง จะรวย จะอะไรไม่สำคัญ เท่ากับเรารู้จักเสียสละและแบ่งบัน เราเห็นแก่ตัวไม่ได้"


สำหรับผมคนสุดท้ายในฐานะผู้ประสานงานสภาองค์กรชุมชน
"บอกลูกว่า ของรอบบ้านคือสิ่งที่ทำให้เจ้าได้เรียนมีการศึกษา จงมองวิถีนี้แล้วเดินไปกับพ่อพร้อมกัน"


วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


การขยายกลุ่มแกนนำชุมชนไปได้ดีมากสำหรับผู้รู้ถึงพิษภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนสังคมมนุษย์เรากันเอง แม้เฉียดๆสงครามการแย่งอาหาร แย่งที่อยู่อาศัย อย่างเช่นภาคกลางประสบภัยพิบัติ การกระทบกระทั้งกันในระหว่างชุมชนใกล้เคียงน่าจะแสดงอะไรบ้างอย่างได้ เช่น การรักษาชุมชนตนเอง ผมมองว่าดี เริ่มจากชุมชนนั้นล่ะครับถูกแล้ว หากทุกคนรักบ้าน รักถิ่นฐานที่อยู่อาศัย ปกป้อง คุ้มครองกันอย่างนี้ผมว่าดี เพราะหากชุมชนหลายๆชุมชนมีความเข้าใจตรงกันว่า ประเทศไทยก็คือชุมชนหนึ่งบนโลกใบนี้นั้นเอง จากภัยพิบัติทางทางกลางทำให้ชุมชนทุ่งขมิ้นก็ตื่นตัวไม่น้อย มีการขุดคู ลอกคลอง ทำถนน ฯลฯ ก็ทำได้ดีในระดับหนึ่ง การประชุมร่วมกันของทั้งสี่ สภาองค์กรชุมชน เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน เน้นนิดนึ่งครับว่า คณะทำงาน ไม่ใช่ คณะกรรมการ การจัดวางตัวบุคคลให้สมกับงานเพื่อเตรียมรับภัยพิบัติในครั้งนี้ ถือว่าสมบูรณ์เลยทีเดียว โดยมีคำนิยมที่ว่า จัดน้ำไปให้ไว ปรับปรุงให้เร็ว พร้อมช่วยพื้นที่อื่นๆ  จากราคาข้าวของแพงขึ้นเป็นก้าวกระโดด ของในห้างใหญ่ๆ หมดสต๊อกทำให้หลายๆคนวิตกไปตามๆกัน มีหลายคนที่ต้องหยุดงานเป็นอาทิตย์เพราะไม่มีของผลิต เลยทำให้มีเวลามาพูดคุยกับคนอื่นๆในท้องถิ่นบ้าง ทำให้รู้ว่าเขามีรายรับทุกวันนี้ที่ ๑๗,๐๐๐ ทำงานมา ๑๘ ปีแล้ว   เขามาดูๆแล้วถามว่าทำอะไรกัน ก็ตอบไปว่า ทำน้ำยาล้างจานไว้ใช้เอง เหลือก็ขายบ้าง ต้นทุน ๒๐๐ กำไร ๓๐๐ / หนึ่งกิโล  เรื่องเล็กๆน้อยๆที่ทำเองได้ ไม่ต้องซื้อ แถมยังผลิตขายได้ด้วย อยู่กับบ้าน มีรายได้วันละ ๓๐๐ ก็น่าจะดี  จริงๆแล้ว สามารถผลิตให้มากกว่าก็ได้ แต่เอาแค่นี้ก่อน ทำใช้เอง เหลือขาย ในกลุ่ม ในชุมชนเล็กๆ ของเรา



ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลทุ่งขมิ้นคุณกิตติวัฒน์ ธีราพรหมเพชร์ และพี่จรูญ พี่วิโรจน์ เยี่ยมดูงาน


วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑




ตัดยางเลี้ยงไก่้ เลี้ยงจระเข้ (ให้กินไก่ที่ตาย)ปรับสภาพน้ำด้วยน้ำหมักชีวะภาพ และอยู่บ้านดูแลพ่อแม่  
เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ประกาศน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปฏิบัติ
ได้มีโอกาสไปร่วมประชุมสัมมนาเพื่อการเรียนรู้กรอบคิด ทิศทาง และยุทธศาสตร์พัฒนาคนและสังคม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม โดยหน่วยงานต่างๆเช่น สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคใต้ จังหวัดสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ศูนย์ประสานงานองค์การเอกชนประจำจังหวัดสงขลา ทั้งนี้ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัด นายสุรพล พนัสอำพล ประธานพิธี และได้บรรยายพิเศษ เรื่อง การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมกับภาครัฐในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม ชุมชนของจังหวัดสงขลา โดยสรุปใจความได้ว่า ทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจ มีการดำเนินการอย่างมีแบบแผนกันทั้งนั้น แต่ยังขาดการร่วมมือกันอย่างบูรณาการ เห็นสมควรจะต้องจัดให้มีเจ้าภาพในเรื่องนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ทำงานไปในทิศทางเดียวกันและท่านว่าที่ร้อยตรีวัชรินทร์ วรรณตุง ผอ.กองแผนและงบประมาณ อบจ.สงขลา อบจ.เป็นหน่วยเสริม แต่ชุมชนต้องเริ่มก่อน เมื่อชุมชนเริ่มดำเนินการไปแล้วขาดเหลืออะไร ที่อบจ.จะช่วยสนับสนุนได้ก็แจ้งมาครับยังมีปราชญ์ชุมชน และตัวแทนกลุ่มต่างๆเข้าร่วมสัมมนาจำนวนมาก ต่างก็สรุปเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ต้องเริ่มจากชุมชน
สมิหลาพอเพียงกลุ่มทุ่งขมิ้น ผู้ขับเคลื่อนแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เกิดจากการนำเอาแบบอย่างตัวอย่างของความสำเร็จของผู้ที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง ตามสภาพแวดล้อมของชุมชนโดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ ใครเก่ง ใครทำเรื่องไหนก็พัฒนาของตนให้ดี พร้อมที่จะแบ่งปันความรู้ประสบการณ์แก่ผู้อื่นได้
การดำเนินการในลักษณะนี้เป็นการกระจายองค์ความรู้แบบผสมผสานภูมิปัญญาเข้าด้วยกัน การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองในชุมชน ทำให้เกิดการวิจัยในสิ่งที่ตนเองทำอยู่ การทดลอง การจดบันทึก การแลกเปลี่ยน ทำให้เกิดกลุ่มคนที่เป็นแกนนำของชุมชนได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการผลิตพลังงานทดแทน การผลิตสบู่ น้ำยาล้างจาน ผลิตปุ๋ยชีวภาพ การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงนกกระทา หรือแม้กระทั้งเลี้ยงจระเข้ ใจกลางหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในชุมชน ชุมชนที่เป็นวิถีแห่งตนเพื่อชุมชน การบรูณาการชุมชนเกิดขึ้นแล้วโดยประชาชนเพื่อประชาชนที่ตำบลทุ่งขมิ้น โดยมีเจ้าภาพคือศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นี้ และนี้ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งของชุมชนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ ที่เขียนบนแผ่นกระดาษว่า สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ก็ขอตอบโจทย์ข้อนี้ด้วยความเป็นจริงที่เขียนลงแผ่นดินพื้นนี้ว่า
สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตรงนี้เรามีแล้วดูได้จากการร่วมงานบุญ งานกุศลต่างๆ สภาพการช่วยงานในพื้นที่ และการเหมารถบัสไปช่วยงานนอกพื้นที่เกิดขึ้นเป็นประจำ การประชุมของกลุ่มต่างๆในแต่ละเดือนได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในชุมชน
ความเสมอภาค และเป็นธรรม ในจุดนี้เรามีวัดเป็นศูนย์กลางรวมกับสภาองค์กรชุมชนเป็นผู้ดูแล การประชุมร่วมกันทำให้เกิดข้อเท็จจริงนำไปสู่ความเข้าใจในชุมชน เมื่อทุกคนได้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงแล้ว ความเสมอภาคและเป็นธรรมก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ
มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง อันนี้ต้องกราบขอบคุณผื้นแผ่นดินนี้เป็นลำดับแรก ที่มีภูมิศาสตร์เหมาะสมกับบุคคลในชุมชน วันนี้ชุมชนนี้มีคนดี คนหัวก้าวหน้าผู้พร้อมประกาศนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นธงชัย ชักชวนให้คนในชุมชนรู้จัก ตนเอง ว่าเราทุกคนมีลักษณะการดำรงค์ชีวิตอย่างไร มีคนที่ศึกษาค้นคว้าการพึ่งพาตนเองในระดับครอบครัว ว่าวันนี้ ฝนตกตัดยางไม่ได้ เดือนหนึ่งจะทำอย่างไร วันนี้เรามีผู้รู้ ผู้อ่าน ผู้ติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ ทั้งด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงในทิศทางอื่นๆ มาเล่า มาบอก ให้แก่ชุมชนได้รับทราบได้เตรียมตัว การจัดวางคนในหน้าที่ต่างๆ ให้พร้อมหรือเรียกง่ายๆ ว่า ครู คลัง ช่าง หมอ เราจัดวางใว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้เรามีพระดี วัดดี โรงเรียนดี สิ่งเหล่านี้มาบรรจบกันได้เองเพราะทุกภาคส่วนได้ดำเนินการตามแนวของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งนั้น  บวร สภาองค์กรชุมชน การเดินทีก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง สู่การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑  การก้าวเดินเพื่ออนาคตของลูกหลานไทยภายใต้กรอบ ภูมิศาสตร์ ความรู้ท้องถิ่นที่ทำกินที่อาศัย ต่อการเป็นประชาคมอาเชียน อีกหนึ่งบทที่ประชาชนชาวทุ่งขมิ้นต้องรักษาไว้ตลอดไป
เธออย่าคิดว่า ถ้าไปอยู่ในชุมชนที่เขาพร้อมแล้วน่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ดีกว่านี้  จงคิดใหม่ว่า ที่อื่นๆที่เขาดีอยู่แล้วเธอไปก็เป็นแค่ตัวเสริมไม่ใช่ตัวหลัก ให้อยู่ที่นี้ถูกแล้ว แล้วสร้างสิ่งที่ไม่พร้อมให้พร้อมขึ้นมา  มันจะดีกว่า  ธรรมะจาก ธรรมฐิต  ปธ.๙ แห่งวัดปลักพ้อ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา สาธุ......็็

วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

บวร สู่ สภาองค์กรชุมชน

หลังจากที่ทีมงานของสมิหลาพอเพียงกลุ่มทุ่งขมิ้น ได้ขับเคลื่อนภาคประชาชนเริ่มจากบ้านในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตนเอง และต่อพื้นที่ทำกินอยู่เดิมให้เกิดกับรู้ความเข้าใจว่าบางสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เช่น กะลามะพร้าว น้ำมะพร้าว กากมะพร้าว ไม้ผลที่เต็มพื้นที่ของตำบลทุ่งขมิ้น ได้เกิดการชื้อขายแลกเปลี่ยน แปลรูป จากกะลามะพร้าวเป็นถ่านกะลา จากน้ำมะพร้าวที่ต้องทิ้งโดยป่าวประโยชน์เป็นน้ำหมักชีวะภาพ จากรากสับปะรดเป็นน้ำยาล้างจาน ฯลฯ ที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐานเท่านั้นเอง หมายถึงว่า ให้ทำเองได้บ้าง ผลิตใช้ ผลิตขายกันเองได้บ้าง ขายที่ใกล้ๆ ก็เกิดเป็นกิจกรรมการผลิตและจำหน่ายโดยไม่เดือนร้อน ไม่ต้องลงทุนมากและใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่สามารถทำได้เอง จนปัจจุบันทำให้มีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ดูงาน และขยายผลต่อไปในชุมชนอื่นๆ ได้เช่น ชุมชนพะวง และเทศบาลนครหาดใหญ่  การเลี้ยงหมูหลุม การใช้ขี้หมูแทนปุ๋ยเคมี บวก กับ น้ำหมักชีวะภาพทำให้วันนี้ชาวสวนเริ่มหันมาสนใจแนวทางนี้กันมากขึ้น ต่อยอดไปถึงน้ำส้มควันไม้ที่ได้รับการตรวจสอบจาก มหาลัยสงขลานครินทร์ ว่ามีสารอะไรอยู่บ้างจนนำไปสู่กระบวนการผสมอัตราส่วนการใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์แห่งการใช้ได้เป็นอย่างดี
การได้รับโครงการไถ่ชีวิตโคกระบือจาก โรงเจเต้าบ่อเก็ง หาดใหญ่ จากที่ได้รับจำนวน 3 ตัว ตอนนี้ก็เพิ่มมาอีกสี่ตัว เป็น 7 ตัวแล้ว ที่เพิ่มมาอีก 4 เป็นการซื้อเขามาใหม่เนื่องจากพี่ชาติหนุ่มคาวบอยตัวจริงเสียงจริงจาก แม่โจ้ กำลังปรับเปลี่ยนสายพันธ์ระหว่างวัวพื้นบ้านและวัวพันธ์ให้ได้ดียิ่งขึ้น อีกยังเก็บอนุรักษ์พืชพันธุ์พื้นเมือง และต้นไม้ที่กำลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น ซึ่งได้เสนอเรื่องไปถึงสภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งขมิ้นแล้ว



ต่อไปเรื่องของวัดหลายๆท่านคงจะได้รับฟังได้ยินดูข่าวของพระและวัดในเดือนนี้สองสามข่าวที่ไม่ดี ที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น พระออกมาอยู่ทาวน์เฮ้าส์ พระเตะโชว์ในวัด ก็เป็นธรรมะ และ ธรรมดา หากผู้หนึ่งผู้ใดรู้จักหน้าที่ ที่ตนต้องปฏิบัติให้ถูกต้องแก่ตนแล้ว ผู้นั้นก็เป็นผู้มีธรรมะในตน เรื่องของพระที่นี้ขอกราบนมัสการถึงพระมหาวิชิต ฐิตธมฺโม ป.ธ.๙ แห่งวัดปลักพ้อ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา ได้กล่าวไว้หลายครั้งว่า “โยมทั้งหลายนั้นแหล่ะเป็นผู้ที่จะต้องบอกพระ ว่าต้องการพระแบบไหน มาพูดมาคุยกัน หากพระไปทางโยมไปทางแล้ววัดจะอยู่อย่างไร” อันนี้ผมสรุปเองคราวๆน่ะ เอาเป็นว่าที่ผมเคยบวชเรียนมา จำได้ว่า จากคำว่า “นาค”  “ภิกษุ” จนถึงคำว่า “ พระ”  เขามีลำดับกันอยู่ มิใช่บวชจากนาคห่มจีวรแล้วเป็นพระเลยไม่ใช่ ที่เห็นนั้นเป็นรูปแบบการเรียกขานเฉยๆ แต่คนที่ได้บวชและเรียนจะรู้ดีว่า กว่าจะระลึกตนได้ว่าเป็นพระ หรือ เป็น ภิกษุ หรือ นักบวช นั้นผู้เห็นแจ้งแห่งตนเท่านั้นจะหยั่งรู้ได้ และเช่นเดียวกันผู้อื่นรอบข้างก็จะสัมผัสได้เช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่เราควรรู้เท่าๆกันคือ ภิกษุ กับ พระ ต่างกัน ใครสนใจไปหาศึกษากันดูครับดังนั้นฝากข้อคิดตรงนี้ไว้ว่า “กรณีผู้หนึ่งผู้ใดที่ห่มผ้าเหลืองคล้าย ภิกษุ  กระทำการใดๆอันเห็นตัวตาแล้วว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ควรจะไปศึกษาหาคำจำกัดความที่เรียกผู้นี้ขึ้นมาใช้ใหม่ได้แล้ว เช่น  นรกตนนึ่งก็ยังดี  อย่าได้ใช่คำว่า ภิกษุ หรือ พระ เลย” 
กลับเข้าเรื่อง วัดปลักพ้อ ศูนย์กลางของชุมชน ในวันนี้การก้าวเดินด้วยกรอบคำว่า “บวร”ได้ปรากฏขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เมื่อแกนนำชุมชนในแต่ละภาคส่วนถือปิ่นโตมาเจอะกันที่วัด โดยมี ครู นักเรียน ได้ดำเนินกิจกรรมกับวัดมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ในสมัยเด็กๆโรงเรียนก็มีกิจกรรมกับวัดอย่างนี้มาตลอดโดยเฉพาะช่วงประกาศตนเป็นพุทธมามกะ  เมื่ออายุครบ 15 ปี ซึ่งก็อยู่ในวัยเรียน ม.2 ม.3 เห็นจะได้ แล้วเราทิ้งวัดไปตอนไหน? โรงเรียน กับ วัด แยกกันตอนไหน ? ฝากคำถามนี้ไว้อีกสักคำถามหนึ่ง  วัดศูนย์กลางแห่งชุมชนวันนี้ นอกจากเป็นที่ตั้งของห้องสมุดชุมชนแล้วยังเป็นที่ตั้งของ “สภาองค์กรชุมชน” ตำบลทุ่งขมิ้นอีกด้วย ต้นเดือนหน้า วันที่ 8 ตุลาคม 2554 จะมีการประชุม สภาองค์กรชุมชน ระดับตำบล เมื่อการบ้านเสร็จ การเมืองก็ต้องทำ แต่เป็นการเมืองในภาคประชาชนเพื่อประชาชน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้ที่ สภาองค์กรชุมชน ต.ทุ่งขมิ้น


ทีแรกก็เข้าใจว่าเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่จะเกิดขึ้นมีขึ้นต้องอาศัยกลไกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนั้น แต่พอรู้จักสภาองค์กรชุมชนก็เห็นแสงสว่างจากปลายอุโมงค์เลย งานนี้หากชาวบ้านได้รับรู้ข่าวสารและเข้าใจถึงที่มาของ “สภาองค์กรชุมชน” ทุกคนคงจะลุกขึ้นมาทำหน้าที่ในระบบจิตอาสาขึ้นเยอะ โดยเฉพาะการได้มีส่วนร่วมเข้าเสวนากับคณะกรรมการจัดการเลือกตั้งจังหวัดสงขลา (กกต) เรื่องพรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีท่านวิทยากรอย่างท่าน รศ.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี บรรยายได้เห็นภาพที่มาที่ไปได้ดี และภาพไวนิลที่ทาง กกต.จัดให้เห็นที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ดีคือการยึดอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินนั้นแหล่ะ ประเทศไทยเราอยู่รอดมาเป็นร้อยเป็นพันปี ก็เพราะบูรพกษัตริย์ได้ต่อสู้กู้บ้านกู้เมืองรักษาไว้ กับความคิดของคณะใดคณะหนึ่งไม่อีกคน นำเอาคำว่าประชาธิปไตยอันโก้หรู ความเสมอภาค ความเท่าเทียม แล้วเป็นอย่างไร จะ 80 ปี เข้าไปแล้ว ความเสมอภาค ความเท่าเทียม ความเจริญ คนไทยทุกคนได้รับจริงๆ หรือป่าว อย่าลืมว่าประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานนั้นเป็นของคนไทยทุกคน มิใช่คณะใดคณะหนึ่ง หรือยังจะมีคณะใด คณะหนึ่งยังไม่เข้าใจข้อความอีก
พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่แห่งการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “บวร” จึงขอสรุปบทความเดือนนี้จบลงตรงแค่นี้ สวัสดี

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง แปลตามประสาบ้านๆ ควนๆ คือ ที่ว่างๆ สะดวกๆ สามารถทำกิจกรรมเรื่องบุญกุศล เพื่อนำพาให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถจัดการชุมชนให้บูรณาการอย่างยั่งยืนได้ วันนี้ก็เป็นอีกวันที่กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้นได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สามแล้ว จากสองครั้งที่ผ่านมาสามารถทำให้คนในชุมชนรู้จักบทบาทของสภาองค์กรชุมชนมาก ขึ้น
การทำงานในภาคประชาชนเพื่อประชาชนนั้น เวทีนี้ซิครับที่จะพูดได้ว่า "คุณเกิดมาเพื่อเจอะสิ่งนี้ ซาล่า"(แซวโฆษณาขายของทางทีวีนิดนึ่ง) เวทีที่เป็นสื่อกลางของทุกสิ่งอย่างจากใจของคนที่รวมเป็นสังคมเรียกว่าชุมชน ที่อยู่อาศัย ได้เอาเรื่องความเป็นอยู่ในทุกด้านมาพูดคุยกัน ข้อดีคือ ได้ศีลข้อสอง อทินณาทานา เพราะเวลาเกิดเรื่องอะไรเกิดเช่น น้ำไม่ไหล ไฟดับ ถนนพัง ลูกเข้าเรียนไม่ได้ คนตายไม่มีค่าฌาปนกิจ ก็ว่ากัน ว่าคนโน่นที หน่วยงานนี้ที ปัญหาเหล่าจะทุเลาเบาบางลงได้หากเรื่องมาถึงสภาองค์กรชุมชน ถามต่อว่าสภาองค์กรชุมชนเป็นเทวดามาจากไหนจึงทำได้? ตอบว่า ไม่ใช่เทวดา แต่เป็นคน เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่เข้าใจและรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และน่าจะนำเรื่องนี้ไปบอกแก่ใคร ให้ช่วยบรรเทาลงได้ กรณีจากอดีตของนายชูเกียรติ (ขอสงวนนามสกุล) ได้ไปสร้างบ้าน สร้างรกรากใหม่ที่หน้าวิทยาลัยครูสงขลา เมื่อปี ๒๕๒๒ บ้านไม่มีเสาไฟฟ้าเนื่องจากไกลจากถนน ก็ได้ต่อพวงจากเพื่อนบ้าน แต่พออยู่มา ก็มีคนเห็นว่าทำเลดี ก็มาสร้างบ้านเยอะขึ้น และก็ต่อพวงไฟฟ้าต่อๆ กันมา จนวันหนึ่ง ไฟฟ้าที่ต่อพวงก็ไม่สามารถรับได้แล้ว ภรรยาของนายชูเกียรติก็ได้ออกความคิดเห็นว่าควรจะติดตั้งเสาไฟฟ้า กว่า ๕ ต้น เพื่อได้มีไฟฟ้าใช้ คำตอบคือ ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะต้องจ่ายเงินค่าเสาไฟฟ้ากันเอง สรุปคือ นายชูเกียรติต้องรับภาระในค่าเสาไฟฟ้าเพียงคนเดียว เพื่อบ้านตนได้มีใช้ และคนอื่นๆได้รับประโยชน์ไปด้วยจนถึงปัจจุบัน และนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่นายชูเกียรติได้ส่งลูกชายเข้าเรียนในสาขาไฟฟ้า ทั้งๆที่ลูกชายบอกว่าชอบช่างยนต์ และทุกวันนี้ลูกชายของนายชูเกียรติ ก็ได้นำวิชามาเพื่อรับใช้สังคมต่อไป ขออนิสงฆ์ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ลูกชายได้ทำในส่วนดี ส่งผลบุญไปให้นายชูเกียรติผู้ล่วงรับไปแล้วด้วยเทอญ ...
ก่อนกลับเข้าเรื่อง เหตุการณ์อย่างนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อลูกชายจบการศึกษาชั้น ปวช.ต่อ ปวส. ได้ทำงานได้ฝึกงานและเรียนต่อได้รู้จักกับเพื่อนที่ทำงานด้านไฟฟ้า ทำให้การเขียนแบบ และการตรวจระบบฟ้าของบ้านที่เป็นหอพักนักศึกษาของครอบครัว ทำแบบวันเดียวเสร็จก็เกิดขึ้นในสังคมอุปถัมที่เราๆอยู่กันนี่แหล่
กลับเข้าเรื่อง  การอยู่ร่วมกันในสังคมโดยเฉพาะสังคมคนใต้ (ที่เขียนว่าสังคมคนใต้ได้เพราะไปอยู่สังคมอื่นๆมามากแล้ว แต่สังคมคนใต้มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ สัญลักษ์ รักษ์ และ รัก เป็นจุดเด่นของตัวตน) ถามว่าตัวตนคนใต้คืออะไร เสียงดัง ฟังชัด หรือ ? รักพวกรักพองหรือ? ตอบไม่จริง มันไม่ใช่ บ่แม้น ขี้จุ๊แบแบ๊ ตอบให้ก็ได้ว่า คนใต้รักความยุติธรรม รักใครรักจริง นี่คือคนใต้ที่ได้พบมาทั้งทั้งชีวิต ทุกจังหวัดที่ได้ไปมา สำเหนียงคนใต้แม้นเจอะที่เชียงใหม่ ยังถามว่า คนสุราดฉ่ายไหม๊ (อันนี้เอาพออ่านเข้าใจ แต่ถ้าเจอะจังหวัดผม คนที่สะกอมตอบ ลองอ่านดู อ๊าดโต้ย มากันแต่ไหน๊ล๊าหื้อ) ว่าแล้วเพื่อนข้างๆโต๊ะก็จะเริ่ม ออกไปห่างๆไป
ขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ผมได้เห็นมาและเก็บข้อมูลเอาไว้ ทำให้เอาเรื่องราวต่างๆ มาแสดงต่อชุมชนให้เกิดมุมมองต่างๆได้ วันนี้เอารูปกิจกรรมมากฝากกันครับ













วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เบญจภาคี จากมุมผู้ปฏิบัติในภาคสนาม

เบญจภาคี จากมุมผู้ปฏิบัติในภาคสนาม
การก้าวเดินทีละก้าว ช้าๆแต่มั่นคง เดือนนี้มีภาคีเข้าร่วมเยอะดีทั้งประชาชนทั่วไป เทศบาลนครหาดใหญ่  โรงเรียนถึงมหาวิทยาลัย บริษัทเอกชน(กำลังรอผลการปรับปรุงดินโดยชีวะภาพและจะสรุปเป็นเอกสารเพื่อแจกจ่ายแก่ชาวสวนยางพาราต่อไป)ติดตามได้ที่ http://soundpayang.blogspot.com/มูลนิธิโรงเจเต๋าบ้อเก็ง หาดใหญ่ และสื่อต่างๆ  หลายท่านที่เข้าใจยุทธศาสตร์ของเบญจภาคีแล้วก็อ่านข้ามไปได้ครับ แต่คนที่สงสัยว่าเบญจภาคีคืออะไร อธิบายง่ายๆว่า การร่วมมือของภาคต่างๆที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำให้วัตถุประสงค์ที่วางไว้สำเร็จโดยบริบูรณ์ สังคมที่อยู่ในปัจจุบันได้แบ่งส่วนใหญ่ๆเหล่านั้นเป็นห้าฝ่ายตามข้อความข้างต้น แต่ถ้าให้เห็นภาพชัดเจนก็นิ้วมือเรานั้นล่ะครับ ในแต่ละนิ้วมีคุณค่าที่ต่างกัน แต่ถ้ารวมห้านิ้วไว้กันคือเป็นฝ่ามือที่มีพลังโดยเฉพาะการใช้เพื่อพลักดัน แล้วยิ่งใช้แขนยกฝ่ามือขึ้นเหนือหัวเท่ากับหนึ่งคะแนนเสียงครับ (มันจะอธิบายให้เข้าใจหรืองงไปกันแน่เนี้ย) เอาเป็นเรื่องๆดีกว่าเบญจภาคี ภาคสนามประกอบด้วย
๑.นิ้วโป่ง ประชาชนหรือชุมชน ในที่นี้หมายถึงกลุ่มคนในชุมชนในหมู่บ้านที่มีแนวคิดในทางก้าวหน้ามีความรู้ที่เหมือนหรือแตกต่างก็ไม่ว่า ที่สำคัญคือมีหัวจิตหัวใจที่พร้อมจะทำงานเพื่อส่วนรวมโดยอาศัยความรู้ความสามารถที่มีในแต่ละคนมาทำงานร่วมกัน
๒.นิ้วชี้ นิ้วที่มักใช้ในการสั้งการ โดยมีภาครัฐ หน่วยงานราชการต่างๆรวมถึงองค์กรส่วนท้องถิ่น ที่จะต้องคอยดูแลกำกับให้ชุมชนนั้นๆได้รับสิทธิด้านอุปโภค สาธาณูประโภค สนับสนุนเครื่องไม้เครื่องมือตลอดจนจัดสรรค์งบประมาณ เพื่อให้งานของชุมชนดำเนินไปได้
๓.นิ้วกลาง โรงเรียน วัด สถาบันการศึกษา จนถึงมหาลัย เพราะต้องอาศัยนิ้วแห่งความเป็นกลางในการเผยแพร่ทั้งองค์ความรู้และคุณธรรมจริยะธรรมขนบทำเนียบประเพณีกิจกรรมเหล่านี้ได้จัดอยู่ในกลุ่มนี้มากที่สุดจึงต้องอาศัยลักษณะที่เป็นกลางค่อนข้างสูงทีเดียว
๔.นิ้วนางเอกชน เพราะนิ้วนี้เป็นนิ้วที่มีทุนอยู่ในตัว(เหมื่อนมีแหวนอยู่ในนิ้ว) การจะตัดสินใจหรือการสนับสนุนใดๆก็ตามจะมีความคล่องตัวสูง ตลอดจนการพึ่งพากันในระบบธุรกิจก็ดีเพราะมีทั้งการชื้อสินค้าหรือทรัพยากรในท้องถิ่นนั้นๆรวมไปถึงการจ้างแรงงาน
๕.นิ้วก้อย มูลนิธิ องค์กรอิสระรวมถึงสื่อต่างๆ  ภาคส่วนนี้จะมีการเข้าถึงชุมชนเป็นหลัก ไม่ว่าชุมชนเมือง หรือชุมชนชนบท เป็นผู้ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือได้ด้านต่างๆ ทั้งการศึกษาการบริจาคทุนการศึกษา เผยแพร่ความจริงต่อสังคมทำให้ผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ ส่วนนี้จะเข้าให้การช่วยเหลือได้มากทีเดียว
                ครับที่กล่าวมาข้างต้นในเดือนนี้มันครบองค์ประกอบ แต่ต้องอย่าลืมเงื่อนไขของแต่และองค์กร มันจะเกิดขึ้นไม่ได้หากว่ามองมุมไม่เหมือนกัน มุมที่เรียกว่าทำไปแล้วจะได้อะไร คำว่า ประโยชน์ส่วนรวม เบญจภาคีที่มาทำมา อ่านออกแต่เขียนลงผืนแผ่นดินนี้ไม่ได้ ตอบว่า เปล่าประโยชน์  จะดีกว่า  รูปลักษณ์ที่เกิดขึ้นอะไรคือความเป็นจริง อะไรคือคำว่ายั่งยืน การเรียนรู้เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพผลประโยชน์ตกไปอยู่ที่ใคร การเรียนรู้โดยขาดจิตสำนึกต่อพื้นที่ต่อดินฟ้าอากาศ ต่อวิถีตนเองในภูมิประเทศของโลกใบนี้ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด กับ ความรู้แค่หางอึ่ง มุมมองสองมุมที่มาบรรจบกัน  ในเดือนนี้มีทุกส่วนของภาคีทั้งห้ามาร่วมขับเคลื่อนในชุมชนทั้งนั้น ส่วนจะได้เรื่องอย่างไรในแต่ละภาคีก็จะนำมาเสนอในเดือนต่อไปครับ
                กระผมเองเดือนนี้ได้เข้าร่วมในสภาองค์กรชุมชน ตลอดจนไปเป็นวิทยากรจึงทำให้เดือนนี้มีเวลาน้อยในการเก็บข้อมูลไว้เดือนหน้าคงจะมีความคืบหน้ามากกว่านี้ครับ

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"บวร"กลับสู่ชุมชนที่นาหม่อม ตอนที่ ๔ โรงเรียน

บ้านหลังที่ ๒ ที่ใครๆก็เรียกกัน ทุกวันนี้ย้อนหลังไปสัก ๕๐ ปี การส่งลูกส่งหลานเข้าเรียนสูงๆ เพื่อจบไปเป็นเจ้าคนนายคนได้ปลูกฝังกันมายาวนาน ดูจากรุ่นพ่อมันก็ใช่(พ่อผมจบธรรมศาสตร์ ๒๕๐๗ มีรูปในหลวงและพระราชินิพระราชทานปริญญาบัตรให้)และท่านก็รับราชการตลอดมา ครั้งหนึ่งตอนคุณพ่ออายุประมาณ ๖๐ กว่าๆ ผมเองตอนนั้นก็ ๒๖ ๒๗ เห็นจะได้ เป็นผู้จัดการบริษัทฯ เลยมีหน้าที่พาท่านและเพื่อนๆไปทานอาหาร ข้อความโดยสรุปทุกท่านไม่ได้คุยเรื่องยศฐาบรรดาศักดิ์แต่อย่างไร คุยกันเรื่องเก่าๆในอดีตที่เรียนในฐานะเป็นเด็กวัดด้วยกัน และสิ่งที่สำเร็จของชีวิตพวกท่านก็คือ ความสุขที่นำพาครอบครัวได้มีบ้าน มีที่ดิน มีการศึกษาให้ลูกๆทุกคน ไอ้เอกมันชอบทำงานไม่ชอบเรียน มันเก่งทุกเรื่องยกเว้นเรื่องเรียน มันเอาตัวรอดได้ ประโยคที่คุณพ่อยกยอผม (หรือป่าว) ซึ่งเห็นได้ว่าเกิดจากความยากลำบากทั้งนั้น แม้อยู่ในฐานะราชการ แต่สุดท้ายก็ได้เหลือที่อยู่ที่ทำกินให้แก่ลูกๆทุกคนได้

กลับสู่อดีตที่ใกล้เข้ามาอีกนิด ประมาณปี ๒๕๒๑ สามสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปี ๒๕๓๗ ราคาผลผลิตทางการเกษตรก็ยังตกต่ำ ทำให้เกษตกรจำเป็นที่ต้องส่งลูกเข้าเรียนเพื่อการอยู่รอดในอนาคต การอยู่รอดโดยส่งลูกไปเรียนเพื่อออกมาเป็นลูกจ้างแรงงาน ไม่ปฏิเสธหรอกครับว่าบ้างคนสำเร็จในด้านการเรียนและการทำงาน ได้เป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน มหาชน จนสุดท้าย ลูกจ้างแรงงาน ล้วนแล้วต้องทำมาหากินทั้งนั้น เป็นปีที่ประเทศนำคำว่าอุตสาหกรรมใหม่ มากรอกหูชาวบ้านชาวเมือง เราเป็นนิกส์

ขยับเวลามาอีกนิดครับ เมื่อปี ๒๕๔๕  เก้าปีย้อนหลัง ที่ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำมาโดยตลอด ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังอยู่ที่ ลิตรละไม่ถึง ๒๐ บาททุกประเภท ราคา หมู เห็ด เป็ดไก่ ไม่ถึงร้อยบาท ก็ยังพอทำมาหากินได้ กับข้าวกับปลายังไม่แพง จานละ ๑๕ ถึง ๒๕ บาท แต่หลังจากนั้นทุกอย่างก็ยกเพดานขึ้นสูงริบริ่ว  ผลพ่วงมาจากการขยายกิจการเข้ามาในประเทศก่อให้เกิดธุรกรรมทุกรูปแบบ ทั้งอุตสหกรรม และเกษตรกรรม การทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าว ยึด รุกล้ำ พื้นที่ทำการเกษตรทุกรูปแบบ ไม่ว่าการเลี้ยงกุ้งแทนนาข้าว การรุกป่าสร้างโรงงาน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย  ฯลฯ ที่กระทำบนผืนดินที่เรียกว่าอู่ข้าวอู่น้ำ แผ่นดินที่มีศักยภาพด้านการเกษตรของโลกใบนี้

การศึกษาที่มุ่งเน้นผลิตบุลลากรเพื่อประกอบอาชีพการใช้แรงความคิด แรงสมอง แรงมือ แรงงาน โดยหันหลังให้ภาคเกษตรนับทศวรรษส่งผลให้ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาสูงแบบก้าวกระโดดเหมือนในปัจจุบัน แม้ตอนนี้หลายคนกำลังวิ่งเข้าหาภาคเกษตรแต่สายไปแล้วครับสำหรับการเติบโตบนถนนเส้นธุรกิจการเกษตร เพราะปัจจัยการผลิตตกไปอยู่ในมือผู้คิดวางแผนประเทศนี้ก่อนนิกส์จะเข้ามาเสียอีก หมากกระดานนี้แม้ขงเบ้งจะมาช่วยก็ไม่ทัน ปี ๒๕๕๘ ประชาคมอาเซียน เปิดประตูประเทศจะเป็นอย่างไร ในขณะทีผ่านมาประเทศนี้ก็มิได้ให้ความเสรีเหนือแผ่นดินไทยแก่ใครเหมือนกัน แต่การหลุดรอดเข้ามาได้ใครเป็นผู้กระทำ และกระทำลงไปเพื่ออะไร

อุบาล โรงเรียน ถึง มหาวิทยาลัย จะปรับตัวอย่างไร ? อันนี้ก็ขอฝากไว้สำหรับผู้มีหน้าที่โดยตรงแล้วกัน ผมเองในหน้าที่วิทยากรการเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้เดินตามรอย ผู้ที่เดินตามรอยเท้าพ่อ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ได้ทุกกิจกรรม ธุรกรรม พฤติกรรม จำแนกตามผู้ที่มีหน้าที่ในกรรมนั้นๆ วันนี้ก็รับกรรมในฐานะผู้เป็นพ่อคนหนึ่งที่ต้องส่งลูกเข้าโรงเรียน แม้อนุบาล คำพูดบ้างคำที่ครอบครัวเราไม่เคยพูดก็ได้ยินจากปากของลูก โรงเรียนสอนมาหรือไม่? ผมว่าไม่ใช่ ที่บ้านเคยพูดหรือไม่ก็ไม่ สภาพแวดล้อมที่บ้านพูดหรือไม่ ก็ไม่มี แล้วจะโทษใคร? คือคำถาม  แต่ผมตอบและบอกลูกไปว่า คำนี้พูดไม่ได้ไม่ดีจำเอาไว้ ทำไมต้องโยนภาระไปให้คนอื่นๆรับผิดชอบ กฎกติกามันมี กฎที่ว่าลูกต้องไปเรียน แล้วกฎไหนทีจะรับประกันว่าลูกเราจะได้รับในสิ่งที่เราตั้งใจให้เรียนมามิใช่ให้เลียนมา พ่อแม่ผู้ปกครองครับตลอดระยะเวลาการศึกษาของลูก ๑๕ ปี ได้ ม.๖ ต่อ ๔ ปี ได้ปริญญาตรี รวม ๑๙ ปีในหนึ่งอายุไข ๑ ในสามของอายุ ถ้านับ ๖๐ ปี  ๑๙ ปี ที่ต้องศึกษาว่า ชีวิตอีก ๔๐ ปี จะทำอย่างไร (ไม่รวมเตรียมอนุบาลอีก ๒ปีน่ะ สำหรับบางครอบครัว) การเรียนรู้เพื่อมีวิชาไปประกอบอาชีพเป็นอย่างนั้นหรือ ในระหว่างทางเด็กถึงวัยรุ่นสู่ผู้ใหญ่ในวัย ๑๘ ปี รากฝอยสู่รากแก้ว มันคืออะไร ฝากใว้ให้คิด

การเรียนที่มุ่งสู่ความสำเร็จไปทางไหน ทางประกอบอาชีพ หรือ การร่ำรวย หรื่อ มีอยู่มีกิน ไปดูสถิติในปัจจุบันว่าเกิดอะไรขึ้น ป้ายรับคนงาน ม.๓ ม.๖ เต็มบ้านเต็มเมือง แต่คนที่ไปทำ ลองดูเถิดครับว่า ใช้วุฒิใดไปสมัคร และยอมรับอัตราค่าจ้างตามวุฒินั้นเพื่อได้งานทำ ตะไคร้ ร้อยละ ๖๐ บาทในปัจจุบันไม่มีใครคิดถึง สิ่งที่ปลูกโดยไม่ต้องดูแลมีมากที่มีมูลค่า ไม่มีใครคำนึงถึง วิถีการพออยู่พอกิน ไม่มีใครคิดถึง แต่พอของแพงก็ด่ากัน กล่าวโทษกัน นั้นหรือคนที่มีการศึกษาทำกัน  

วันนี้มีนิมิตหมายที่ดีแสงสว่างแห่งการศึกษาเมื่อ โรงเรียนบ้านนาทองสุก หมู่๔ ต.ทุ่งขมิ้น อ.นาหม่อม จ.สงขลา สอนให้เด็กรู้จักพึ่งพาตนเองบ้าง โดยโรงเรียนเป็นพี่เลี้ยง มาเรียนมีผักมีปลากลับไป มีไข่กิน ครูสอน เด็กทำนั้นคือวิถีแห่งนี้ วิถีบ้านวิถีชุมชน ที่สัมผัสจับต้องได้ วิถีที่สอนให้รู้จักทำอยู่ทำกิน (เหนือกฎกติกาที่วางไว้) มิใช่ ทำมาหากิน (เป็นกฎที่บังคับใช้ในปัจจุบัน) ปฐมบท ที่ต้องเรียนรู้ ศึกษากันต่อไป



 

ก่อนจะปัจฉิมบท ก็ยังมี คนของของพระราชา หรือ คนที่พระราชาชุบเลี้ยง ตามที่มีคนแปลกันมาว่า ราชภัฏ วันนี้ที่ ราชภัฏสงขลา น้อมนำหน้าที่ คนของพระราชา มาปฏิบัติบูชาให้สมกับชื่อแห่งตน กรรมการผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ริเริ่มก็ควรทำให้สมภาคภูมิของคำที่ได้รับคำจำกัดความนั่นมา  บวร คงจะเป็นรูปธรรมสัมผัสจับต้องได้อย่างเต็มตา 


 ในนามของชุมชนเล็กๆ ขอฝากความหวังใว้ ณ ตรงนี้


วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"บวร"กลับสู่ชุมชนที่นาหม่อม ตอน ๓ เมื่อวัดพร้อม

ได้เข้าวัดมากขึ้นอีกครั้ง แต่เข้ามาครั้งนี้คือมาทำหน้าที่ หน้าที่คนๆหนึ่งในชุมชน อันพึ่งกระทำได้ เพราะมาทำหน้าที่ประสานงานให้กับชุมชนรู้จักและพูดคุยกับวัดและรู้จักวัดใน มุมมองใหม่ๆบ้าง  นอกจากกิจกรรมด้านศาสนพิธีแล้ว ยังมีห้องสมุดชุมชน มีมุมไอที มีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้บริการพร้อม อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (แต่ไม่มีเกมส์ให้เล่น) นับว่าค่อนข้างสมบูรณ์เลยที่เดียว ท่านมหาวิชิตกล่าวให้ฟังว่า "วันนี้ถ้าเราให้ผู้นำชุมชนมาเรียนรู้ในเรื่องไอทีบ้างก็น่าจะดี เพราะอนาคตข้างหน้าปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสังคมออนไลน์ หรือโซเซียนเน็ตเวิร์คจะมีบทบาทในสังคมชุมชนมากขึ้น แม้ปัจจุบันการส่งรายงานส่งหนังสือ หรือ ทำเอกสารใดๆก็ใช้ระบบเน็ตเวิร์คทั้งนั้น ตลอดจนเด็กๆ นักเรียน นักศึกษา บ้างคนที่ไม่มีความสามารถในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และใช้งานอินเตอร์เน็ตที่บ้าน ก็สามารถมาใช้ที่วัดได้(ห้องสมุดชุมชนตั้งอยู่ในวัด)"
ครับ จะเห็นได้ว่าวัดนอกจากกิจกรรมด้านศาสนพิธีแล้ว วัดก็มีความพร้อมอีกหลายๆโอกาสด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการจัดประชุมสัมนา การจัดอบรม ตลอดจนการให้บริการด้านไอทีในระดับชุมชน อีกหนึ่งป้อมปราการที่จะคุ้มกันให้เยาวชนในชุมชนไม่ต้องเสี่ยงกับร้าน อินเตอร์เน็ตทั่วๆไปที่หน้าจอเต็มไปด้วยเกมส์ออนไลน์ทั้งสิ้น













 ขณะนี้ทางวัดและผู้ที่เกี่ยวข้องกำลังปรึกษาหารือในเรื่องการจัดเวลาและบุคคลากร ตลอดจนผู้มีจิตอาสาได้เข้ามาวางกรอบการจัดการในเรื่องรายวิชาต่างๆ ให้เหมาะสมแก่ผู้ใช้บริการต่อไป

ปล.แถมท้ายนิดหนึ่งครับเรื่องประสาทเขาพระวิหาร ทางขึ้นต้องผ่านด่านเมืองศรีสะเกษ ศรีษะฝรั่งเรียกว่าเฮดศรีสะเกษติดกับเขมร กำพูชา กำพูชา กำพูชา มรดกโลก มรดกโลก มรดกโลก สืบนาคะเสถียร สืบนาคะเสถียร สืบนาคะเสถียร เรฟูจี เรฟูจี เรฟูจี มงกุฎดอกส้มถึงดอกส้มสีทอง  ประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ การเมืองการปกครอง สู่การนำเสนอในบทเพลงหนังและละคร เต้นกินรำกินกลายเป็นศิลปินในปัจจุบัน  ภูมิปัญญากลายเป็นสิ่งล้าสมัยแม้พวกมึงได้ดื่มกินทุกวันนี้ โลกาภิวัตน์ กลายเป็น โซเชี่ยนเน็ตเวิร์ค ยอมรับในการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อเพราะเราคือประชาธิปไตย วิถีแห่งพ่อขุนศรีอินทรทิตย์  แม่กูชื่อนางเสือง หายไป หายไปกับปี๒๔๗๕ ผมไม่ก้าวล่วงถึงสถาบันตามเจตจำนงค์ที่เคยก้าวมา  ชาติ ศาสนา พระมหากษัติย์ คนไทยรู้ทุกคนว่าคือสถาบัน อย่างเช่น สถาบันการเมือง ไม่ใช่พ่อใช่แม่ ใช่พี่ใช่น้อง ใช่ญาติกู มึงอย่าเข้ามา นี่หรือคือการปรองดอง การปรองดองในระบอบประชาธิปไตย  การยึดครองอำนาจในภาครัฐโดยระบอบครอบครัว สู่สังคมอธิปไตย จะตีฆ้องร้องป่าวกันได้อีกหรือท่านพ่อขุนราม การไม่รู้จริงถึงที่มาแห่งสยามประเทศสู่ความเป็นไทย ไม่ได้ว่ากัน แต่บัตรประชาชนถึงสมาร์การ์ด มันบอกว่า มึงคือ คนไทย สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย  ไม่ได้ปลุกกระแสความรักชาติ แต่ความรักชาติต้องมีโดยสัญดานทุกคน (ใครคิดไม่ออกก็ร้องเพลงชาติไทยในใจดู) ผมไม่เชื่อผู้นำคนใด นอกจากผู้นำในจิตใจว่าเกิดมาเป็นคนไทย ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่ได้มีความหมายเหนือคุณุประการที่ได้ทำต่อแผ่นดินเกิด แผ่นดินที่ซุกหัวนอน  วันก่อนไปเฟสบุ๊กครั้งหนึ่งแล้วแต่ก็มีเพื่อนน้อย วันนี้เอามาฝากใว้เวทีเล็กๆตรงนี้ เวทีที่ เดินที่ละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง