ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทำหน้าที่แม่และลูกได้ถ้าพอเพียง

วันนี้บอกได้เลยค่ะว่าได้อยู่ดูแลพ่อแม่ และลูกของตนเองได้
เรียนจบตอนนั้นก็มีงานทำเลย เลือกได้ว่าจะไปทีไหนทีแรกคิดว่าชีวิตรับราชการคงจะดีที่สุดให้ตอนนั้น แต่ก็เหมือนกับหลายๆคนที่เจอะปัญหาเดียวกันคือเรื่องเส้นสาย มันก็จริงในสังคมไทยที่นับว่าดีบางไม่ดีบางเพราะเป็นแบบสังคมอุปถัมถ์ ช่วยเหลือเกื้อกุลกัน เป็นญาติก็ต้องช่วยใว้ก่อนเอาหล่ะผ่านแล้วก็ผ่านไป จึงเปลี่ยนความคิดเป็นพนักงานบริษัทฯดีกว่าได้เงินเยอะดี ก็ทำไปทำไป ดีที่รู้จักเก็บเงินเป็นก็ไม่ลำบาก แต่งงานเลยลาออกไปช่วยแฟนที่บริษัทฯซึ่งเป็นของตนเอง ก็สบายดีดูโน่นดูนี่ไปเรื่อยๆ แต่พอแฟนเลิกกิจการแล้วบอกว่าจะกลับบ้านทำสวนทำไร่ดีกว่า (แฟนก็คือพี่เอก วิทยากรนั้นล่ะค่ะ)งงๆ กับแกเหมือนกันเพราะรู้จักกันมาแกก็เป็นผู้จัดการบริษัทฯมาตลอด บางบริษัทได้รับตำแหน่งถึงผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด จบไฟฟ้า เก่งคอมฯ ซ่อมรถเป็น ประปาแตกซ่อมได้ ก็โอเคดี แต่จะกลับบ้านไปทำสวนคิดไม่ออกในตอนนั้น
ตอนกลับมาใหม่ ๆ แฟนก็มาปรับสภาพดินบาง เผาถ่าน เอาน้ำส้มควันไม้บาง ทำปุ๋ยบาง ก็ดูๆ คิดๆ เหมือนกันว่าจะไหวหรือป่าว แต่อัศจรรย์ก็มีจริงสวนยางข้างบ้าน ที่เปอร์เซ็นต์น้ำยางอยู่ที่ไม่ถึง ๓๐ เปอร์เซ็นต์ กว่า ๑๐ ปี พี่แกปรับขึ้นมา ๔๐ เปอร์เซ็นต์ได้ จากคนที่ไม่เคยเรียนเกษตรมาก่อน คำพูดแรกๆ ที่แกพูดบ่อยคือ “ถ้าทำให้ดินดีแล้วปลูกอะไรก็ดีไปหมด” ต่อมา ต้นมะนาวที่ไม่เคยมีลูก ก็ออกดอกออกผลมาให้ได้กินจนเหลือขายแล้วในวันนี้ ยังไม่ร่วมถึง ต้นฝรั่ง ต้นพริก ต้นกล้วย ฯลฯ ที่ตาม ๆ กันมา จนวันหนึ่งแกก็ชวนให้ไปดูงานที่แกทำที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลสองสลึง อ.แกลง จ.ระยอง
ไปกันวันแรกแกก็จะกางเต้นท์นอนที่ห้องประชุม แต่ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ห้ามไว้และบอกอย่างดุๆ ว่า พาลูกมาเมียมาลำบาก แล้วยังให้นอนลำบากอีก ท่านผู้ใหญ่สมศักดิ์ เลยให้ไปนอนที่เรือนพักแทน ในการอบรมมีกระบวนการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่เกือบหมด ฟังแรกๆก็เหมือนเรื่องเก่าๆที่ได้ยินกันบ่อยๆ รู้แล้วรู้อีกอะไรอย่างนั้น บางวิชาก็น่าสนใจเพราะวัสดุเรามีในบ้านเช่น มะพร้าว ซึ่งก็มีประมาณ ๒๐ ต้น ก็เลยสนใจจะทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นไว้ขาย แต่แฟนก็เบรกอีกบอกให้ทำใช้เองก่อน ถ้าทำดีจริงชำนาญจริงก็ลองแจกคนอื่นๆ หากคนอื่นบอกว่าดีก่อนแล้วถึงคอยคิดขายอีกทีหนึ่ง ต่อมาแฟนก็ให้ไปอบรมต้นกล้าอาชีพที่วัดป่ายาง ของหลวง พ่อสุวรรณ เวสโก คราวนี้เห็นธรรมจริงๆ เรียกว่าเจอะธรรมะเข้าให้แล้ว วันไปอบรมพาลูกไปด้วยให้แม่ไปเป็นพี่เลี้ยง แล้วมีคนในชุมชนไปด้วยสิบกว่าคนเลยต้องเป็นหัวหน้าทีม หลวงพ่อทั้งสอนทั้งพาไปดูงานที่ต่างๆ ตาก็สว่างขึ้นเพราะจริงๆ ทุกวันนี้ของที่อยู่ในบ้านหรือบริเวณบ้านก็ทำเงินได้แล้ว จากชีวิตที่ต้องตื่นเช้ากลับเย็น แลกค่าแรงวันละ แปดร้อยกว่า ๆ เป็นเรื่องที่เสียเวลาจริงๆ เงินแปดร้อยกับต้องจ่ายกว่าวันละ สามร้อยกว่า ๆ เพื่อไปทำงานในเวลา แปดชั่วโมง ไม่รวมการเดินทาง มีเงินเหลือเก็บอย่างเก่งก็วันละ ห้าร้อยบาท

ตอนนี้อยู่กับบ้านเลี้ยงลูกทำกับข้าวซักผ้าให้พ่อให้แม่  เก็บผัก ขูดมะพร้าวขาย ก็พอแล้ว ไม่รวมน้ำยางที่กรีดได้ในแต่ละวัน  ยอดหัวครก(ยอดใบมะม่วงหิมมะพาน) ๑๐ ยอด ห้าบาทลูกหัวครก ๘ ลูก ห้าบาท ตะไคร้ ๔ ต้น ห้าบาท ยอดตำลึง ๑๕ ยอด ๑๐บาท ใบพูล สี่แพร(เก้าสิบสองใบ) ๓๐ บาท มะพร้าวขูด กิโลละ ๓๐ บาท (ลูกครึ่ง) มะนาว ๓ ลูกห้าบาท กล้วยหวีละ ๒๐ บาท กะท้อน กิโละ ๑๐ บาท ขนุนอ่อน ถุงละ ๑๐ บาท ...พอแล้วเดี๋ยวสัมพากรมา ลองดูของที่มีในบ้านซิค่ะขายวันๆ ซัก ๕๐๐ บาทน่าจะได้ ตอนนี้ลงเป็ดไข่อีก ๕๐ ตัว ไก่บ้าน ๒๐ ตัว ไก่เบตง ๑๐ ตัว  ปลาดุก ๕๐๐ ตัว หมูหลุม ๔ ตัว (แฟนบอกเลี้ยงไว้ทำปุ๋ยอย่างเดียว) แค่อยู่กับบ้านก็น่าจะเพียงพอ หรือกว่าเกินพอ ก็พิจารณาดูเอาเถิดค่ะ ที่สำคัญอีกประการคือ อาหารเป็ด อาหารไก่อาหารปลาดุ อาหารหมู ทำเองเป็นส่วนใหญ่ค่ะ เวลาไปขายของที่หน้าโรงงาน ๔ โมงเย็น ห้าโมงครึ่งกลับบ้านใช้เวลาแค่ ชั่วโมงครึ่งกับการหาเงินห้าร้อยถึงพันบาท  ขอกราบขอบพระคุณที่ทุกท่านได้เปิดตา เปิดใจ เปิดโอกาสที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ









เป็นกำลังใจให้แม่ทุกคนค่ะ
หยิบเครื่องมือเป็นแล้ว


ช่วยขนปูนก็ได้




ไหว้ทวดก็เป็น
 ตรุษจีนยังไหว



บางครั้งก็ต้องคุมงานด้วยตัวเอง 






 
 
 
 
 
ในวันที่ทุกคนยุ่งกับที่ทำงาน ครอบครัวเราสนุกกันดีกว่า
ธรรมชาติที่ชำเย็นไม่เคยเตรียมตัวให้วันหยุดพวกท่านหรอก
ธรรมชาติเป็นไปอย่างนั้นทุกวัน บางที่คนชอบพูดว่า
"เป็นธรรมชาติ"
การอยากได้อยากมี 
"เป็นธรรมชาติ"
การสมสู่ของคนและสัตว์
"เป็นธรรมชาติ"
การเอาเปรียบคนอื่น
"เป็นธรรมชาติ"
น้ำจากที่สูงไหลลงที่ต่ำ 
"เป็นธรรมชาติ"
"ไม่มีใครที่จะเอาชนะความเป็นธรรมชาติได้"
นอกจากธรรมะ
 เพราะถ้ามนุษย์มีธรรมะแล้ว
การไม่ได้อยากได้อยากมี การปล่อยวาง
"เป็นธรรมะ"
การไม่ประพฤติผิดในกาม
"เป็นธรรมะ"
การไม่เอาเปรียบเบียดเบียน
"เป็นธรรมะ"
การรู้ดีรู้ชั่ว
"เป็นธรรมะ"
การทำเศรษฐกิจพอเพียง
"เป็นธรรมะ"
                                                    กล่าวโดยพระชาติสิริ



 สาธุ.......