ผมรักในหลวงที่สุดในโลก

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง

ลานบุญคุณธรรมนำชุมชนสู่ความเข้มแข็ง แปลตามประสาบ้านๆ ควนๆ คือ ที่ว่างๆ สะดวกๆ สามารถทำกิจกรรมเรื่องบุญกุศล เพื่อนำพาให้ชุมชนเข้มแข็ง และสามารถจัดการชุมชนให้บูรณาการอย่างยั่งยืนได้ วันนี้ก็เป็นอีกวันที่กิจกรรมการขับเคลื่อนชุมชน โดยสภาองค์กรชุมชน ตำบลทุ่งขมิ้นได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สามแล้ว จากสองครั้งที่ผ่านมาสามารถทำให้คนในชุมชนรู้จักบทบาทของสภาองค์กรชุมชนมาก ขึ้น
การทำงานในภาคประชาชนเพื่อประชาชนนั้น เวทีนี้ซิครับที่จะพูดได้ว่า "คุณเกิดมาเพื่อเจอะสิ่งนี้ ซาล่า"(แซวโฆษณาขายของทางทีวีนิดนึ่ง) เวทีที่เป็นสื่อกลางของทุกสิ่งอย่างจากใจของคนที่รวมเป็นสังคมเรียกว่าชุมชน ที่อยู่อาศัย ได้เอาเรื่องความเป็นอยู่ในทุกด้านมาพูดคุยกัน ข้อดีคือ ได้ศีลข้อสอง อทินณาทานา เพราะเวลาเกิดเรื่องอะไรเกิดเช่น น้ำไม่ไหล ไฟดับ ถนนพัง ลูกเข้าเรียนไม่ได้ คนตายไม่มีค่าฌาปนกิจ ก็ว่ากัน ว่าคนโน่นที หน่วยงานนี้ที ปัญหาเหล่าจะทุเลาเบาบางลงได้หากเรื่องมาถึงสภาองค์กรชุมชน ถามต่อว่าสภาองค์กรชุมชนเป็นเทวดามาจากไหนจึงทำได้? ตอบว่า ไม่ใช่เทวดา แต่เป็นคน เป็นชาวบ้านธรรมดา ที่เข้าใจและรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร และน่าจะนำเรื่องนี้ไปบอกแก่ใคร ให้ช่วยบรรเทาลงได้ กรณีจากอดีตของนายชูเกียรติ (ขอสงวนนามสกุล) ได้ไปสร้างบ้าน สร้างรกรากใหม่ที่หน้าวิทยาลัยครูสงขลา เมื่อปี ๒๕๒๒ บ้านไม่มีเสาไฟฟ้าเนื่องจากไกลจากถนน ก็ได้ต่อพวงจากเพื่อนบ้าน แต่พออยู่มา ก็มีคนเห็นว่าทำเลดี ก็มาสร้างบ้านเยอะขึ้น และก็ต่อพวงไฟฟ้าต่อๆ กันมา จนวันหนึ่ง ไฟฟ้าที่ต่อพวงก็ไม่สามารถรับได้แล้ว ภรรยาของนายชูเกียรติก็ได้ออกความคิดเห็นว่าควรจะติดตั้งเสาไฟฟ้า กว่า ๕ ต้น เพื่อได้มีไฟฟ้าใช้ คำตอบคือ ไม่มีใครเห็นด้วย เพราะต้องจ่ายเงินค่าเสาไฟฟ้ากันเอง สรุปคือ นายชูเกียรติต้องรับภาระในค่าเสาไฟฟ้าเพียงคนเดียว เพื่อบ้านตนได้มีใช้ และคนอื่นๆได้รับประโยชน์ไปด้วยจนถึงปัจจุบัน และนี้อาจจะเป็นสาเหตุที่นายชูเกียรติได้ส่งลูกชายเข้าเรียนในสาขาไฟฟ้า ทั้งๆที่ลูกชายบอกว่าชอบช่างยนต์ และทุกวันนี้ลูกชายของนายชูเกียรติ ก็ได้นำวิชามาเพื่อรับใช้สังคมต่อไป ขออนิสงฆ์ส่วนหนึ่งส่วนใดที่ลูกชายได้ทำในส่วนดี ส่งผลบุญไปให้นายชูเกียรติผู้ล่วงรับไปแล้วด้วยเทอญ ...
ก่อนกลับเข้าเรื่อง เหตุการณ์อย่างนี้ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อลูกชายจบการศึกษาชั้น ปวช.ต่อ ปวส. ได้ทำงานได้ฝึกงานและเรียนต่อได้รู้จักกับเพื่อนที่ทำงานด้านไฟฟ้า ทำให้การเขียนแบบ และการตรวจระบบฟ้าของบ้านที่เป็นหอพักนักศึกษาของครอบครัว ทำแบบวันเดียวเสร็จก็เกิดขึ้นในสังคมอุปถัมที่เราๆอยู่กันนี่แหล่
กลับเข้าเรื่อง  การอยู่ร่วมกันในสังคมโดยเฉพาะสังคมคนใต้ (ที่เขียนว่าสังคมคนใต้ได้เพราะไปอยู่สังคมอื่นๆมามากแล้ว แต่สังคมคนใต้มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ สัญลักษ์ รักษ์ และ รัก เป็นจุดเด่นของตัวตน) ถามว่าตัวตนคนใต้คืออะไร เสียงดัง ฟังชัด หรือ ? รักพวกรักพองหรือ? ตอบไม่จริง มันไม่ใช่ บ่แม้น ขี้จุ๊แบแบ๊ ตอบให้ก็ได้ว่า คนใต้รักความยุติธรรม รักใครรักจริง นี่คือคนใต้ที่ได้พบมาทั้งทั้งชีวิต ทุกจังหวัดที่ได้ไปมา สำเหนียงคนใต้แม้นเจอะที่เชียงใหม่ ยังถามว่า คนสุราดฉ่ายไหม๊ (อันนี้เอาพออ่านเข้าใจ แต่ถ้าเจอะจังหวัดผม คนที่สะกอมตอบ ลองอ่านดู อ๊าดโต้ย มากันแต่ไหน๊ล๊าหื้อ) ว่าแล้วเพื่อนข้างๆโต๊ะก็จะเริ่ม ออกไปห่างๆไป
ขอบคุณสื่อต่างๆ ที่ผมได้เห็นมาและเก็บข้อมูลเอาไว้ ทำให้เอาเรื่องราวต่างๆ มาแสดงต่อชุมชนให้เกิดมุมมองต่างๆได้ วันนี้เอารูปกิจกรรมมากฝากกันครับ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น